กรณีศึกษา

จุฬาฯ สนับสนุนการศึกษาสำหรับทุกคน ไม่แบ่งแยก

การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับทุกคนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งผลให้การพัฒนาประเทศดีขึ้น การศึกษาไม่ควรจำกัดเฉพาะเยาวชนเท่านั้น การศึกษาไม่ควรมีค่าใช้จ่ายและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ แม้ว่าพวกเขาจะรวยหรือจน ในระบบการศึกษาแบบดั้งเดิม เช่น โรงเรียนมัธยมหรือมหาวิทยาลัย มีข้อจำกัดหลายประการโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้พลัดถิ่น และผู้ลี้ภัย ซึ่งคนในกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับการศึกษาในระบบโรงเรียน พวกเขาต้องการความรู้เฉพาะที่สามารถใช้ในการประกอบอาชีพ หรือทำให้การประกอบอาชีพของพวกเค้ามีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะผู้นำสถาบันการศึกษาในภูมิภาค ถือโอกาสนี้เปิดหลักสูตรระยะสั้นฟรีแก่ประชาชนทั่วไป โดยเป็นหลักสูตรออนไลน์ที่มีเป้าหมายเป็นบุคคลทั่วไปและนิสิตในมหาในมหาวิทยาลัยที่ต้องการหาความรู้อื่นๆ นอกเหนือจากสาขาวิชาที่ตนเรียน หลักสูตรออนไลน์ฟรีจำนวนมากช่วยให้ผู้เข้าร่วมที่ไม่มีโอกาสได้รับในระบบการศึกษา เช่น ผู้พลัดถิ่นและผู้ลี้ภัย สามารถพัฒนาทักษะพื้นฐาน เช่น การสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงานได้

CHULA THE MASTER ภาค 1 Cooking For Life

ศูนย์พัฒนกิจและนิสิตเก่าสัมพันธ์จุฬาฯ เปิดคอร์สสอนทำอาหารออนไลน์ฟรีกับ “เชฟป้อม มล.ขวัญทิพย์ เทวกุล” นักโภชนาการและเชฟชื่อดังที่เป็นกรรมการตัดสินรายการแข่งทำอาหาร  “Master Chef Thailand” หลักสูตรนี้เน้นการทำอาหารโดยเชื่อมโยงความรู้ด้านอาหารในชีวิตประจำวันกับองค์ความรู้อื่นๆ อย่างหลากหลาย เช่น การถนอมอาหารทางวิทยาศาสตร์ การบริหารธุรกิจอาหารโดยใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และการตลาดอาหารเพื่อจิตใจโดยใช้ความรู้ทางจิตวิทยาหลักสูตรนี้เปิดสอนสำหรับศิษย์เก่าและบุคคลทั่วไปทุกคน สามารถเข้าถึงหลักสูตรออนไลน์ผ่านคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถต่อเชื่อมอินเตอร์เน็ตได้

จุฬาฯ ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงแพะ ผลิตภัณฑ์จากน้ำนมแพะ ถ่ายทอดความรู้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของห่วงโซ่คุณค่า (value chain)

นมแพะมีคุณค่าทางอาหารสูง ย่อยง่าย อุดมด้วยโปรตีนและไขมันที่มีประโยชน์ เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้นมวัวและผู้สูงอายุ อุตสาหกรรมการทำนมแพะเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต จากความร่วมมือระหว่างสาขาวิชาระหว่างคณะสัตวแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือพัฒนาความรู้ทั้งระบบตั้งแต่ถ่ายความรู้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ของการผลิต โดยมีองค์ความรู้ตั้งแต่การจัดการฟาร์มและการจัดการสุขภาพสัตว์ไปจนถึงการแปรรูปน้ำนมดิบเพื่อเพิ่มมูลค่า

การส่งเสริมการเลี้ยงแพะเป็นอาชีพสามารถ เพิ่มรายได้ในครัวเรือน โดยจัดหาต้นแบบที่มีคุณภาพเพื่อนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด นำโดยผู้ประกอบการรุ่นใหม่ การได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีคุณภาพ สู่ท้องตลาดด้วยกลไกของผู้ประกอบการรุ่นใหม่โดยเฉพาะบัณฑิตที่กำลังจะจบการศึกษาหรือจบการศึกษาแล้วจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นลักษณะการดำเนินงานแบบ triple helix คือ มหาวิทยาลัย เกษตรกร และผู้ประกอบการหน้าใหม่ในลักษณะครบวงจรตามห่วงโซ่คุณค่า

