กรณีศึกษา

การสนับสนุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องการปฏิบัติงานที่ยืดหยุ่นของบุคลากร

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้คลี่คลายลงและลดระดับความรุนแรงของโรคจนกลายเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว แต่จากการเกิดสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของทางภาครัฐ ดำเนินการปรับตัวและปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงานของบุคลากรจากรูปแบบเดิมที่กำหนดให้บุคลากรต้องเข้ามาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ตั้งของหน่วยงานภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น สู่ลักษณะของการปฏิบัติงานที่มีความยืดหยุ่น รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ (New Normal) ให้กับบุคลากร ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ได้แก่

1/

การลดวันในการให้บุคลากรสายสนับสนุนเข้ามาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ตั้งของหน่วยงานภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย โดยกำหนดจำนวนวันในการให้ทำงานจากที่พักอาศัย หรือทำงานทางไกลโดยไม่ต้องเข้ามาในสถานที่ทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงของการติดต่อและการแพร่กระจายของเชื้อโรค (รายละเอียดตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การเปิดสถานที่ทำการ การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน) [ https://www.chula.ac.th/news/57861/ ]

2/

การปฏิบัติงานในที่ตั้งโดยการเหลื่อมเวลาทำงาน และการปฏิบัติงานโดยการนับชั่วโมงการทำงาน ตามความเหมาะสมกับรูปแบบการดำรงชีวิต และลักษณะของตำแหน่งงาน โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน โดยเมื่อนับเวลาปฏิบัติงานรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รายละเอียดตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง วันเวลาปฏิบัติงานปกติและวันหยุดของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2564) [ https://clla.chula.ac.th/Chulalikit/Download?id=PT1BR1RCNHc0RFZ4dTNMaXhEMUdWUUho ]

3/

การปฏิบัติงาน สามารถจัดการประชุม การเรียนการสอน การจัดกิจกรรมบรรยาย เสวนา อภิปราย สามารถจัดได้ทั้งแบบออนไลน์ (Online) หรือ แบบผสม (Hybrid) (จัดแบบออนไลน์ (Online) ร่วมกับการจัด ณ สถานที่ตั้ง (Onsite)) ตามวัตถุประสงค์ของการจัด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน (รายละเอียดตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 พ.ศ. 2564 และ ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การเปิดสถานที่ทำการ การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน) [ https://www.chula.ac.th/news/57177/ ] [ https://www.chula.ac.th/news/57861/ ]

“จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เป็นต้นมา พบว่า การปฏิบัติงานต่าง ๆ ก็สามารถทำงานได้ตามปกติ ไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน จึงทำให้มหาวิทยาลัยยังคงประกาศใช้แนวปฏิบัติรูปแบบการปฏิบัติงานแบบยืดหยุ่นสำหรับบุคลากรของมหาวิทยาลัยอยู่ในปัจจุบัน”

สำหรับการปรับรูปแบบการปฏิบัติงานนี้ สำนักบริหารระบบกายภาพ และ สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนทางด้านโครงสร้างทางกายภาพ จัดเตรียมและสนับสนุนซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่จำเป็น รวมทั้งระบบบริการสนับสนุน ให้คำแนะนำ และช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น ระบบ e-mail จุฬาฯ, ระบบการประชุมทางไกล ZOOM,  โปรแกรม VPN,   ระบบ LessPaper    เป็นต้น เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานแบบยืดหยุ่นตามแนวปฏิบัติที่มหาวิทยาลัยประกาศให้ดำเนินการได้อย่างประสิทธิภาพ

คู่มือเครื่องมือของมหาวิทยาลัยในการปฏิบัติงาน Work from Home

ซอฟท์แวร์และระบบบริการสนับสนุนในการปฏิบัติงาน Work from Home

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีการสนับสนุนข้อมูลและส่งเสริมให้บุคลากรที่มีการปฏิบัติงานแบบผสม (Hybrid) ในรูปแบบอื่น ๆ ด้วย เช่น

คู่มือเทคนิคการนั่งทำงาน Work from Home อย่างถูกสุขลักษณะ

โครงการสวัสดิการสำหรับบุคลากรจุฬาฯ เพื่อส่งเสริม Digitalization และการทำงานแบบ Work from Home

หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศของมหาวิทยาลัยและแนวปฏิบัติการปฏิบัติงานที่ยืดหยุ่นของบุคลากร สามารถดูได้ที่เว็บไซต์และประกาศเหล่านี้

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การเปิดสถานที่ทำการ การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 พ.ศ. 2564

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง วันเวลาปฏิบัติงานปกติและวันหยุดของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2564

ที่มา

  • ศูนย์กฎหมายและนิติการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

จุฬาฯ กับรูปแบบการเดินทางอย่างยั่งยืนที่หลากหลาย: Chula Smart Mobility

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน (PMCU) ขับเคลื่อนโครงการ “สามย่านสมาร์ทซิตี้” (Samyan Smart City) ผ่าน “7 Smart” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 7 มิติ ได้แก่ Smart Environment , Smart Mobility , Smart Living, Smart Energy, Smart Economy, Smart People และ Smart Governance รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน ที่ใช้ชีวิตบนพื้นที่กว่า 1.5 พันไร่ ใจกลางกรุงเทพฯ พร้อมสร้างคุณค่าต่อยอดให้ชุมชนและสังคม

หอพักบุคลากร สวัสดิการที่เอื้อต่อการพัฒนางานของคนจุฬาฯ

ในปี พ.ศ. 2563 จุฬาฯ มีบุคลากรทั้งสิ้น 8,178 คน นโยบายการจัดสวัสดิการและบุคลากรสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งที่จุฬาฯ ใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจัดหาที่พักอาศัยภายในหรือบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยในรูปแบบหอพัก เพื่อให้บุคลากรผูกพันและมีความสุขในการทำงาน เอื้อให้สามารถพัฒนางานอย่างมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มที่

ความร่วมมือกับชุมชนเพื่อรักษาและเสริมสร้างระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์

ช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้กับท้องถิ่น เพื่อให้มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับชุมชนช่วยกันรักษาและเพิ่มพูนระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ โดยเฉพาะระบบนิเวศในภาวะเสี่ยงอันเนื่องมาจากการพัฒนาเมืองในเขตภาคกลางของประเทศไทย

CU-DSR เรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมเพื่อสังคม

การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในในทุกๆ ที่ไม่จำเป็นที่ต้องเกิดขึ้นภายในสถานศึกษาเท่านั้น สามารถเกิดขึ้นผ่านกระบวนการต่างๆ รวมถึงการเรียนรู้ผ่านการประสบการณ์การปฏิบัติ การฝึกงาน และการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ได้