การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็น 1 ใน 3 ยุทธศาสตร์สำคัญของจุฬาฯ ซึ่งสอดคล้องกับวาระการพัฒนา 2030 ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ในการร่วมกันบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ตลอดหลายปีที่ผ่านมา จุฬา มีความจริงจังในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs โดยจุฬาฯ ผลิตผลงานทางวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรมมามากมายอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล อย่างเช่นการได้รับการจัดอันดับจาก Time Higher Education World University Rankings 2022 ให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย สามปีซ้อน และเป็นอันดับที่ 16 ของโลกในปีล่าสุด

ในปี 2022 ผลงานที่มีส่วนในการสร้างความยั่งยืนของจุฬาฯ จะไม่อยู่แค่ใน SDGs Report แต่ได้ออกมาสื่อสารในงาน Chula Sustainability Fest 2022 เมื่อวันที่ 2-4 กันยายน 2565 เพื่อสร้าง Commitment สื่อสารนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาฯ Connect เชื่อมโยงประชาคมจุฬาฯ ทุกภาคส่วน ทั้งคณาจารย์ บุคลากร นิสิต นิสิตเก่า และขยายสู่ประชาชนโดยทั่วไป เพราะความยั่งยืนของสังคมไม่สามารถทำโดยคนใดคนหนึ่งได้ และ Inspired สร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้ผู้คนรู้สึกอยากเข้ามามีส่วนร่วมช่วยกันผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน

จุฬาฯ กับ การพัฒนา Health and Well-being

จุฬาฯ มีความตั้งใจขับเคลื่อนประเด็นความยั่งยืนด้านสุขภาวะ หรือ เป้าหมายที่ 3 Good Health and Well-being ซึ่งเป็นประเด็นที่จุฬาฯ มีความเชี่ยวชาญ มีคณะ สถาบัน วิทยาลัยด้านสุขภาพที่ทำงานอย่างหลากหลาย ประกอบกับที่ผ่านมา สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้คนหันมาสนใจและใส่ใจสุขภาพร่างกายมากขึ้น ภายในงานครั้งนี้ จึงมีกิจกรรมด้านสุขภาพที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสุขภาวะทางกาย และสุขภาวะทางจิต เช่น

  • กิจกรรมเสวนาความรู้คู่สุขภาพ ในหัวข้อ “กลวิธีจัดการความเครียดในยุคโควิด” โดย ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • การใช้เครื่อง AED โดย ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กิจกรรม “Safety Talk ฮวงจุ้ยกับการจัดห้องทำงานตามหลักการยศาสตร์” โดย SHECU ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
  • กิจกรรม “Safety Show การสาธิต Basic Life Support CPR การสาธิตการดับเพลิง การโรยตัว และผูกเงื่อน โดย SHECU ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

และยังมีผลงานนวัตกรรมและโครงการด้านสุขภาพที่ถูกสื่อสารออกมาภายในงานครั้งนี้ เพื่อสร้างความตระหนักของความสำคัญในการดูแลสุขภาพ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เพราะความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ สุขภาพกายและใจต้องมาก่อน

Chula Carbon Neutrality 2040 และ Net Zero 2050

                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะประเด็นเรื่องก๊าซเรือนกระจกหรือการลด ซึ่งจุฬาฯ อยากผลักดันให้สังคมร่วมกันขับเคลื่อนให้เป็นจริง เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของมนุษยชาติ เราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น จุฬาฯ ต้องเริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลง ด้วยการสนับสนุน และส่งเสริมให้นิสิต และบุคลากรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดีและสิ่งแวดล้อมให้ลูกหลานในอนาคต ที่ผ่านมา จุฬาฯ มีโครงการ Chula Zero waste ที่เป็นกำลังสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนทั้งระบบเพื่อลดปัญหาขยะและมุ่งสร้างความตระหนักและความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม

และที่สำคัญ ศาตราจารย์ ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาฯ ประกาศเจตนารมณ์ลดก๊าซเรือนกระจกในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2040 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในที่สุด (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี ค.ศ. 2050 แผนผลักดันให้ประชาคมจุฬาฯ ร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน หรือ Chula 2050 Net-Zero Transition ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์  ได้แก่

1. Energy Transition:  ปรับเปลี่ยนเป็น Zero-Carbon Energy System โดย เพิ่มการใช้พลังงานทดแทน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ (solar PV development) และลดการใช้ไฟฟ้า
2. Improving Energy System Resilience โดยเพิ่มระบบการกักเก็บพลังงานทดแทน เปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน
3. Creating Green Growth โดยสนับสนุนการลงทุนสีเขียวและความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไร้คาร์บอน
4. Lifestyle Transition โดยเปลี่ยนมาใช้ Low Carbon Transportation, Chula Zero-Waste รวมทั้ง Low Carbon Diet
5. Social Transition Social Support System: สร้างการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

สร้างความยั่งยืนแบบ Partnerships for the Goals

จุฬาฯ จัดงานเทศกาลความยั่งยืนครั้งนี้ เพื่อมุ่งเปิดมุมมองให้สังคมได้เห็นความเชื่อมโยงของสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและสุขภาวะ ซึ่งจะนำไปสู่ความตระหนักในการสร้างความสมดุลยั่งยืนให้เพิ่มมากขึ้น ในระยะที่ผ่านมาจุฬาฯ ได้พยายามขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด หน่วยงานในมหาวิทยาลัยที่ต่างคนต่างทำงานในความรับผิดชอบมากมาย แต่ในเทศการความยั่งยืนครั้งนี้ จะเชื่อมให้กลุ่มบุคลากรต่างๆ ผนึกกำลังกัน และขับเคลื่อนงานนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นมิติใหม่ของการขับเคลื่อนความยั่งยืนของจุฬาฯ”

