การเข้าถึงและการมีส่วนร่วมกับชุมชน
กรณีศึกษา
จุฬาฯ ปลุกท่องเที่ยวน่านโตสมดุลและยั่งยืน ชู “เที่ยวกรีน กินคลีน เสพศิลป์เมืองน่าน”
“น่าน” มีวิสัยทัศน์ประจำจังหวัด คือ “เมืองแห่งความสุข เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ธรรมชาติสมบูรณ์ การเกษตรมั่งคั่ง ชุมชนเข้มแข็ง ท่องเที่ยวยั่งยืน” จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืนเพื่อให้เป็นเมืองที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน
ภารกิจฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม “บ้านก้อแซนด์บ๊อกซ์” เพิ่มประสิทธิภาพ การฟื้นฟูป่าไม้วงศ์ยางในประเทศไทย
การฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมโดยได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) วางเป้าหมายที่จะรักษาผืนป่าของไทยให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
Park @ Siam พื้นที่สีเขียวของจุฬาฯ ใจกลางเมืองเพื่อชุมชน
“Park @ Siam” พื้นที่สีเขียวใจกลางย่านการค้าสยามสแควร์ เป็นสวนสาธารณะแห่งเดียวในย่านการค้าที่มีชื่อเสียง ภายใต้การดูแลและบริหารจัดการโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU)
CU Innovations for Society ภารกิจกู้วิกฤติโควิด-19 เพื่อคนไทย
“นวัตกรรมจุฬาฯ” รับใช้ชาติกู้สถานการณ์โควิด-19 ดูแลคนไทยครบทุกมิติทั้งป้องกัน (Prevent) ปกป้อง (Protect) และรักษา (Cure) ช่วยแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ทั้งยังสามารถต่อยอดขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย
เบื้องหลังภารกิจสู้โควิด19 เพื่อมวลมนุษยชาติ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ (EID)
พัฒนางานเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่เชิงรุกในประเทศไทย
เสวนา SDG 14 Life Below Water
จุฬาฯ จัดการเสวนาในซีรีส์ SDG14 ชีวิตในน้ำ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัยทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าร่วมการเสวนา และมีผู้เข้าร่วมการเสวนาประมาณกว่า 200 คน
นวัตกรรมฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมด้วยราไมคอร์ไรซา พิสูจน์ทราบแล้วจากป่าต้นน้ำน่าน พร้อมส่งผ่านสู่สมรภูมิไฟป่าทั่วโลก โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป้าหมายที่จะรักษาผืนป่าของไทยให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
อนุรักษ์ปลากระเบนเจ้าพระยา อนุรักษ์ลุ่มน้ำแม่กลอง
นักวิชาการต่างยกให้ปลากระเบนเจ้าพระยาเป็นสิ่งมีชีวิตบ่งชี้ความไม่สมดุลของระบบนิเวศน้ำจืดด้วยคุณสมบัติของปลาชนิดนี้ที่มีความไวต่อสารพิษและสภาพการเปลี่ยนแปลงของถิ่นที่อยู่อาศัย
จุฬาฯ ชู “แสมสารโมเดล” แก้ขยะล้นทะเลไทย
จุฬาฯ โดย “ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์” และ“สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ” เผยผลสำเร็จ “แสมสารโมเดล” นำร่องแก้ปัญหาขยะบนบกไหลลงทะเลชลบุรี ด้วยหลัก 3Rs ลดขยะพื้นที่แสมสารได้จริงกว่าร้อยละ 30 พร้อมขยายผลความสำเร็จจากชุมชนสู่ระดับชาติ
Chula Art Town พัฒนาชุมชนใกล้ไกลด้วยศิลปะ
ศิลปินสตรีทอาร์ต นิสิตเก่าจุฬา และนักเรียนรอบรั้วมหาวิทยาลัย ร่วมถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตของชุมชน รังสรรค์งานศิลปะบนกำแพงอาคารสถานที่ นำขยะจากชุมชนมาสร้างงานศิลปะให้กลับกลายเป็นทัศนียภาพใหม่ที่มีเสน่ห์ชวนมอง จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ใจกลางกรุงที่ดึงดูดเหล่าฮิปสเตอร์สายเช็กอินต้องห้ามพลาด
เปิดภารกิจเครือข่ายมหาวิทยาลัยผู้พิทักษ์ผืนป่าชุ่มน้ำลุ่มน้ำโขง
ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสรรพชีวิต ที่เชื่อมโยงกันทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์หลากชนิด และยังมีคุณค่ากับมนุษย์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยพื้นที่ชุ่มน้ำยังจัดเป็นนิเวศบริการ ที่ส่งมอบนานาประโยชน์จากธรรมชาติสู่มนุษย์หลากหลายด้าน
UDDC ฟื้นฟูเมือง เพื่อความยั่งยืนและสุขภาวะของประชาชน
ฟื้นฟูย่านเมืองเก่าสู่กระบวนการพัฒนาแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน สร้างการใช้ประโยชน์พื้นที่เมืองเกิดประโยชน์สูงสุดอย่างมีคุณภาพ