ร่วมมือกับ NGOs เพื่อขับเคลื่อน SDGs ผ่านกิจกรรมการอาสาสมัครของนิสิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับเป้าหมาย SDGs ทั้งหมด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับหลายองค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร(NGOs) โดยนิสิตมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเป้าหมาย SDGs ในด้านต่างๆ โดยเข้าร่วมในโครงการอาสาสมัครต่างๆ
Chula Right Livelihood SummerSchool (CURLS)
[ https://wellbeingsummer.wordpress.com/ ]
Chula Right Livelihood (CURLS) เกิดความร่วมมือจากหลายๆองค์กร ซึ่งร่วมด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Right Livelihood College, Royal University of Bhutan และมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
CURLS มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมแนวคิดเรื่อง Right Livelihood คือการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องบนโลกใบนี้ โดยผู้เรียนจะได้ร่วมเรียนและร่วมแบ่งปันประสบการณ์ไปด้วยกัน (Co-Teaching Experience) รวมไปถึงการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิของ Right Livelihood Award, สนทนาแลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรม, ทำวิจัยเชิงปฏิบัติ, ลงพื้นที่, ทัศนศึกษา ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์และสื่อสารกันแบบไม่มีกรอบจำกัด ผ่านบทสนทนาทางปัญญาที่ให้ข้อมูลและสร้างแรงบันดาลใจและการไตร่ตรองตนเอง ซึ่งนำไปสู่แรงผลักดันในอนาคตเพื่อความยั่งยืน
Co-creating Eco-Peace (Initial) Asian Peoples’ Consultation on Global Citizenship and Food as a Commons (กิจกรรมออนไลน์: 24 มิถุนายน 2565)
[ https://wellbeingsummer.wordpress.com/2022/07/19/chula-right-livelihood-summer-school-2022/ ]
CURLS 2022 ตั้งใจที่จะเริ่มสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยงประเด็นที่มีความคล้ายคลึงกัน (Connecting the Commons (CTC) network) ในเอเชีย (ตะวันออกเฉียงใต้) (โดยเฉพาะประเด็นเรื่องอาหารที่มีความคล้ายคลึงกัน) ภายใต้กรอบของ ECO-PEACE, การรณรงค์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนโลกและความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม: การสำรวจผลกระทบของการเคลื่อนไหวของทรัพยากรร่วมในทวีปเอเชีย
พร้อมกันเราสำรวจพื้นที่ร่วมกันในการสร้าง Eco-Peace, แนวคิดพื้นฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยที่มนุษย์ต้องมีความรับผิดชอบต่อการดูแลระบบนิเวศ เพราะโลกคือดาวที่ให้กำเนิดมนุษย์ คือ “ชุมชนของชีวิต” ที่เราทุกคน รวมถึงคนรุ่นต่อไป เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องพึ่งพากันและกัน
Asian Students Environment Platform (ASEP)
โครงการ ASEP จัดขึ้นโดยข้อตกลงระหว่าง AEON Environmental Foundation และ United Nations Environment Programme (UNEP) และสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (SCBD) ด้วยโปรแกรมนี้ นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาจากประเทศในเอเชีย สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แบ่งปันมุมมองซึ่งกันและกัน และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ
นักศึกษามหาวิทยาลัยจากประเทศในเอเชียรวมตัวกันเพื่อหารือและจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อมโลกที่เกินขอบเขตของประเทศ พร้อมเรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและคุณค่าของแต่ละประเทศ จนถึงปัจจุบัน มีนักศึกษามหาวิทยาลัยทั้งหมด 591 คน จาก 10 ประเทศเข้าร่วมโครงการนี้
[ https://www.aeon.info/ef/en/biodiversity/asep/ ]
สรุป งาน ASEP 2565 (ออนไลน์)
- หัวข้อ: การสร้างสังคมรีไซเคิล
- กำหนดการ: วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2565 – วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2565
- ประเทศเจ้าภาพ: ญี่ปุ่น (ออนไลน์)
- มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม (ทั้งหมด 9 แห่ง):
Royal University of Phnom Penh (กัมพูชา), Tsinghua University (จีน), University of Indonesia (อินโดนีเซีย), Waseda University (ญี่ปุ่น), Korea University (เกาหลีใต้), University of Malaya (มาเลเซีย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ประเทศไทย), University of the Philippines (ฟิลิปปินส์), Vietnam National University Hanoi (เวียดนาม)
- ผู้เข้าร่วม: มหาวิทยาลัยและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 84 คน คัดเลือกจากมหาวิทยาลัย 9 แห่งข้างต้น (9 แห่งจากแต่ละโรงเรียน)
- ผู้จัดงาน: มูลนิธิ AEON Environmental
- มหาวิทยาลัยเจ้าภาพ: Waseda University (ญี่ปุ่น)
- ความร่วมมือ: Waseda University AEON TOWA Research Center (ญี่ปุ่น)
[ https://www.facebook.com/THAIteamtoASEP/ ]
นิสิตจุฬาฯ เข้าร่วมโครงการ UNICEF Voices of Youth
[ https://www.inter.chula.ac.th/news/13132/ ]
นิสิตจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอประสบการณ์ในการเป็นอาสาสมัครให้กับองค์การสหประชาชาติ (UN) ในโครงการ UNICEF Voices of Youth [ https://www.voicesofyouth.org/blog/thai-youth-discover-purpose-through-un-volunteerism ]
ที่มา:
- คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
SDG ที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ
โครงการออกกำลังกายอย่างปลอดภัยด้วยเทรนเนอร์ส่วนบุคคลและวิทยาศาสตร์การกีฬา อาสาปันสุข (สุขภาพกาย และสุขภาพใจ)
คนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บเพิ่มสูงขึ้น โดยสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้สำรวจและเล็งเห็นแนวโน้มมาตั้งแต่ปี 2558 พบความชุกของคนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ถึงร้อยละ 30.5 ภาวะอ้วน ร้อยละ 7.5 ภาวะการสูบบุหรี่ ร้อยละ 21.3 และการดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 36.2 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุที่ขาดการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ
ความร่วมมือจุฬาฯ กับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติในการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยของข้าราชการตำรวจ (Affordable Housing for Police Officers)
สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของข้าราชการตำรวจ อันเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อชุมชน
กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะตลอดปีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ 2565-2566
ด้วยความมุ่งมั่นให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงกิจกรรมเหล่านี้ได้ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ความทุพพลภาพ หรือเพศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดโครงการและกิจกรรมสาธารณะด้านวิชาการ การถ่ายทอดความรู้ และการฝึกอบรมสายอาชีพสำหรับประชาชนอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี หลากหลายรูปแบบ ทั้ง onsite และ Online ให้กับทั้งนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกทั่วไปที่สนใจเข้าร่วม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
CU-PIG FARMING: โรงเรียนสาธิตการเลี้ยงสุกร เปิดทางเลือกใหม่ของเกษตรกรในจังหวัดน่าน
จังหวัดน่านประสบปัญหาผลผลิตทางการเกษตรไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในจังหวัด ส่งผลให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตรจากที่อื่น โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสุกร เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทางด้านอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงริเริ่มโครงการเพื่อเพิ่มผลผลิตเนื้อสุกร เพื่อสนับสนุนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของเกษตรกรในท้องถิ่น