กรณีศึกษา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขยายกระบบการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นแนวคิดที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่เน้นทางด้านการเพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ชีวิต ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน ซึ่งแตกต่างจากเรียนในระบบทั่วไป

เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ Skooldio Limited ได้เปิดตัว Degree Plus แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่มอบโอกาสในการเรียนที่ยืดหยุ่นและมีคุณภาพสูงสำหรับบุคคลที่ต้องการเพิ่มทักษะหรือเพิ่มพูนความรู้ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แพลตฟอร์มดังกล่าวใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอเนื้อหาหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน และเชื่อมโยงผู้เรียนกับผู้สอน ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนได้ง่ายขึ้นและสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับระบบสะสมเครดิตหน่วยกิต (Credit Bank) ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนเข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม Degree Plus ได้รับการออกแบบให้เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียน อาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง เข้าถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง โดยผู้เรียนสามารถเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา มีแบบฝึกหัดเพื่อใช้ทดสอบความรู้และติดตามความคืบหน้า

ในช่วงแรก Degree Plus จะมุ่งเน้นไปที่หลักสูตรเพื่อประกาศนียบัตรระยะสั้นที่สามารถนำเครดิตไปรวมกับหลักสูตรในระดับปริญญาได้ ในอนาคตจะขยายออกไปเพื่อรวบรวมหลักสูตรออนไลน์และเวิร์กช็อปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่ครอบคลุมหัวข้อที่หลากหลาย และหัวข้อที่เป็นเรื่องสำคัญในอนาตค เช่น blockchain digital economy และ bioinformatics รวมถึงหัวข้อที่น่าสนใจอื่นๆ

นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิด CUGS Academy ซึ่งเป็นระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเปิดสอนหลักสูตรในหลายสาขา เช่น เทคโนโลยี ธุรกิจ สุขภาพจิต และการดูแลสุขภาพ โดยทั้งหมดนี้ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการในขยายระบบธนาคารเครดิต ไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการศึกษาคุณภาพสูงและสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกันมากขึ้นสำหรับแต่ละบุคคล

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะสนับสนุน ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้ทุกคนเข้าการศึกษาและมีพัฒนาความรู้อย่างอย่างต่อเนื่องตามความเหมาะสมในแต่ละช่วงของชีวิต

ที่มา:

  • บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

“มายคอร์สวิลล์” ดิจิทัลแฟลตฟอร์มใหม่ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทย

จุฬาฯ นำนวัตกรรมเยียวยาสังคมเพื่อให้การเรียนรู้ของคนไทยไม่สะดุดหยุดชะงัก แม้อยู่ในสภาวะคับขันจากมาตรการล็อกดาวน์เมืองยาวนานจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

“ผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ให้ก้าวทันอนาคต” โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย

กว่าทศวรรษที่ผ่านมา สถาบันอุดมศึกษาตระหนักถึง “การทำงานวิถีใหม่ในอนาคต” ที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ฉับไว และพลิกผันไปสู่สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนของสังคมดิจิทัล ล่าสุดในปี 2564 – 2565 ภาคการศึกษา รวมทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ดำเนินการต่อเนื่องใน “โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษา ไทย” อย่างเป็นรูปธรรม

โครงการจุฬาเวิร์ส: แพลตฟอร์มโลกเสมือนจริง เพื่อชุมชนวิถีใหม่อย่างยั่งยืน ด้วยกรณีใช้งานด้านการแพทย์ การศึกษาตลอดชีวิต และการพาณิชย์

แพลตฟอร์มจุฬาเวิร์ส ประกอบด้วยระบบสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และกรณีใช้งานในด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต การแพทย์และการพาณิชย์ ซึ่งในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ChulaVerse World (CV-World)  มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโจทย์ด้านการใช้ชีวิตและการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัย ได้มีการพัฒนาระบบการเชื่อมต่อบนมาตรฐานที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ และการพัฒนากรณีใช้งานเพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในด้านทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การบริการด้านการแพทย์รูปแบบใหม่ และการพาณิชย์ที่เชื่อมโยงกับภาคเอกชน สำหรับด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ChulaVerse Learn (CV-Learn)

การปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน – การเรียนการสอนสหวิชาชีพเสมือนจริง (ER-VIPE)

การระบาดของ COVID-19 ก่อให้เกิดความท้าทายแก่นิสิตสหสาขาวิชาชีพเนื่องจากประสบการณ์ภาคปฏิบัติที่จำกัดเพราะขาดแคลนเจ้าหน้าที่ มีระยะเวลาในการสอนน้อย และความเสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัสสูง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ทีมของเราได้พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตสหสาขาวิชาชีพสำหรับการปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน (ED)