Strengthen the means of implementation and revitalize the global partnership for sustainable development.
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการปรับตัว และปรับรูปแบบในการให้บุคลากรเข้ามาปฏิบัติงาน จากที่ต้องเข้ามาปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของหน่วยงานเท่านั้น เปลี่ยนเป็นลักษณะที่มีความยืดหยุ่นขึ้น
การศึกษาในมหาวิทยาลัยไม่ได้มีไว้สำหรับนักศึกษาเท่านั้น เป็นสถานที่สำหรับทุกคน จุฬาลงกรณ์ได้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์อย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนแนวคิดของ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” และเพื่อเตรียมความพร้อมให้คนไทยเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่โดยไม่ต้องไปเรียนในมหาวิทยาลัย
พื้นที่กว่า 29 ไร่ ของจุฬาฯ อันเกิดขึ้นจากนโยบายการสร้างเมือง GREEN & CLEAN CITY และเพื่อเป็นการตามรอยพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชทานที่ดินให้แก่จุฬาฯ เพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และคืนประโยชน์สู่สังคมส่วนร่วม
ภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของคณะและสถาบันสำคัญที่ทั้งสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นิสิตผลิตบัณฑิตให้พร้อมออกไปรับใช้สังคมแล้ว จุฬาฯ ยังได้เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต
ด้วยความมุ่งมั่นให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงกิจกรรมเหล่านี้ได้ จึงได้ดำเนินการจัดโครงการและกิจกรรมสาธารณะด้านวิชาการ การถ่ายทอดความรู้ และการฝึกอบรมสายอาชีพสำหรับประชาชนอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี หลากหลายรูปแบบ ทั้ง onsite และ Online โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้นเรื่อย ๆ ราว 500,000 ราย โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยใหม่มากกว่า 300,000 ราย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าร้อยละ 70 จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูหลังเข้ารับการรักษา ส่งผลค่ารักษาพยาบาลที่หากต้องใช้รักษาผู้ป่วยเหล่านี้สูงกว่า 2 หมื่นล้านบาทต่อปี และยังพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอีกจำนวนมากไม่มีสิทธิ์เข้าถึงการรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนิสิตทุกระดับที่กำลังศึกษาอยู่ ราว 37,000 คน นิสิตจำเป็นต้องเรียนออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และได้รับผลกระทบในหลายมิติโดยเฉพาะด้านสภาพจิตใจ Chula Student Wellness Center จึงสำรวจภาวะสุขภาพจิตของนิสิตในปีการศึกษาล่าสุด พบว่า ร้อยละ 15 ของนิสิตทั้งหมดหรือประมาณ 5,550 คน ต้องการความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาและจิตแพทย์
ขยะพลาสติกจากธุรกิจส่งอาหารกำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมเมืองโดยเฉพาะหลังจากที่ภาครัฐออกมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ห้ามให้ประชาชนออกมารับประทานอาหารนอกบ้าน ส่งผลให้ธุรกิจส่งอาหารเติบโตอย่างก้าวกระโดด ในขณะเดียวกลับสร้างปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลตามมาอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดนั่นคือปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกและพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมีจำนวนมหาศาล และกลายเป็นขยะทันทีหลังบริโภค
แม้ประเทศไทยจะมีอัตราการเกิดของเด็กลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนต่ำกว่า 600,000 คนต่อปี มาตั้งแต่ปี 2562 แต่ทุกวันนี้ยังคงมีประชากรวัยเด็กมากกว่า 7 ล้านคนที่ภาครัฐยังคงต้องดูแลสุขภาวะด้านต่าง ๆ จากการสำรวจสถานการณ์ฟันผุในเด็กไทยพบว่าปัจจุบัน เด็กไทยเริ่มมีฟันผุตั้งแต่อายุ 9 เดือน และยังพบเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุเฉลี่ย 3 ซี่ต่อคน
ในปี 2563 ประเทศไทย มีกำลังการผลิตน้ํานมดิบจากแม่โคนมในประเทศได้ราว 3,500 ตัน/วัน จากแม่โคทั่วประเทศ ประมาณ 310,000 ตัว โดยแม่โคนมไทยได้รับความนิยมจากประเทศคู่ค้าในสมาชิกอาเซียนและต้องการนำเข้าแม่โคนมจากไทยเพราะสามารถพัฒนาสายพันธุ์ได้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศเขตร้อนชื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ดี จึงทำให้ไทยสามารถส่งออกแม่โคนมได้ 840 ตัวต่อปี ในขณะที่คู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของไทยในภูมิภาคอาเซียนคือออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ที่ส่งออกผลิตภัณฑ์นมเข้ามาจำหน่าย และยังขยายฐานการผลิตเข้ามาแข่งขันตีตลาดของไทย
การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ทั่วโลกยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีวัคซีนแล้ว แต่ไวรัสก็ยังกลายพันธุ์ได้อยู่ และยังส่งผลกระทบต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก ดังนั้นการหาข้อมูลหรือการเก็บข้อมูลที่จะเก็บประเด็นผลกระทบต่างๆจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลในวงกว้างระดับภูมิภาค จึงเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในภาคีเครือขายของ Association of Pacific Rim Universities (APRU) ในหน่วย Global Health Program ซึ่งมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกทั้งหมด 60 มหาวิทยาลัย จาก 19 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จึงได้มีการทำโครงการสำรวจข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและการรับรู้ผลกระทบจากโรคโคโรน่าไวรัส 2019 (โควิด-19) ขึ้น
นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง บนเนื้อที่ทั้งหมด 12,568 ไร่ ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้เป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศ และเป็นพื้นที่การลงทุนของอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ที่สามารถเชื่อมโยงไปยังอุตสาหกรรมการผลิตมากมาย อาทิ อุปกรณ์เครื่องใช้ บรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงยังช่วยส่งเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
Necessary cookies are essential for the functioning of the website, allowing you to use and browse the site normally. You cannot disable these cookies in our website's system.
คุกกี้เหล่านี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ เช่น จำนวนผู้เข้าชม, หน้าเว็บที่ได้รับความนิยม และพฤติกรรมการท่องเว็บ ซึ่งช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์ปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ได้
คุกกี้เหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ โดยจดจำการตั้งค่าที่ผู้ใช้เคยกำหนดไว้ เช่น ชื่อผู้ใช้, ภาษา, ภูมิภาค หรือการปรับแต่งเว็บไซต์ตามความต้องการ