Strengthen the means of implementation and revitalize the global partnership for sustainable development.
เร่งสร้างองค์ความรู้ให้เพียงพอและพร้อมใช้นำมาบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเลนอกชายฝั่งอ่าวไทย โดยเฉพาะในกระบวนการวางแผนหาแนวทางที่เหมาะสม และตัดสินใจเชิงนโยบายที่เกี่ยวกับกิจกรรมการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมในอ่าวไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการ ของสหประชาชาติ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อสังคม ทั้งในระบบชุมชน ประเทศ และโลก ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้จึงได้ดำเนินการจัดทำสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง SDGs 101 : 17 เป้าหมายเปลี่ยนโลกสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยขยายการดำเนินการนโยบายด้านการบริหารจัดการขยะให้ครอบคลุมถึงร้านค้า ซึ่งเป็น Outsource ผู้ให้บริการอาหาร (food service) ในโรงอาหารส่วนกลางของมหาวิทยาลัยด้วย โดยระบุในสัญญาร้านค้า ให้ปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ด้านการจัดการขยะ โดยต้องให้ความร่วมมือกับโครงการ Chula Zero Waste ที่มีเป้าหมายในการลดการก่อขยะ ส่งเสริมการแยกขยะนำกลับไปใช้ประโยชน์ และการปลูกฝังจิตสำนึกส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัยให้แก่นิสิต คณาจารย์ บุคลากรจุฬาฯ
ชาวเล เป็น 1 ใน 56 กลุ่มชาติพันธุ์ของไทย ถือเป็นชาวน้ำที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ ระนอง กระบี่ พังงา ภูเก็ต สตูล มีวิถีพึ่งธรรมชาติ จับปลาทำประมงในท้องทะเลเพื่อยังชีพ เชี่ยวชาญการเดินเรือจากการดูทิศทางโดยอาศัยดวงดาวมานานนับร้อยปี
จำนวนเต่าทะเลในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 แม้รัฐบาลจะประกาศใช้กฎหมาย กำหนดเขตหวงห้าม ประกาศขึ้นทะเบียนเต่าทะเลในบัญชีรายชื่อของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งพันธุ์พืชป่าและสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) และพยายามสำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งอาศัยของเต่าทะเล เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการอนุรักษ์เต่าทะเลก็ตาม แต่จำนวนของเต่าทะเลในประเทศไทยยังคงลดลงจนใกล้ถึงจุดวิกฤต จากจำนวนมากกว่า 2,500 รังต่อปี เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงปีละ 300-400 รังต่อปี เท่านั้น
สถานการณ์ป่าน่านเสื่อมโทรมเป็นปฐมเหตุให้ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง และสถานีวิจัยคัดเลือกและบำรุงพันธุ์สัตว์ ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ต้องผนึกกำลังกันดำเนินกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดเพื่อวางแนวทางการพลิกฟื้นผืนป่าสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศป่าชุมชน “ไหล่น่าน”
“น่าน” มีวิสัยทัศน์ประจำจังหวัด คือ “เมืองแห่งความสุข เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ธรรมชาติสมบูรณ์ การเกษตรมั่งคั่ง ชุมชนเข้มแข็ง ท่องเที่ยวยั่งยืน” จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืนเพื่อให้เป็นเมืองที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน
การฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมโดยได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) วางเป้าหมายที่จะรักษาผืนป่าของไทยให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
“นวัตกรรมจุฬาฯ” รับใช้ชาติกู้สถานการณ์โควิด-19 ดูแลคนไทยครบทุกมิติทั้งป้องกัน (Prevent) ปกป้อง (Protect) และรักษา (Cure) ช่วยแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ทั้งยังสามารถต่อยอดขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย
ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยตลอดช่วงสองปีที่ผ่านมาทำให้เราได้เห็นศักยภาพของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยรับมือกับวิกฤติด้านสาธารณสุขระดับโลกนี้ได้ดี ทั้งความพร้อมด้านการบริหารจัดการสถานที่ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนการนำทักษะ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมล้ำสมัย เข้ามาใช้ดูแลพี่น้องประชาชนตามมาตรฐานสากลและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดตามมาตรการที่องค์การอนามัยโลกประกาศไว้
พัฒนางานเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่เชิงรุกในประเทศไทย
จุฬาฯ จัดการเสวนาในซีรีส์ SDG14 ชีวิตในน้ำ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัยทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าร่วมการเสวนา และมีผู้เข้าร่วมการเสวนาประมาณกว่า 200 คน
Necessary cookies are essential for the functioning of the website, allowing you to use and browse the site normally. You cannot disable these cookies in our website's system.
คุกกี้เหล่านี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ เช่น จำนวนผู้เข้าชม, หน้าเว็บที่ได้รับความนิยม และพฤติกรรมการท่องเว็บ ซึ่งช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์ปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ได้
คุกกี้เหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ โดยจดจำการตั้งค่าที่ผู้ใช้เคยกำหนดไว้ เช่น ชื่อผู้ใช้, ภาษา, ภูมิภาค หรือการปรับแต่งเว็บไซต์ตามความต้องการ