กรณีศึกษา

ธนาคารปูม้า เกาะสีชัง ต้นแบบศูนย์เรียนรู้เพิ่มทางรอดปูม้าไทยคืนสู่ท้องทะเล

ที่มา: Chula Radio Plus
[ https://www.youtube.com/watch?v=lcOF2TtE-5g ]

ลองเดาดูว่า เมื่อมีปูม้าที่มีไข่ติดมา 457 ตัว จะได้ลูกปูม้าจำนวนเท่าไหร่

เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2563 มีชาวประมงที่จับปูม้าที่ท้องนอกกระดองมาให้ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบก อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เป็นจำนวน 457 ตัว เพื่อเพาะเป็นลูกปูม้า ศูนย์สามารถดูแลปูไข่จนลูกปูม้าถึง 565,219,724 ตัว และแม้ลูกปูม้าจะมีเปอร์เซนต์รอดชีวิตที่ 40-60% ศูนย์ก็ยังสามารถเอาลูกปูม้าไปปล่อยในทะเลได้มากเกินกว่า โดยศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบก กำลังทำให้เกิดขึ้นในทะเลไทย และทำให้ความกังวลว่าปูม้าไทยจะสูญพันธ์ ผู้บริโภคไทยจะขาดแคลนปูม้าที่เป็นอาหารทะเลยอดนิยมได้หมดไป

วิธีการเพาะเลี้ยงของธนาคารปูได้เพิ่มอัตราการรอดชีวิตของปูม้าจากปกติ 1% เป็น 40%–60% ซึ่งสิ่งนี้ได้เพิ่มจำนวนปูม้าในท้องทะเล และส่งเสริมการดำรงชีวิตของชาวประมงท้องถิ่น “ปูม้าเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมและมีความต้องการสูง โดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยวเช่นเกาะสีชัง แต่ปูม้ามีราคาแพงมากเนื่องจากปริมาณที่ลดลงในธรรมชาติ” ดร. นิลนาจ ชัยธนวิสุทธิ์ จากสถาบันวิจัยทรัพยากรสัตว์น้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าว

นอกจากเรื่องเพิ่มอัดตราการรอดชีวิตของลูกปูในท้องทะเลแล้วนั้น โครงการนี้ยังช่วยแก้ปัญหา การลดการลักลอบจับปูม้าไข่นอกกระดองไปขายซึ่งผิดกฎหมาย “เพื่อช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ เมื่อชาวประมงที่จับได้ปูม้าที่มีไข่นอกกระดองมา ก็จะเอามาฝากไว้กับโครงการของเรา แล้วเราก็ทำหน้าที่เลี้ยงจนกระทั่งมันฟักตัวออกมา” ดร. นิลนาจ กล่าว แนวคิดเรื่องธนาคารปูนั้นไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนักในช่วงแรก ดร. นิลนาจกล่าว แต่หลังจากผ่านไปสองปี ทุกคนในชุมชนได้ร่วมกัน “ฝาก” ปูม้าเข้าธนาคาร “พวกเขาเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของโครงการนี้ เนื่องจากพวกเขาได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศ” ดร.นิลนาจ เล่าต่อ “พวกเขาแสดงให้เราเห็นปูวัยอ่อนที่ตอนนี้หาได้ง่ายใกล้ชายฝั่ง ก่อนหน้านี้สิ่งเหล่านี้หายากมาก ย้อนกลับไปในสมัยพ่อแม่เค้า”

ปูม้าไม่เพียงแต่เป็นอาหารที่คนไทยชื่นชอบเท่านั้น แต่ยังเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนชายฝั่งทะเลและอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปเพื่อการส่งออก จากการเปิดเผยข้อมูลของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ในปี พ.ศ. 2554 ผลผลิตปูม้าของประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 28,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 3,243 ล้านบาท ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญถึงร้อยละ 20-30 จากปี พ.ศ. 2540 ที่ขณะนั้นประเทศไทยมีผลผลิตปูม้าอยู่ราว 40,000 ตันต่อปี ส่งผลกระทบต่อความต้องการบริโภคของตลาดและอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อส่งออก จึงเป็นที่มาของการพัฒนาวิธีการจับปูม้าและเครื่องมือทำประมงให้มีประสิทธิภาพและมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่ชาวประมงไทยเคยใช้แร้วปูม้าแบบขอบเดียว ต่างหันมาใช้ลอบปูม้าแบบพับได้และอวนลอยปูม้า อีกทั้งยังได้พัฒนาอวนลอยปูม้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นอวนแบบจมซึ่งสามารถหย่อนลงได้ถึงก้นทะเลเพื่อเพิ่มอัตราการจับปูม้าและเพิ่มโอกาสจับสัตว์น้ำพลอยจับได้ ซึ่งการดัดแปลงอุปกรณ์ในข้างต้นส่งผลให้ทรัพยากรปูม้าไทยถูกจับมาบริโภคเกินกำลังการขยายพันธุ์ของปูม้าตามธรรมชาติ จนอาจเป็นเหตุให้ปูม้าไทยใกล้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต

ด้วยเหตุนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ซึ่งมีสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิตอยู่ที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี จึงได้กำหนดแนวทางฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบจากการทำประมงปูม้า โดยจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบก อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ที่ผ่านมา การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้ายังประโยชน์ให้คนบนเกาะสีชังที่ประกอบอาชีพทำประมงราว 3,500 คน คิดเป็นกว่าร้อยละ 70 ของประชากรในพื้นที่ทั้งหมด และศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ยังได้รับการพัฒนาให้เป็นต้นแบบกลไกการบูรณาการใช้ประโยชน์จากการวิจัยนวัตกรรม

แก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศและการบริหารจัดการทรัพยากรของชาติจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและภาคีเครือข่ายได้ขยายผลไปยังชุมชนในพื้นที่ท้องทะเลไทยในฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ทั้งสิ้นจำนวนอีก 4 แห่ง 1) ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าวิสาหกิจชุมชุนบ้านบางเสร่ จังหวัดชลบุรี 2) ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านเกาะมุกด์ (อ่าวหัวนอน) อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 3) ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านเกาะมุกด์ (อ่าวมะขาม) อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และ 4) ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านปากคลองท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ในปี 2564 ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารปูบนเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ได้รับการพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ธนาคารสัตว์ทะเล เกาะสีชัง โดยชุมชนท้องถิ่นเพื่อชุมชนท้องถิ่นในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ศูนย์เรียนรู้การเพาะพันธุ์ปูม้าและธนาคารปูม้าแบบมีส่วนร่วมของชุมชน อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศประเภทศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าชุมชน ในการประกวด “ธนาคารปูม้าชุมชน” เพื่อความยั่งยืน ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564”

ที่มา:

  • สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

เข้าใจชุมชนคนรักช้าง สู่สถาปัตยกรรมเพื่อช้าง Elephant World จังหวัดสุรินทร์

ความตั้งใจให้พื้นที่เป็นศูนย์อนุรักษ์ช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นแหล่งศึกษาข้อมูลทางวิชาการ ผลักดันให้โลกของช้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวเกี่ยวกับช้างแบบครบวงจร

พื้นที่สีเขียวของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นที่เปิดเพื่อชุมชนและสังคมที่ทุกคนเข้าถึงได้

การจัดการพื้นที่ให้ร่มรื่นด้วยการปลูกต้นจามจุรีและต้นไม้ใหญ่ใน 14 สวน เป็นพื้นที่สีเขียวในรั้วมหาวิทยาลัยที่เปิดให้ชาวจุฬาฯ และประชาชนทั่วไปทุกเพศทุกวัย ได้เข้ามาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้พักผ่อนหย่อนใจคลายร้อน เพิ่มอากาศที่บริสุทธิ์ ลดมลพิษ ส่งเสริมสุขภาพ สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

จุฬาฯ สร้างระบบส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้กลุ่มเปราะบางชายขอบด้วยระบบ Digital Health Platform

องค์การสหประชาชาติประกาศให้โรคทางช่องปากเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรโลก สถานการณ์โรคฟันผุที่ยังไม่ได้รักษา ในชุดฟันแท้เป็นโรคที่มีพบมากที่สุดในโลก ร้อยละ 35 ของประชากรโลก ในขณะที่โรคปริทันต์อักเสบระดับรุนแรงที่จะนำไปสู่การสูญเสียฟันนั้นยังมีอีกร้อยละ 11 ของประชากรโลก และอัตราการเกิดมะเร็งช่องปากยังเพิ่มขึ้นอย่างคงที่

การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงแพะและผลิตภัณฑ์จากน้ำนมแพะ ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

ในพื้นที่ในเขตมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรีนั้น ผู้ที่ผ่านไปมาอาจจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของภาพข้างทางใหม่ๆ แทนที่จะได้เห็นโคนมในโรงเลี้ยง หรือในไร่ แต่กลับจะเป็นฝูงแพะแทน เนื่องจากเกษตรกรแถบนี้ได้เริ่มเปลี่ยนแนวของอาชีพจากการเลี้ยงโคนมมาทำการเลี้ยงแพะนมมากขึ้น ด้วยเหตุผล คือ ขาดผู้รับช่วง ต้นทุนการเลี้ยงแพะนมต่ำกว่าโคนม ใช้พื้นที่น้อยกว่า และการดูแลที่ไม่ยุ่งยาก