กรณีศึกษา

การพัฒนาเครือข่ายชุมชนเกษตรด้วยระบบเกษตรแบบยั่งยืน

สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำโครงการ “การพัฒนาเครือข่ายชุมชนเกษตรด้วยระบบเกษตรแบบยั่งยืน” โครงการนี้ส่งเสริมการสร้างทักษะและความรู้ด้านระบบการผลิตและแนวทางการตลาดที่จะผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรด้วยเทคนิคและแนวทางการจัดการพื้นที่เกษตรในระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาภาคการเกษตรเพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าเกษตรและความปลอดภัยของอาหาร อันจะส่งผลให้เกิดความมั่นคงทางอาหารของประเทศ โดยใช้ จ.น่าน และ เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เป็นต้นแบบ

การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในระบบเกษตรอินทรีย์

โครงการพัฒนาเครือข่ายชุมชนเกษตรด้วยระบบเกษตรกรรมยั่งยืนได้ส่งเสริมความรู้ที่เกี่ยวข้องในระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PARTICIPANT GUARANTEE SYSTEMS: PGS) ซึ่งเหมาะกับเกษตรรายย่อย ตลอดจนการผลิตเกษตรอินทรีย์ การตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองผ่านการฝึกอบรมและอบรมเชิงปฏิบัติการ

การพัฒนาเครือข่ายชุมชนเกษตรกลุ่มเกษตรอินทรีย์ พีจีเอส

ผลการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายชุมชนเกษตรกลุ่มเกษตรอินทรีย์ พีจีเอส น่าน ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา สามารถสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจแก่ตลาดที่เข้ามารับซื้อผลผลิตของกลุ่ม ทำให้มีตลาดจำนวนมากเข้ามาติดต่อซื้อสินค้า กลุ่มเกษตรกรสามารถบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพและปรับตัวเข้ากับตลาดแต่ละแห่งได้เป็นอย่างดี สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตรจึงเกิดแนวคิดในการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคมขึ้นขึ้นโดยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างทีมที่ปรึกษา ทีมส่งเสริมและเกษตรกรสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ พีจีเอส ภายใต้ชื่อ “CU PGS NAN SOCIAL ENTERPRISE”

การพัฒนาเครือข่ายชุมชนเกษตรกลุ่มเกษตรอินทรีย์ พีจีเอส เกาะพะงัน

โครงการพัฒนาเครือข่ายชุมชนเกษตรด้วยระบบเกษตรยั่งยืนได้มีส่วนสนับสนุนให้เกิดองค์ความรู้และความก้าวหน้าใน เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี สถานที่ทำเกษตรอินทรีย์ ในการผลิตผัก ผลไม้ ไข่อินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ชาใบเตย น้ำมันตะไคร้ และยากันยุง ซึ่งเป็นผลผลิตจากวัสดุในท้องถิ่น

เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ทําให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวและอาศัยอยู่บนเกาะพะงันมากขึ้น เกษตรกรจึงได้เปิดพื้นที่การเกษตรให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ โดยเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวและทํากิจกรรมร่วมกับเกษตรกรภายในทําให้เกษตรกรมีรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้นถึง 54,000 บาทต่อเดือน

การพัฒนาเมนูอาหารสุขภาพคาร์บอนต่ำ

ผลการพัฒนารูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดน่าน ประจำปี 2561 ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวและทำกิจกรรมฟาร์มของเกษตรกรมากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่มีคาร์บอนต่ำ โดยอาศัยกลไกการสร้างเมนูอาหารที่สอดคล้องกับฤดูกาลร่วมกับผู้ประกอบการกลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร คาเฟ่ ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ ส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบันโดยใช้กระบวนการแปรรูปน้อย (Low process) ทําให้ยังคงคุณค่าทางโภชนาการเอาไว้ ร่วมกับระบบเกษตรอินทรีย์ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ทำให้สินค้ามีความปลอดภัย ไม่ใช้สารเคมีและไม่มีการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่

การจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม

ผลงานของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ PGS น่าน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสมาชิกเกษตรกร จึงมีแนวคิดที่จะสานต่อและพัฒนาระบบการตลาดแบบสมาชิก “CU Community Support Agricultural; CU CSA” ที่เชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภคผ่านผลิตภัณฑ์ “กล่องกินเปลี่ยนน่าน“ (EAT FOR NAN BOX) เพื่อส่งมอบอาหารที่ปลอดภัย มีคุณภาพ รู้แหล่งที่มาของผลผลิต ในราคาที่เป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

การประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI)

ผลการดําเนินโครงการการพัฒนาเครือข่ายชุมชนเกษตรด้วยระบบเกษตรยั่งยืน ในปี 2565สามารถสร้างผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ให้กับพื้นที่จังหวัดน่านและเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ดังนี้ พื้นที่จังหวัดน่านใช้งบประมาณในการดําเนินโครงการจํานวน 301,500 บาท สร้างผลตอบแทนทางสังคม (SROI)ได้จํานวน 13,063,995 บาท หรือ 43.33บาทต่อการลงทุน 1 บาทพื้นที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานีใช้งบประมาณในการดําเนินโครงการจํานวน 48,500 บาท สร้างผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ได้จํานวน 2,331,395 บาทหรือ 48.07 บาทต่อการลงทุน 1 บาท

ที่มา:

สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

ศิลปะบำบัด ปลดปล่อยความวิตกกังวลจากเหตุการณ์วิกฤต

หลายคนที่เคยประสบกับเหตุการณ์วิกฤตไม่ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการเข้าบำบัดรักษาสุขภาพจิต เนื่องจากค่านิยมในสังคมเป็นสาเหตุที่สำคัญทำให้ผู้คนที่ได้รับความบาดเจ็บทางอารมณ์จากเหตุการณ์รุนแรงไม่เข้ารับการบำบัด ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมีความเชื่อว่าการเข้ารับการบำบัดหมายถึงการเป็นคนบ้าหรือมีสภาพจิตใจที่อ่อนแอ การปรับทัศนคติในเรื่องนี้กับผู้คนในสังคมมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้การบำบัดสุขภาพจิตสามารถเข้าถึงได้ง่ายและเป็นที่ยอมรับ

จุฬาฯ ปลุกการท่องเที่ยวเมืองน่านสีเขียว

“น่าน” มีวิสัยทัศน์ประจำจังหวัด คือ “เมืองแห่งความสุข เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ธรรมชาติสมบูรณ์ เกษตรกรรมอุดมสมบูรณ์ ชุมชนแน่นแฟ้น และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” น่านได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดการพัฒนาการและเติบโตด้านการท่องเที่ยวอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยใช้ 5 กลยุทธ์

จุฬาฯ ผนึกกำลังชุมชน ติวน้อง “ละอ่อนสารักษ์ป่าน่าน” ใช้ Google Earth Pro กู้ป่าชุมชนเสื่อมโทรม

สถานการณ์ป่าน่านเสื่อมโทรมเป็นปฐมเหตุให้ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง และสถานีวิจัยคัดเลือกและบำรุงพันธุ์สัตว์ ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ต้องผนึกกำลังกันดำเนินกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดเพื่อวางแนวทางการพลิกฟื้นผืนป่าสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศป่าชุมชน “ไหล่น่าน”

อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ป่ากลางเมือง พื้นที่สีเขียวเพื่อชุมชนที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้

พื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองบนพื้นที่กว่า 29 ไร่ ของจุฬาฯ อันเกิดขึ้นจากนโยบายการสร้างเมือง GREEN & CLEAN CITY และเพื่อเป็นการตามรอยพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในการพระราชทานที่ดินให้แก่จุฬาฯ เพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และคืนประโยชน์สู่สังคมส่วนร่วม โดยก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้เข้าใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน