กรณีศึกษา

บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด

การปฏิรูปจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สู่มหาวิทยาลัยวิจัยที่ทำการสอน (Research University that Teaches) ได้ถูกขับเคลื่อนผ่านระบบนิเวศน์การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ซึ่งนอกเหนือจากการผลลัพธ์ด้านการอ้างอิงผลงาน (Citation) ในรูปแบบการตีพิมพ์เผยแพร่ (Publication) การจดสิทธิบัตร (Intellectual property) และการอนุญาตใช้สิทธิ์ (Licensing) ซึ่งดำเนินการโดยสำนักบริหารงานวิจัย และสำนักบริหารทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้จัดตั้งบริษัทจำกัด (University Holding Company) ชื่อว่า บริษัท ซี ยู เอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด (CU Enterprise) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกร  ต่อยอดงานวิจัย และส่งเสริมนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่สังคม โดยดำเนินงานร่วมกับศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) ให้คำแนะนำบ่มเพาะผู้ประกอบการ (Entrepreneurship development) ระดมทุน (Accelerate) รวมทั้งร่วมลงทุนในบริษัทสปินออฟ (University spin-offs) ที่ดำเนินงานโดยคณาจารย์และนักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันมีบริษัทสตาร์ทอัพ 354 ทีม และบริษัทสปินออฟเกิดขึ้นแล้ว จำนวน 100 บริษัท สร้างมูลค่าทางการตลาด (Market  Valuation) กว่า 22,000 ล้านบาท บริษัทสปินออฟมีการบริจาคหุ้น 10% คืนให้กับ CU Enterprise แล้ว  จำนวน 13 บริษัท แบ่งเป็นงานวิจัยและนวัตกรรมกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มอาหารและการเกษตร นอกจากนี้ยังมีการรวมตัวกันของนักวิจัยก่อตั้งชมรม Club Chula Spin-off มีสมาชิกกว่า 200 คน ให้คำแนะนำช่วยเหลือนักวิจัยรุ่นใหม่ที่จะเริ่มประกอบการธุรกิจต่อไป นอกจากนี้ได้มีการถ่ายทอดประสบการณ์บริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรมของ บริษัท CU Enterprise สู่ระดับคณะและหน่วยงาน โดยให้ทุนตั้งต้นเพื่อดำเนินการบริษัทในรูปแบบเดียวกัน ปัจจุบันมีบริษัท Holding company ระดับคณะและหน่วยงานแล้ว 10 บริษัท

กลไกการขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์นี้ เป็นต้นแบบให้กับมหาวิทยาลัยไทยในเครือข่ายอีก 11 แห่ง ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับศิษย์เก่า และภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขับเคลื่อนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติกับโจทย์วิจัยที่จะสร้างประโยชน์แก่สังคมได้จริง โดยคณาจารย์และนักวิจัยบริษัทสปินออฟ รับนิสิตเข้าทำงานและเรียนรู้โจทย์ปัญหาในบริษัท ทำให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนิสิตจะได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมแล้ว  ยังได้ฝึกการเป็นผู้ประกอบการ และบ่มเพาะลักษณะความเป็นผู้นำแห่งอนาคตอีกด้วย ด้วยประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์นี้ ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้คะแนน SDG 9 สูงขึ้นในทุกตัวชี้วัด  และได้รับการจัดอันดับสูงขึ้นจากอันดับที่  60 ในปี 2021  เป็นอันดับที่ 26 ของโลก และเป็นอันดับที่ 14 ในปีปัจจุบัน รวมทั้งศูนย์บ่มเพาะของมหาวิทยาลัย CU Innovation Hub ได้รับรางวัล Launchpads พร้อมกับบริษัท  ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ที่ได้รับรางวัล Frontiers จากงาน Asiastar 10×10 จัดโดย Alibaba Cloud ประเทศสิงคโปร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2022 นี้

ที่มา:   บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

ดูแลคุณภาพชีวิตนิสิตครบวงจรในวิกฤตโควิด-19 ด้วยนวัตกรรม Pre-vent Protect Cure

เพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นดั่งบ้านที่ปลอดภัย ของนิสิตกว่า 37,000 คน ฝ่าวิกฤตนี้ด้วยนวัตกรรมจุฬาฯ ทั้ง ป้องกัน ปกป้อง และรักษา และออกมาตรการดูแลคุณภาพชีวิตนิสิตจุฬาฯ อย่างครบวงจร

บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนับสนุนการสร้างนวัตกร นวัตกรรม ผู้ประกอบการ และธุรกิจ ในประชาคมจุฬาฯ มุ่งสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมให้มีความสมบูรณ์

จุฬาฯ ผลักดัน Future Literacy

Future literacy เป็นสาขาสหวิทยาการที่รวมแนวคิดจากอนาคต การมองการณ์ไกล การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวางแผนสถานการณ์ และการคิดเชิงออกแบบ องค์กรต้องมีผู้ความสามารถนี้เพื่อคาดการณ์และเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง และสร้างอนาคตในลักษณะเชิงรุก Future literacy เป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21

การพัฒนาพื้นที่ของจุฬาฯ อย่างยั่งยืน ฟื้นฟูสวนหลวง-สามย่าน BLOCK 33 : Residential & Wellness

โครงการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สวนหลวง-สามย่านสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะและอาคารเขียว โดยใช้แนวความคิดจากการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียว สร้างความเป็นชีวิต (Life Style) สร้างที่พักอาศัยคุณภาพ (Live Style) จนก่อเกิดพื้นที่เรียนรู้ (Learning Style) มุ่งเน้นการออกแบบก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม