จุฬาฯ กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ประการขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ผ่านนโยบายและการบริหารจัดการ การวิจัยและนวัตกรรม การเรียนการสอน ตลอดจนการเข้าถึงและการมีส่วนร่วมกับชุมชน

นโยบายและการบริหารจัดการ

การวิจัยและนวัตกรรม

การเรียนการสอน

การเข้าถึงและการมีส่วนร่วมกับชุมชน

นวัตกรรมเครื่องบำบัดโรคระบบทางเดินหายใจอัตราการไหลสูงในภาวะฉุกเฉินการระบาด COVID-19

ใน พ.ศ. 2564 ทั่วโลกเกิดการระบาดของ COVID-19  เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดที่เกิดจากเชื้อกลายพันธุ์อัลฟาและเดลตา ทำให้มีผู้ติดเชื้อยืนยันเกิน 363,000 รายและผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 รายในประเทศไทยถึงเดือนกรกฎาคม อาการรุนแรงของผู้ป่วยนำมาสู่เครื่องช่วยหายใจและเครื่องบำบัดโรคอัตราการไหลสูงขาดแคลนเนื่องจากมีต้องการทั่วโลก

โครงการจุฬาเวิร์ส: แพลตฟอร์มโลกเสมือนจริง เพื่อชุมชนวิถีใหม่อย่างยั่งยืน ด้วยกรณีใช้งานด้านการแพทย์ การศึกษาตลอดชีวิต และการพาณิชย์

แพลตฟอร์มจุฬาเวิร์ส ประกอบด้วยระบบสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และกรณีใช้งานในด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต การแพทย์และการพาณิชย์ ซึ่งในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ChulaVerse World (CV-World)  มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโจทย์ด้านการใช้ชีวิตและการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัย ได้มีการพัฒนาระบบการเชื่อมต่อบนมาตรฐานที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ และการพัฒนากรณีใช้งานเพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในด้านทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การบริการด้านการแพทย์รูปแบบใหม่ และการพาณิชย์ที่เชื่อมโยงกับภาคเอกชน สำหรับด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ChulaVerse Learn (CV-Learn)

การปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน – การเรียนการสอนสหวิชาชีพเสมือนจริง (ER-VIPE)

การระบาดของ COVID-19 ก่อให้เกิดความท้าทายแก่นิสิตสหสาขาวิชาชีพเนื่องจากประสบการณ์ภาคปฏิบัติที่จำกัดเพราะขาดแคลนเจ้าหน้าที่ มีระยะเวลาในการสอนน้อย และความเสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัสสูง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ทีมของเราได้พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตสหสาขาวิชาชีพสำหรับการปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน (ED)

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล: เปิดตัวหลักสูตรรูปแบบใหม่ มุ่งเน้นปฏิบัติงานจริง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดหลักสูตรใหม่ “สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT)” ในปีการศึกษา 2566 ที่เปิดรับนิสิตมากถึง 300 คนต่อปี เพื่อผลิตบัณฑิตมาเติมเต็มในตลาดแรงงานที่ยังคงขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลเป็นจำนวนมาก อีกทั้งหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตร Higher education sandbox ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน และเพิ่มทักษะในการลงมือปฏิบัติงานจริงแก่นิสิตจากการฝึกงานทุกปีตลอดการศึกษา

การเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนพิการขาขาดทั่วประเทศไทยด้วยนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส (sPace)

โครงการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนพิการขาขาดทั่วประเทศไทยด้วยนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว) ผ่านสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) โดยได้นำเอาผลงานวิจัยนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส มาผลิตเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้พิการขาขาดจำนวน 300 ราย ได้เข้าถึงเท้าเทียมคุณภาพสูง โดยแจกจ่ายผ่านโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 22 แห่ง

บางโพลีฟวิ่งแล็บ: โครงการสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ผ่านการวางแผนการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนถนนสายไม้บางโพ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการวิจัย Bang Pho Living Lab ได้รับทุนสนับสนุนจาก ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้ของชุมชนถนนสายไม้ ย่านบางโพให้กลับมาเป็นที่รู้จักและส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาของชุมชน ผ่านการสร้างพื้นที่ร่วมทดลองปฏิบัติการจริง โดยนิสิต 266 คน

โครงการพัฒนาความมั่นคงในการจัดการสิ่งแวดล้อมของจังหวัดฉะเชิงเทราด้วยระบบบริหารข้อมูลอัจฉริยะการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

จังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ และเป็นพื้นที่มีความพิเศษที่พึ่งพาฐานของความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร เพื่อสนับสนุนการเกษตรอันเป็นเศรษฐกิจฐานรากโครงการนี้ได้สร้างระบบบริหารข้อมูลอัจฉริยะในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของจังหวัดฉะเชิงเทรา

โครงการปทุมวัน Zero Waste: เครือข่ายการจัดการขยะในกรุงเทพมหานคร ช่วยลดขยะเศษอาหารมากกว่า 2,000 ตัน

ความร่วมมือจากโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตปทุม มีเป้าหมายในการลดปริมาณขยะที่เข้าสู่กระบวนการฝังกลบที่มีมากถึง 207 ตัน/วัน เป็นการนำองค์ความรู้และประสบการณ์จากการจัดการขยะภายในถ่ายทอดสู่ภาคี เครือข่ายภาครัฐ และเอกชน ทำให้ใน 7 เดือนที่ผ่านมาประสิทธิภาพในการลดและแยกขยะภายในเขตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะขยะเศษอาหารที่แยกออกมาได้มีจำนวน 2,148 ตันและถูกจัดการอย่างเหมาะสม ซึ่งถ้าหากขยะเศษอาหารเหล่านี้ปะปนกับขยะอื่น จะสามารถก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงประมาณ 5,456 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า