ในการร่วมกันขับเคลื่อนความยั่งยืนประเด็นสุขภาวะ (Health and Well-being) และสิ่งแวดล้อม (Carbon Neutrality) หลายหน่วยงานในจุฬาฯ เข้ามาร่วมมือกันทำงานแบบ cross function ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 17 : Partnerships For The Goals หน่วยงานต่างๆ อาทิ สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬา (SHECU) สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาฯ ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ (CCC) สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ และเครือข่ายพันธมิตร เช่น ศูนย์ BCGeTEC คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่ทำโครงการ Chula Carbon Neutrality Challenge การประกวดโครงการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเน้นที่การลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ เป็นต้น

บทสรุปของกิจกรรมเพื่อความยั่งยืน

Chula Sustainability Fest 2022” จัดกิจกรรมและโครงการที่จุฬาฯ ได้ดำเนินการ ครอบคลุมความยั่งยืนในด้านต่างๆ ทั้งการพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาสุขภาวะ ตลอดจนการพัฒนาสังคม และมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น

  • กิจกรรมด้านจิตวิทยา Work shop “A cup of awareness”
  • นิทรรศการภาพถ่าย “A Sustainable Happiness ความสุขที่ยั่งยืน”
  • สุขภาพดีกับกิจกรรมโยคะ-ซุมบ้า
  • กิจกรรม CU Night Run
  • เพลิดเพลินกับคอนเสิร์ตในสวนจากวงนิสิตจุฬาฯ และศิลปินชื่อดัง เช่น แสตมป์ อภิวัชร์, มาเรียม เกรย์, Serious Bacon และ อูน Diamond Grains
  • อิ่มอร่อยกับอาหารออร์แกนิก และสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากมายในพื้นที่ ตลาดสีเขียว จาก Greenery Market และ Chula SDGs Market
  • นิทรรศการและการนำเสนอผลงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • การฉายหนังกลางแปลง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการปรับเปลี่ยนมุมมองการใช้ชีวิต การทำงานที่ส่งผลดีต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อมที่

การเกิดขึ้นของงาน Chula Sustainability Fest 2022 จึงเป็นหมุดหมายสำคัญในการตั้งต้นเพื่อไปสู่เป้าหมาย ผ่านการสร้างความร่วมมือระหว่างเครือข่ายจากหลากหลายวงการ เพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงวิถีชีวิตและเชิงโครงสร้างอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้

Facebook : CU Let It Green https://www.facebook.com/chulasustainability/
Facebook : Chulalongkorn University https://www.facebook.com/ChulalongkornUniversity/

อื่นๆ

การดำเนิการตามแนวพระราชดำริ: ส่งต่อความหลากหลายทางระบบนิเวศสู่คนรุ่นหลัง

“การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไม่ได้หมายถึงการเก็บเอาไว้ไม่ให้ใครเข้าถึง แต่หมายถึงการรักษาไว้อย่างยั่งยืนเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม”

เทคโนโลยีราไมคอร์ไรซาเพื่อการปลูกและฟื้นฟูป่าอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

จากการสำรวจในปี 2564 พบว่ามีพื้นป่าเพียง 31.59% ของพื้นที่ทั้งหมดในประเทศไทย สาเหตุหลักของการลดลงของผืนป่าเกิดจาก ไฟป่า การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการเกษตรและการลักลอบตัดไม้ นอกจากนี้พื้นป่าที่เหลืออยู่ก็อยู่ในสภาพวิกฤต สภาพอากาศที่แห้งแล้งหรือการลักลอบเผาป่าอย่างผิดกฎหมาย ทำให้เกิดไฟป่า ที่นอกจากจะทำให้ผืนป่าลดลงแล้ว การเกิดไฟป่ายังทำลายสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น

จุฬาฯ ชงแก้ปัญหาขยะทะเลจากบนบก เสนอรัฐคุมใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งในบริการส่งอาหาร (Food Delivery)

ขยะพลาสติกจากธุรกิจส่งอาหารกำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมเมืองโดยเฉพาะหลังจากที่ภาครัฐออกมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ห้ามให้ประชาชนออกมารับประทานอาหารนอกบ้าน ส่งผลให้ธุรกิจส่งอาหารเติบโตอย่างก้าวกระโดด ในขณะเดียวกลับสร้างปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลตามมาอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดนั่นคือปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกและพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมีจำนวนมหาศาล และกลายเป็นขยะทันทีหลังบริโภค

ธนาคารปูม้า เกาะสีชัง ต้นแบบศูนย์เรียนรู้เพิ่มทางรอดปูม้าไทยคืนสู่ท้องทะเล

เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2563 มีชาวประมงที่จับปูม้าที่ท้องนอกกระดองมาให้ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบก อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เป็นจำนวน 457 ตัว เพื่อเพาะเป็นลูกปูม้า ศูนย์สามารถดูแลปูไข่จนลูกปูม้าถึง 565,219,724 ตัว และแม้ลูกปูม้าจะมีเปอร์เซนต์รอดชีวิตที่ 40-60% ศูนย์ก็ยังสามารถเอาลูกปูม้าไปปล่อยในทะเลได้มากเกินกว่า