กรณีศึกษา

เทคโนโลยีราไมคอร์ไรซาเพื่อการปลูกและฟื้นฟูป่าอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

จากการสำรวจในปี 2564 พบว่ามีพื้นป่าเพียง 31.59% ของพื้นที่ทั้งหมดในประเทศไทย สาเหตุหลักของการลดลงของผืนป่าเกิดจาก ไฟป่า การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการเกษตรและการลักลอบตัดไม้ นอกจากนี้พื้นป่าที่เหลืออยู่ก็อยู่ในสภาพวิกฤต สภาพอากาศที่แห้งแล้งหรือการลักลอบเผาป่าอย่างผิดกฎหมาย ทำให้เกิดไฟป่า ที่นอกจากจะทำให้ผืนป่าลดลงแล้ว การเกิดไฟป่ายังทำลายสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น ตลอดรยะเวลาที่ผ่านมาการอนุรักษ์ป่าไม้ในประเทศไทยต้องต่อสู้กับความเชื่อที่ว่า การเผาป่าจะทำให้เกิดเห็ดที่ชาวบ้านสามารถนำไปสร้างรายได้ จึงทำให้มีการแอบเผาป่าอย่างผิดกฎหมายเพื่อนำเห็ดไปขาย  การฟื้นฟูผืนป่าที่เสียหายจากการโดนเผานั้น มีความยากกว่าการฟื้นฟูป่าไม้ที่เกิดจากสาเหตุอื่น เนื่องจากจุลินทรีย์ สารอาหาร และความชื้น ในดินถูกทำลายไปด้วย

ผืนป่าที่ได้รับความเสียหายต้องได้รับการฟื้นฟู ขั้นตอนแรกที่สำคัญที่จะทำให้การฟื้นฟูผืนป่าสำเร็จนั้น คือการซ่อมแซมดิน นักวิจัยจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทดลองนำราไมคอร์ไรซา (Mycorrhiza) และจุลินทรีย์ในท้องถิ่นหลายชนิดมาผสมกับดินและพืชพื้นเมืองในพื้นที่ กลยุทธ์นี้ช่วยปลูกป่าต้นน้ำน่านและสระบุรี 3,000 ไร่ นอกจากนี้โครงการยังให้ความรู้และส่งเสริมการส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ผ่านการบรรยาย การฝึกภาคปฏิบัติ การใช้เทคโนโลยีราไมคอร์ไรซานอกจากจะช่วยในการฟื้นฟูป่าเป็นอย่างดีแล้ว ยังได้ผลพลอยได้เป็นเห็ดที่สามารถใช้เป็นอาหารและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน

ปัจจุบันโครงการราไมคอร์ไรซาในการฟื้นฟูผืนป่าได้รับการขยายเป็น 10 แห่งในประเทศไทยและ 1 แห่งในประเทศลาว โดยได้รับการสนับสนุนจาก Mushroom Initiative Limited ในฮ่องกง มูลนิธิอานันทมหิดลและกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยประสบความสำเร็จในฟื้นฟูป่าไม้ในสภาพเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้ร่วมมือกับกระทรวงกลาโหมและศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการใช้เทคโนโลยีราไมคอร์ไรซาในการฟื้นฟูผืนป่า ซึ่งสามารถช่วยลดเวลาที่จะใช้ในการปลูกป่าลงจาก 40 ปี เป็น 30 ปี

การถ่ายทอดความรู้ด้านราไมคอร์ไรซา เพื่อการปลูกป่ามีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งรวมถึงนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับหน่วยการต่างๆโครงการฝึกอบรม เช่น นวัตกรรมการเพาะราไมคอร์ไรซาในแบบจำลองธรรมชาติ จังหวัดสุรินทร์ และ การใช้ราไมคอร์ไรซาเพื่อส่งเสริมการปลูกป่าไทย ซึ่งสนับสนุนโดยมณฑลทหารบกที่ 38 และศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ภาค นอกจากนี้ ยังมีโครงปลูกป่าในพื้นที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ที่นำโดยนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนจากกิจการนิสิต ภาควิชาพฤกษศาสตร์ องค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ และมูลนิธิฟื้นฟูป่าในท้องถิ่น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูผืนป่าโดยใช้เทคโนโลยีราไมคอร์ไรซา ความพยายามเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวที่เสียหาย ลดการลักลอบเผาป่าที่ผิดกฎหมาย และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างชาวบ้านกับป่า เทคโนโลยีนี้สามารถไปปรับใช้ในการฟื้นฟูผืนป่าที่ถูกทำลายทั่วโลก

ที่มา:   คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

โครงการออกกำลังกายอย่างปลอดภัยด้วยเทรนเนอร์ส่วนบุคคลและวิทยาศาสตร์การกีฬา อาสาปันสุข (สุขภาพกาย และสุขภาพใจ)

คนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บเพิ่มสูงขึ้น โดยสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้สำรวจและเล็งเห็นแนวโน้มมาตั้งแต่ปี 2558 พบความชุกของคนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ถึงร้อยละ 30.5 ภาวะอ้วน ร้อยละ 7.5 ภาวะการสูบบุหรี่ ร้อยละ 21.3 และการดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 36.2 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุที่ขาดการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ

เข้าใจชุมชนคนรักช้าง สู่สถาปัตยกรรมเพื่อช้าง Elephant World จังหวัดสุรินทร์

ความตั้งใจให้พื้นที่เป็นศูนย์อนุรักษ์ช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นแหล่งศึกษาข้อมูลทางวิชาการ ผลักดันให้โลกของช้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวเกี่ยวกับช้างแบบครบวงจร

ธนาคารปูม้า เกาะสีชัง ต้นแบบศูนย์เรียนรู้เพิ่มทางรอดปูม้าไทยคืนสู่ท้องทะเล

เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2563 มีชาวประมงที่จับปูม้าที่ท้องนอกกระดองมาให้ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบก อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เป็นจำนวน 457 ตัว เพื่อเพาะเป็นลูกปูม้า ศูนย์สามารถดูแลปูไข่จนลูกปูม้าถึง 565,219,724 ตัว และแม้ลูกปูม้าจะมีเปอร์เซนต์รอดชีวิตที่ 40-60% ศูนย์ก็ยังสามารถเอาลูกปูม้าไปปล่อยในทะเลได้มากเกินกว่า

จังหวัดชลบุรีมั่นใจ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าเกาะสีชังอุ้มประมงชายฝั่งยั่งยืนทุกมิติ

วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ปูม้าแบบฟาร์มบนบก ช่วยเพิ่มอัตราการรอดของลูกพันธุ์ปูม้าจากการสลัดไข่ของแม่ปูม้า ซึ่งกลุ่มชาวประมงเรือเล็กหรือชาวประมงพื้นบ้านจะนำแม่ปูม้าที่มีไข่ติดกระดองมาฝากไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกเพื่อให้ไข่ฟักตัวเป็นลูกปูม้าวัยอ่อนแทนที่จะนำออกขายทันที