เกม “Urban Green มหานครสีเขียว” เพื่อการเรียนรู้ความสำคัญของพื้นที่สีเขียวในเมือง
นับตั้งแต่ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ประชากรมนุษย์ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในปัจจุบันอาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งคาดว่าแนวโน้มนี้จะดำเนินต่อไป เป็นเหตุให้เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง การขยายตัวของเมืองส่งผลกระทบต่อการใช้ที่ดินและรูปแบบของความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้พื้นที่สีเขียวที่มีตามธรรมชาติที่ลดลง ส่งผลให้เกิดโรคอุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำ การแข่งขันระหว่างสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตท้องถิ่น และการแทนที่ด้วยสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมเมืองได้ ส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดน้อยลง เป็นไปได้ที่จะกล่าวว่าการขยายตัวของเมืองเป็นสาเหตุหลักของการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต การทำความเข้าใจกระบวนการและผลกระทบของการขยายตัวของเมืองเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองเพื่อทดแทนพื้นที่ธรรมชาติที่สูญเสียไปอาจเป็นทางออกหนึ่งในการแก้ปัญหานี้
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้พื้นที่สีเขียวในมหาวิทยาลัยมีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ และมีโครงการหลากหลายเพื่อดำเนินการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างไรก็ตามพบว่า การสื่อสาร การศึกษา และการรับรู้ของประชาชนภายนอกยังคงไม่เพียงพอที่จะใช้เป็นแรงผลักดันในเรื่องนี้ นิสิตและคณาจารย์จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาบอร์ดเกมที่จำลองสถานการณ์วิกฤตที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เกมดังกล่าวมีชื่อว่า “แบบจำลองเชิงบูรณาการเพื่อการเรียนรู้บริการของระบบนิเวศของพื้นที่สีเขียวภายในเมือง” หรือเรียกสั้น ๆ “Urban Green มหานครสีเขียว” โดยเกมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้เล่นมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ บริการของระบบนิเวศเมือง และบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภาคส่วนต่าง ๆ ที่จำพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองให้เป็นระบบนิเวศที่เอื้อประโยชน์ต่อสรรพชีวิตรวมถึงมนุษย์ที่อาศัยในเมือง ซึ่งเมื่อผู้เล่นมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นแล้ว ย่อมนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพในการจัดการพื้นที่สีเขียวต่อไปในอนาคต
โดยที่ผู้เล่นแต่ละคนจะได้รับการ์ดตัวละครที่เป็นตัวแทนของบุคคลที่มีบทบาทต่างๆ กันในการจัดการพื้นที่ การ์ดทรัพยากรและการ์ดเงิน ผู้เล่นจะใช้ความสามารถของตัวละครในการจัดการทรัพยากรและเงินทุนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในสถานการณ์จำลอง เมื่อเล่นเกม ผู้เล่นจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการและปรับปรุงความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น หลังจากจบเกม ผู้เล่นจะได้รับการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพด้วยแบบทดสอบที่จัดทำขึ้น
เกม “Urban Green, มหานครสีเขียว” ประสบความสำเร็จในการใช้ประกอบการเรียนการสอนในหลักสูตรต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และเกมนี้ยังได้เผยแพร่ไปยังโรงเรียนในกรุงเทพฯ และจังหวัดหัวเมือง เพื่อสอนเด็กนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
ที่มา:
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อื่นๆ
เสวนา SDG 14 Life Below Water
จุฬาฯ จัดการเสวนาในซีรีส์ SDG14 ชีวิตในน้ำ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัยทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าร่วมการเสวนา และมีผู้เข้าร่วมการเสวนาประมาณกว่า 200 คน
จุฬาฯ กับการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งใหญ่ ใน Chula Sustainability Fest 2022
ในปี 2022 ผลงานที่มีส่วนในการสร้างความยั่งยืนของจุฬาฯ จะไม่อยู่แค่ใน SDGs Report แต่ได้ออกมาสื่อสารในงาน Chula Sustainability Fest 2022 เมื่อวันที่ 2-4 กันยายน 2565 เพื่อสร้าง Commitment สื่อสารนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาฯ Connect เชื่อมโยงประชาคมจุฬาฯ และ Inspired สร้างแรงบันดาลใจให้ช่วยกันผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน
พิพิธภัณฑ์ของจุฬาฯ: แหล่งเรียนรู้โลกกว้างที่ทุกคนเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
ภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของคณะและสถาบันสำคัญที่ทั้งสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นิสิตผลิตบัณฑิตให้พร้อมออกไปรับใช้สังคมแล้ว จุฬาฯ ยังได้เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต
CU Innovations for Society ภารกิจกู้วิกฤติโควิด-19 เพื่อคนไทย
“นวัตกรรมจุฬาฯ” รับใช้ชาติกู้สถานการณ์โควิด-19 ดูแลคนไทยครบทุกมิติทั้งป้องกัน (Prevent) ปกป้อง (Protect) และรักษา (Cure) ช่วยแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ทั้งยังสามารถต่อยอดขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย