กรณีศึกษา

ความร่วมมือจุฬาฯ กับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติในการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยของข้าราชการตำรวจ (Affordable Housing for Police Officers)

พื้นที่สามย่านสมาร์ทซิตี้ในการดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ถือเป็นพื้นที่ที่อยู่ใจกลางเมือง ทั้งพื้นที่ในส่วนการศึกษา ย่านพาณิชย์ และชุมชนโดยรอบพื้นที่ ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประชาชนจำนวนมาก ทั้งนักเรียน นิสิต บุคลากร ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้อยู่อาศัย โดยหลักในการพัฒนาพื้นที่ “สามย่านสมาร์ทซิตี้” มีวิสัยทัศน์ที่คำนึงถึงคนเป็นสำคัญ (people centric) ที่จะส่งเสริมให้เกิดเป็นย่านนวัตกรรมที่สร้างสรรค์คุณค่าแก่ชุมชนและสังคม อีกทั้งผสานพัฒนาคุณภาพชีวิตและธุรกิจ มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีวิตที่ดีของคนทุกเพศทุกวัยอย่างยั่งยืน ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่นับว่ามีส่วนสำคัญยิ่งส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของข้าราชการตำรวจ อันเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อชุมชน โดยในช่วงเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร. จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ รองอธิการบดีด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ พลตำรวจโท สำราญ นวลมา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการออกแบบก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน และกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 ณ บริเวณซอยจุฬาฯ 9 ตัดซอยจุฬาฯ 12 (หมอน 46) จากอาคารที่อยู่อาศัยเดิมที่มีสภาพเก่าและทรุดโทรม โดยออกแบบเป็นอาคาร 24 ชั้น จำนวนห้องพัก 240 ห้อง ที่สร้างให้โดยสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ https://pmcu.co.th/?p=25466 ] ซึ่งในการก่อสร้างใช้มาตรฐานการก่อสร้างอาคารตามที่กฎหมายกำหนด และมีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) ก่อนการเริ่มก่อสร้างด้วย ทั้งนี้ เมื่อสร้างแล้วเสร็จ ข้าราชการตำรวจสามารถอยู่อาศัยได้ในราคาค่าเช่าที่ไม่แพง (affordable housing) สัดส่วนเหมาะสมกับรายได้และค่าครองชีพในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ นับเป็นการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่สู่คุณภาพการดำรงชีวิตที่ดีของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน

ที่มา:

  • สำนักงานจัดการทรัพย์สิน  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย         
  • สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

จุฬาฯ หวังเพิ่มประชากรเต่าทะเล หนุนตั้งเครือข่ายคุ้มครองแหล่งวางไข่ในอ่าวไทย

จำนวนเต่าทะเลในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 แม้รัฐบาลจะประกาศใช้กฎหมาย กำหนดเขตหวงห้าม ประกาศขึ้นทะเบียนเต่าทะเลในบัญชีรายชื่อของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งพันธุ์พืชป่าและสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) และพยายามสำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งอาศัยของเต่าทะเล เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการอนุรักษ์เต่าทะเลก็ตาม แต่จำนวนของเต่าทะเลในประเทศไทยยังคงลดลงจนใกล้ถึงจุดวิกฤต จากจำนวนมากกว่า 2,500 รังต่อปี เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงปีละ 300-400 รังต่อปี เท่านั้น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการดำเนินโครงการด้านความยั่งยืนเพื่อสังคม

โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ ของคณะ สถาบันวิจัย และหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ในการดำเนินการ ซึ่งเน้นการถ่ายทอดนวัตกรรม องค์ความรู้ การบูรณาการการเรียนการสอนและการวิจัยออกสู่สังคม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของสังคมประเทศไทยสู่การพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนในระยะยาว

เรียนรู้โลกกว้างผ่านแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์จุฬาฯ เปิดชมฟรีตลอดปี

จุฬาฯ เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ผ่านการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ซึ่งมีทั้งส่วนที่อยู่ภายในกำกับของส่วนกลางมหาวิทยาลัยและอยู่ในส่วนความรับผิดชอบของหลายคณะ รวมมากถึง 23 แห่ง

ธนาคารปูม้า เกาะสีชัง ต้นแบบศูนย์เรียนรู้เพิ่มทางรอดปูม้าไทยคืนสู่ท้องทะเล

เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2563 มีชาวประมงที่จับปูม้าที่ท้องนอกกระดองมาให้ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบก อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เป็นจำนวน 457 ตัว เพื่อเพาะเป็นลูกปูม้า ศูนย์สามารถดูแลปูไข่จนลูกปูม้าถึง 565,219,724 ตัว และแม้ลูกปูม้าจะมีเปอร์เซนต์รอดชีวิตที่ 40-60% ศูนย์ก็ยังสามารถเอาลูกปูม้าไปปล่อยในทะเลได้มากเกินกว่า