ผลการดำเนินงานในระยะที่ 1 ได้มีการพัฒนากลุ่มเกษตรกรโดย การรวมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะอำเภอมวกเหล็ก จ.สระบุรี ที่เริ่มมีการผลิตนมแพะ พร้อมดื่มจำหน่ายไปบ้างแล้ว นอกจากนี้ยังได้มีการจด          อนุสิทธิบัตรงานวิจัยนมแพะพาสเจอรไรซ์ผสมเนื้อผลไม้ 4 รส ได้แก่ รสธรรมชาติ รสกล้วย รสมะพร้าวและ  รสแคนตาลูป มีรายได้จากขายอนุสิทธิบัตร ให้แก่ผู้ประกอบการรายใหม่ (startup) ในการจัดจำหน่ายนมแพะเกิดขึ้นด้วย มีความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจังหวัดสระบุรีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมแพะและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรในงานนิทรรศการที่เกี่ยวข้อง เช่น กิจกรรมวันแพะแห่งชาติ ในระยะต่อมาโครงการได้พัฒนาการแปรรูปนมแพะเป็นอาหาร ได้แก่ เนยแข็ง และลูกอมรสนมแพะ และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ได้แก่ สบู่ก้อน สบู่เหลว และ ครีมทาผิว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงและมีช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเลี้ยงแพะนมที่มีมาตรฐานและคุณภาพมากขึ้นทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงแพะ อีกทั้งโครงการยังส่งเสริมให้ผู้ประกอบการตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาอาชีพ คนในชุมชนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์นมแพะที่เป็นนวัตกรรมใหม่และสามารถสร้างช่องทางการค้า จึงเป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาอาชีพในอนาคต

ที่มา:

  • คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศูนย์พัฒนกิจและนิสิตเก่าสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

จุฬาฯ หนุนใช้นวัตกรรมกู้วิกฤตประมงไทย ผุดวิธีแก้ประมงผิดกฎหมาย ช่วยชาติปลดล็อคใบเหลือง IUU

ต่อยอดผลสำเร็จงานวิจัยการจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาประมงแบบ IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงไทย

จุฬาฯ ปลุกท่องเที่ยวน่านโตสมดุลและยั่งยืน ชู “เที่ยวกรีน กินคลีน เสพศิลป์เมืองน่าน”

“น่าน” มีวิสัยทัศน์ประจำจังหวัด คือ “เมืองแห่งความสุข เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ธรรมชาติสมบูรณ์ การเกษตรมั่งคั่ง ชุมชนเข้มแข็ง ท่องเที่ยวยั่งยืน” จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืนเพื่อให้เป็นเมืองที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน

จุฬาฯ หวังเพิ่มประชากรเต่าทะเล หนุนตั้งเครือข่ายคุ้มครองแหล่งวางไข่ในอ่าวไทย

จำนวนเต่าทะเลในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 แม้รัฐบาลจะประกาศใช้กฎหมาย กำหนดเขตหวงห้าม ประกาศขึ้นทะเบียนเต่าทะเลในบัญชีรายชื่อของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งพันธุ์พืชป่าและสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) และพยายามสำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งอาศัยของเต่าทะเล เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการอนุรักษ์เต่าทะเลก็ตาม แต่จำนวนของเต่าทะเลในประเทศไทยยังคงลดลงจนใกล้ถึงจุดวิกฤต จากจำนวนมากกว่า 2,500 รังต่อปี เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงปีละ 300-400 รังต่อปี เท่านั้น

เรียนรู้โลกกว้างผ่านแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์จุฬาฯ เปิดชมฟรีตลอดปี

จุฬาฯ เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ผ่านการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ซึ่งมีทั้งส่วนที่อยู่ภายในกำกับของส่วนกลางมหาวิทยาลัยและอยู่ในส่วนความรับผิดชอบของหลายคณะ รวมมากถึง 23 แห่ง