กรณีศึกษา

ร่วมมือกับ NGOs เพื่อขับเคลื่อน SDGs ผ่านกิจกรรมการอาสาสมัครของนิสิต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับเป้าหมาย SDGs ทั้งหมด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับหลายองค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร(NGOs) โดยนิสิตมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเป้าหมาย SDGs ในด้านต่างๆ โดยเข้าร่วมในโครงการอาสาสมัครต่างๆ

Asian Students Environment Platform (ASEP)

โครงการ ASEP จัดขึ้นโดยข้อตกลงระหว่าง AEON Environmental Foundation และ United Nations Environment Programme (UNEP) และสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (SCBD) ด้วยโปรแกรมนี้ นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาจากประเทศในเอเชีย สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แบ่งปันมุมมองซึ่งกันและกัน และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ โดยในปี 2021 Universitas Indonesia ประเทศอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัด Asian Student Environment Platform โดยงานนี้ได้จัดเป็นเวลาสามวันและเนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 งานนี้จึงได้จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ โดยนิสิต จุฬาฯ ได้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเรียนรู้ความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและคุณค่าทางวัฒนธรรมของแต่ละประเทศพร้อมระดมสมองและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ในปีนี้มีนักศึกษา 90 คน จาก 9 ประเทศเข้าร่วมโครงการ หลังจากเข้าร่วมการฟังการบรรยาย นักศึกษาจะถูกแบ่งออกเป็นทีมที่คละประเทศ จำนวน 10 ทีมสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มุมมอง โดยจะมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เข้าไปร่วมในกลุ่ม เพื่อให้การอภิปรายลึกซึ้งยิ่งขึ้น [ http://www.sa.chula.ac.th/asian-students-environment-platform-asep-2021-indonesia-online/ ]

FOOD AS A COMMONS: บรรลุความมั่นคงด้านอาหารโดยพลังของนิสิต นักศึกษา และชุมชน

Chula Right Livelihood (CURLS) เกิดความร่วมมือจากหลายๆองค์กร ซึ่งร่วมด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Right Livelihood College, Royal University of Bhutan และมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป

CURLS มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมแนวคิดเรื่อง Right Livelihood คือการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องบนโลกใบนี้ โดยผู้เรียนจะได้ร่วมเรียนและร่วมแบ่งปันประสบการณ์ไปด้วยกัน (Co-Teaching Experience) รวมไปถึงการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิของ Right Livelihood Award, สนทนาแลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรม, ทำวิจัยเชิงปฏิบัติ, ลงพื้นที่, ทัศนศึกษา ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์และสื่อสารกันแบบไม่มีกรอบจำกัด ผ่านบทสนทนาทางปัญญาที่ให้ข้อมูลและสร้างแรงบันดาลใจและการไตร่ตรองตนเอง ซึ่งนำไปสู่แรงผลักดันในอนาคตเพื่อความยั่งยืน [ https://wellbeingsummer.wordpress.com/2021/11/22/chula-right-livelihood-summer-school-2021/ ]

CURLS 2021 ได้จัดทำโครงการ (รูปแบบออนไลน์: 19-20 ตุลาคม 2564) “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Right Livelihood Summer School: FOOD AS A COMMONS: ACHIEVING FOOD SECURITY THROUGH STUDENT ACTIVISM, FOOD CITIZENSHIP, AND COMMUNITY ENTERPRISES”.

โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนและร่วมมือ เพื่อสนับสนุนระบบอาหารที่ยั่งยืนและเป็นธรรมในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ระบบอาหารที่ยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาสิ่งและแวดล้อมและฟื้นฟูระบบนิเวศที่จะนำไปการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปสู่เศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงและบริโภคอาหารสุขภาพได้ โครงการนี้จะใช้เป็นจุดเริ่มในการเคลื่อนไหวด้านอาหารที่นำโดยนิสิตในระยะยาวและจะขยายวงกว้างให้มีผู้เข้าร่วมจากทั่วทุกมุมโลก

ที่มา:

  • คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

พิพิธภัณฑ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: แหล่งเรียนรู้โลกกว้างที่ทุกคนเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

ภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของคณะและสถาบันสำคัญที่ทั้งสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นิสิตผลิตบัณฑิตให้พร้อมออกไปรับใช้สังคมแล้ว จุฬาฯ ยังได้เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ศึกษาหาความรู้เสริมเพิ่มเติมทักษะต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างเพลิดเพลินตามอัธยาศัยในแบบสรรสาระ (Edutainment) ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

UDDC ฟื้นฟูเมือง เพื่อความยั่งยืนและสุขภาวะของประชาชน

ฟื้นฟูย่านเมืองเก่าสู่กระบวนการพัฒนาแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน สร้างการใช้ประโยชน์พื้นที่เมืองเกิดประโยชน์สูงสุดอย่างมีคุณภาพ

จุฬาฯ ชู “แสมสารโมเดล” แก้ขยะล้นทะเลไทย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย “ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์” และ“สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ” เผยผลสำเร็จ “แสมสารโมเดล” นำร่องแก้ปัญหาขยะบนบกไหลลงทะเลชลบุรี ด้วยหลัก 3Rs ลดขยะพื้นที่แสมสารได้จริงกว่าร้อยละ 30 พร้อมขยายผลความสำเร็จจากชุมชนสู่ระดับชาติ

ภารกิจฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม “บ้านก้อแซนด์บ๊อกซ์” เพิ่มประสิทธิภาพ การฟื้นฟูป่าไม้วงศ์ยางในประเทศไทย

การฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมโดยได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) วางเป้าหมายที่จะรักษาผืนป่าของไทยให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