กรณีศึกษา

งานบริการที่พักบุคลากร ส่งเสริมภารกิจ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

เพราะทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญในการก้าวไปด้วยกันในทศวรรษต่อไปจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงมีนโยบายให้บริการที่พักบุคลากร เพื่ออำนวยความสะดวก และเอื้อต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเหลือเรื่องการเดินทางมาปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรที่ไม่มีที่พักในกรุงเทพมหานคร หรือมีที่พักในกรุงเทพมหานครแต่ไม่สะดวกต่อการเดินทางมาปฏิบัติงาน นอกเหนือไปจากสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่ได้แก่ การเงิน/การศึกษาบุตร สุขภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของบุคลากร

จากนโยบายดังกล่าวที่เกิดขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมการสร้างเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยจึงจัดให้มีบริการหอพักบุคลากร (Providing ousing directly) 3 หอพัก ที่ประกอบด้วย “หอพักวิทยนิเวศน์” “หอพักจุฬานิวาส” และ “หอพักจุฬานิเวศน์” ที่มีข้อกำหนดการเข้าพักในรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป

หอพักบุคลากร

“หอพักวิทยนิเวศน์” เป็นอาคาร 14 ชั้น ห้องปรับอากาศ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก โดยผู้ขอเข้าพัก ต้องมีคุณสมบัติคือเป็นข้าราชการ, เป็นลูกจ้างประจำเทียบเท่าระดับ P8 ขึ้นไป, หรือ พนักงานมหาวิทยาลัยระดับ P8 ขึ้นไป (หมวดเงินอุดหนุน , หมวดเงินรายได้) โดยต้องไม่รวมพนักงานวิสาหกิจ และพนักงานวิสามัญ พร้อมข้อปฏิบัติอื่นๆ ที่ปรากฏในประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องการบริหารจัดการหอพักบุคลากร พ.ศ.2564 ทั้งยังมีหลายรูปแบบรองรับทั้งการเข้าพักเป็นครอบครัว หรือเข้าพักส่วนตัว หรือการเข้าพักระยะยาว และการเข้าพักแบบรายวันในราคาย่อมเยา

“หอพักจุฬานิวาส” เป็นอาคาร 15 ชั้น เป็นหอพักสำหรับบุคลากรตำแหน่ง คนงาน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.), นักการภารโรง และ ช่าง เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการดูแลทรัพย์สิน และการรักษาความปลอดภัย แบ่งเป็นห้องประเภทห้องพักรวม 4 คน และห้องแบบครอบครัว ไม่เกิน 6 คน โดยมีระยะเวลาสัญญา 2 ปี และมีค่าบำรุงรักษาต่อเดือนในราคาย่อมเยา นอกจากนี้ยังการส่งเสริมให้มีกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ที่ได้แก่ กิจกรรมเต้นแอโรบิค (โครงการ “ชาวจุฬา สง่างาม”) และกิจกรรมเลือกตั้งคณะทำงานประสานงานหอพักจุฬานิวาส เป็นต้น

“หอพักจุฬานิเวศน์” (อยู่ระหว่างปรับปรุง) เดิมเป็นอาคาร 4 ชั้น และเป็นหอพักสำหรับข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย มีห้องพักชนิดพัดลมพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งขนาดใหญ่แบบเข้าพักเป็นครอบครัว และขนาดเล็กสำหรับเข้าพักส่วนตัว

โดยการขอเข้าพักอาศัยในหอพักสำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยก็ได้มีการพิจารณาประเมินความสามารถในการจ่ายค่าที่อยู่อาศัย (Evaluating affordability) ของบุคลากรแต่ละบุคคล ด้วยเกณฑ์คุณสมบัติผู้เข้าพักอาศัย เหตุผลความจำเป็นของบุคลากร การจัดลำดับความสำคัญของบุคลากรผู้สมัครขอเข้าพักในหอพักของมหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงความจำเป็นในหน้าที่การงานที่มีต่อหน่วยงานที่ต้องเข้าพักอาศัยอยู่ในหอพักเป็นเกณฑ์สำคัญอย่างรอบคอบ ทั้งผู้ที่กำลังพักอาศัยอยู่และผู้ที่ประสงค์จะให้เข้าพักอาศัยใหม่

นอกจากนี้ด้วย จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ มีบุคลากรกว่า 7,000 คน จุฬาฯ จึง ยังมีนโยบายสนับสนุนบุคลากรในการหาที่อยู่ในอาศัยในราคาที่เหมาะสมกับค่าครองชีพในพื้นที่ที่จุฬาฯ จัดตั้งอยู่ ในรูปแบบอื่นด้วย เช่น

การให้ค่าตอบแทนสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายและที่พักอาศัยรายเดือนให้กับบุคลากรชาวต่างประเทศ (Providing financial support) ดังเห็นได้จาก ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง อัตราการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษและสวัสดิการเพิ่มเติม สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการชาวต่างประเทศ พ.ศ.2565 เพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้มีความรู้ ความสามารถชาวต่างประเทศมาร่วมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยและส่งเสริมความเป็นนานาติให้ก้าวทันโลกในปัจจุบัน

เงินกู้เพื่อเคหะสงเคราะห์ของมหาวิทยาลัย (Housing loan) เป็นสวัสดิการเงินกู้ให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยเพื่อเคหะสงเคราะห์ โดยคิดดอกเบี้ยต่ำและคงที่ เพื่อให้บุคคลากรนำเงินไปใช้ดำเนินการปลูกสร้างอาคาร ซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด ทดแทนอาคารเดิมที่ทรุดโทรมมาก ไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด และดัดแปลงหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยแห่งแรกของตนเองอย่างใดอย่างหนึ่ง

ที่มา:

สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

จุฬาฯ วางแนวทางแก้ปัญหาน้ำระยะยาวผ่านงานวิจัยหลากมิติ เสนอกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำยั่งยืนเพื่อชาติร่วมกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในมิติของการมุ่งแก้ปัญหาประเทศในระดับมหภาคหลายด้าน โดยการบริหารจัดการน้ำเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ  20 ปี ของประเทศไทย ที่มุ่งแก้ปัญหาแบบองค์รวมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ โดยใช้องค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการคุณภาพน้ำสร้างให้เกิดมาตรฐาน

ความร่วมมือกับชุมชนเพื่อรักษาและเสริมสร้างระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์

ช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้กับท้องถิ่น เพื่อให้มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับชุมชนช่วยกันรักษาและเพิ่มพูนระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ โดยเฉพาะระบบนิเวศในภาวะเสี่ยงอันเนื่องมาจากการพัฒนาเมืองในเขตภาคกลางของประเทศไทย

ดูแลคุณภาพชีวิตนิสิตครบวงจรในวิกฤตโควิด-19 ด้วยนวัตกรรม Pre-vent Protect Cure

เพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นดั่งบ้านที่ปลอดภัย ของนิสิตกว่า 37,000 คน ฝ่าวิกฤตนี้ด้วยนวัตกรรมจุฬาฯ ทั้ง ป้องกัน ปกป้อง และรักษา และออกมาตรการดูแลคุณภาพชีวิตนิสิตจุฬาฯ อย่างครบวงจร

การดำเนินการนโยบายด้านความยั่งยืนกับ Outsource ของจุฬาฯ

มหาวิทยาลัยขยายการดำเนินการนโยบายด้านการบริหารจัดการขยะให้ครอบคลุมถึงร้านค้า ซึ่งเป็น Outsource ผู้ให้บริการอาหาร (food service) ในโรงอาหารส่วนกลางของมหาวิทยาลัยด้วย โดยระบุในสัญญาร้านค้า ให้ปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ด้านการจัดการขยะ โดยต้องให้ความร่วมมือกับโครงการ Chula Zero Waste ที่มีเป้าหมายในการลดการก่อขยะ ส่งเสริมการแยกขยะนำกลับไปใช้ประโยชน์ และการปลูกฝังจิตสำนึกส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัยให้แก่นิสิต คณาจารย์ บุคลากรจุฬาฯ