การเข้าถึงและการมีส่วนร่วมกับชุมชน
กรณีศึกษา
หลากหลายกิจกรรมการศึกษาเพื่อสร้างความยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดสู่ชุมชนและสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นใช้องค์ความรู้ที่มีหลากหลายศาสตร์ในการพัฒนาชุมชนและสังคมให้ดีขึ้น การดำเนินการด้านหนึ่งของมหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมด้านการศึกษาให้กับสังคมในวงกว้างทั้งกับกลุ่มศิษย์เก่า ประชาชนทั่วไป ผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น ผู้พลัดถิ่นเพื่อให้ส่งเสริมให้คนทุกกลุ่มมีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถเป็นกำลังคนที่มาช่วยในการพัฒนาชุมชนและสังคมต่อไปได้ รวมทั้งเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วย
โครงการและกิจกรรมเพื่อสังคมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: การส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการดำเนินกิจกรรมและโครงการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยครอบคลุมประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้อพยพ และผู้ลี้ภัย ภายในชุมชนต่าง ๆ
หลักสูตรความรู้และการจัดกิจกรรมรณรงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในเรื่องของผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน ทั้งในแง่ของการเกิดพิบัติภัยจากสภาพอากาศที่รุนแรงโดยตรง และภัยพิบัติอื่น ๆ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ประชาคมโลกได้ทุ่มเทความพยายามอย่างมากในการแก้ไข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้
พื้นที่สีเขียวของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นที่เปิดเพื่อชุมชนและสังคมที่ทุกคนเข้าถึงได้
การจัดการพื้นที่ให้ร่มรื่นด้วยการปลูกต้นจามจุรีและต้นไม้ใหญ่ใน 14 สวน เป็นพื้นที่สีเขียวในรั้วมหาวิทยาลัยที่เปิดให้ชาวจุฬาฯ และประชาชนทั่วไปทุกเพศทุกวัย ได้เข้ามาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้พักผ่อนหย่อนใจคลายร้อน เพิ่มอากาศที่บริสุทธิ์ ลดมลพิษ ส่งเสริมสุขภาพ สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โครงการปทุมวัน Zero Waste: เครือข่ายการจัดการขยะในกรุงเทพมหานคร ช่วยลดขยะเศษอาหารมากกว่า 2,000 ตัน
ความร่วมมือจากโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตปทุม มีเป้าหมายในการลดปริมาณขยะที่เข้าสู่กระบวนการฝังกลบที่มีมากถึง 207 ตัน/วัน เป็นการนำองค์ความรู้และประสบการณ์จากการจัดการขยะภายในถ่ายทอดสู่ภาคี เครือข่ายภาครัฐ และเอกชน ทำให้ใน 7 เดือนที่ผ่านมาประสิทธิภาพในการลดและแยกขยะภายในเขตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะขยะเศษอาหารที่แยกออกมาได้มีจำนวน 2,148 ตันและถูกจัดการอย่างเหมาะสม ซึ่งถ้าหากขยะเศษอาหารเหล่านี้ปะปนกับขยะอื่น จะสามารถก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงประมาณ 5,456 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
จุฬาฯ สร้างระบบส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้กลุ่มเปราะบางชายขอบด้วยระบบ Digital Health Platform
องค์การสหประชาชาติประกาศให้โรคทางช่องปากเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรโลก สถานการณ์โรคฟันผุที่ยังไม่ได้รักษา ในชุดฟันแท้เป็นโรคที่มีพบมากที่สุดในโลก ร้อยละ 35 ของประชากรโลก ในขณะที่โรคปริทันต์อักเสบระดับรุนแรงที่จะนำไปสู่การสูญเสียฟันนั้นยังมีอีกร้อยละ 11 ของประชากรโลก และอัตราการเกิดมะเร็งช่องปากยังเพิ่มขึ้นอย่างคงที่
จังหวัดชลบุรีมั่นใจ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าเกาะสีชังอุ้มประมงชายฝั่งยั่งยืนทุกมิติ
วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ปูม้าแบบฟาร์มบนบก ช่วยเพิ่มอัตราการรอดของลูกพันธุ์ปูม้าจากการสลัดไข่ของแม่ปูม้า ซึ่งกลุ่มชาวประมงเรือเล็กหรือชาวประมงพื้นบ้านจะนำแม่ปูม้าที่มีไข่ติดกระดองมาฝากไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกเพื่อให้ไข่ฟักตัวเป็นลูกปูม้าวัยอ่อนแทนที่จะนำออกขายทันที
เทคโนโลยีราไมคอร์ไรซาเพื่อการปลูกและฟื้นฟูป่าอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนในทุกพื้นที่ของประเทศไทย
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การอนุรักษ์ป่าไม้ในประเทศไทยต้องต่อสู้กับความเชื่อที่ว่า การเผาป่าจะทำให้เกิดเห็ดที่ชาวบ้านสามารถนำไปสร้างรายได้ จึงทำให้มีการแอบเผาป่าอย่างผิดกฎหมายเพื่อนำเห็ดไปขาย การฟื้นฟูผืนป่าที่เสียหายจากการโดนเผานั้นยากกว่าการฟื้นฟูป่าไม้ที่เกิดจากสาเหตุอื่น เนื่องจากจุลินทรีย์ สารอาหาร และความชื้นในดินถูกทำลายไปด้วย
โครงการวิศวกรรมอาสาพัฒนาชนบท (ค่ายวิศวพัฒน์)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ทรงความรู้ ถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้ที่สำคัญทางการชลประทานที่พร้อมถ่ายทอดสู่นิสิตนำไปสู่การฝึกปฏิบัติจริงในการแก้ปัญหาด้านการจัดการน้ำให้กับชุมชนห่างไกล ผ่านค่ายวิศวพัฒน์ ซึ่งเป็นโครงการค่ายวิศวกรรมอาสาพัฒนาชนบทที่พร้อมปลูกฝังความเป็นผู้นำทั้งในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้แก่นิสิตจิตอาสาที่เข้าร่วมค่าย ด้วยปัญหาความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ของบ้านเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
รูปแบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพใจ ภายใต้แนวคิดชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ
ปัจจุบันประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงวัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 โดยปัญหาสุขภาพทั้งทางกาย และจิตใจ ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญหนึ่งของผู้สูงอายุ ในด้านที่อยู่อาศัยพบว่า ผู้สูงอายุในประเทศไทยส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 92.44 ต้องการที่จะอยู่อาศัยในที่อยู่อาศัยเดิม และต้องการปรับปรุงที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ตามแนวคิด การสูงวัยในถิ่นเดิม (Aging in place) ปัจจัยสำคัญคือ ที่อยู่อาศัยต้องถูกออกแบบให้เป็นที่อยู่อาศัยที่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีความเกี่ยวโยงกับชุมชนที่ต้องดำเนินการปรับสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน
อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ป่ากลางเมือง พื้นที่สีเขียวเพื่อชุมชนที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้
พื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองบนพื้นที่กว่า 29 ไร่ ของจุฬาฯ อันเกิดขึ้นจากนโยบายการสร้างเมือง GREEN & CLEAN CITY และเพื่อเป็นการตามรอยพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชทานที่ดินให้แก่จุฬาฯ เพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และคืนประโยชน์สู่สังคมส่วนร่วม โดยก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้เข้าใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะตลอดปีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ 2565-2566
ด้วยความมุ่งมั่นให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงกิจกรรมเหล่านี้ได้ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ความทุพพลภาพ หรือเพศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดโครงการและกิจกรรมสาธารณะด้านวิชาการ การถ่ายทอดความรู้ และการฝึกอบรมสายอาชีพสำหรับประชาชนอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี หลากหลายรูปแบบ ทั้ง onsite และ Online ให้กับทั้งนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกทั่วไปที่สนใจเข้าร่วม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย