กรณีศึกษา

จุฬาฯ กับรูปแบบการเดินทางอย่างยั่งยืนที่หลากหลาย: Chula Smart Mobility

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน (PMCU) ขับเคลื่อนโครงการ “สามย่านสมาร์ทซิตี้” (Samyan Smart City) ผ่าน “7 Smart” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 7 มิติ ได้แก่ Smart Environment , Smart Mobility , Smart Living, Smart Energy, Smart Economy, Smart People และ Smart Governance รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน ที่ใช้ชีวิตบนพื้นที่กว่า 1.5 พันไร่ ใจกลางกรุงเทพฯ พร้อมสร้างคุณค่าต่อยอดให้ชุมชนและสังคม

พิพิธภัณฑ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: แหล่งเรียนรู้โลกกว้างที่ทุกคนเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

ภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของคณะและสถาบันสำคัญที่ทั้งสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นิสิตผลิตบัณฑิตให้พร้อมออกไปรับใช้สังคมแล้ว จุฬาฯ ยังได้เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ศึกษาหาความรู้เสริมเพิ่มเติมทักษะต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างเพลิดเพลินตามอัธยาศัยในแบบสรรสาระ (Edutainment) ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

การสนับสนุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องการปฏิบัติงานที่ยืดหยุ่นของบุคลากร

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้คลี่คลายลงและลดระดับความรุนแรงของโรคจนกลายเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว แต่จากการเกิดสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของทางภาครัฐ ดำเนินการปรับตัวและปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงานของบุคลากรจากรูปแบบเดิมที่กำหนดให้บุคลากรต้องเข้ามาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ตั้งของหน่วยงานภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น สู่ลักษณะของการปฏิบัติงานที่มีความยืดหยุ่น รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่

จุฬาฯ กับการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งใหญ่ ใน Chula Sustainability Fest 2022

ในปี 2022 ผลงานที่มีส่วนในการสร้างความยั่งยืนของจุฬาฯ จะไม่อยู่แค่ใน SDGs Report แต่ได้ออกมาสื่อสารในงาน Chula Sustainability Fest 2022 เมื่อวันที่ 2-4 กันยายน 2565 เพื่อสร้าง Commitment สื่อสารนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาฯ Connect เชื่อมโยงประชาคมจุฬาฯ และ Inspired สร้างแรงบันดาลใจให้ช่วยกันผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน

CU-PIG FARMING: โรงเรียนสาธิตการเลี้ยงสุกร เปิดทางเลือกใหม่ของเกษตรกรในจังหวัดน่าน

จังหวัดน่านประสบปัญหาผลผลิตทางการเกษตรไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในจังหวัด ส่งผลให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตรจากที่อื่น โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสุกร เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทางด้านอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงริเริ่มโครงการเพื่อเพิ่มผลผลิตเนื้อสุกร เพื่อสนับสนุนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของเกษตรกรในท้องถิ่น

เทคโนโลยีราไมคอร์ไรซาเพื่อการปลูกและฟื้นฟูป่าอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

จากการสำรวจในปี 2564 พบว่ามีพื้นป่าเพียง 31.59% ของพื้นที่ทั้งหมดในประเทศไทย สาเหตุหลักของการลดลงของผืนป่าเกิดจาก ไฟป่า การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการเกษตรและการลักลอบตัดไม้ นอกจากนี้พื้นป่าที่เหลืออยู่ก็อยู่ในสภาพวิกฤต สภาพอากาศที่แห้งแล้งหรือการลักลอบเผาป่าอย่างผิดกฎหมาย ทำให้เกิดไฟป่า ที่นอกจากจะทำให้ผืนป่าลดลงแล้ว การเกิดไฟป่ายังทำลายสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น

กล่องรอดตาย – หอผู้ป่วยเสมือน

COVID-19 เป็นโรคระบบทางเดินหายใจสามารถทำให้เกิดอาการได้หลากหลาย ตั้งแต่ไม่แสดงอาการ ไปจนถึงเสียชีวิตได้ อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ มีไข้ ไอ และอ่อนเพลีย สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากหรือเป็นโรคอื่นๆ อยู่ เช่น เบาหวาน มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขยายกระบบการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นแนวคิดที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่เน้นทางด้านการเพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ชีวิต ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน ซึ่งแตกต่างจากเรียนในระบบทั่วไป

นวัตเกษตรกร : สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผสมผสานศาสตร์และศิลป์ของเทคโนโลยีการผลิตพืชและปศุสัตว์ การแปรรูปอาหาร ความปลอดภัยของอาหาร ธุรกิจการเกษตร และระบบการจัดส่งสินค้า สอนนักเรียนให้รวมความรู้ดั้งเดิมเข้ากับการวิจัยใหม่เพื่อพัฒนาแนวคิดและเทคโนโลยีการเกษตรเชิงนวัตกรรมที่รับมือกับความท้าทายในการพัฒนาท้องถิ่น

CU-DSR เรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมเพื่อสังคม

การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในในทุกๆ ที่ไม่จำเป็นที่ต้องเกิดขึ้นภายในสถานศึกษาเท่านั้น สามารถเกิดขึ้นผ่านกระบวนการต่างๆ รวมถึงการเรียนรู้ผ่านการประสบการณ์การปฏิบัติ การฝึกงาน และการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ได้

บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด

สร้างนวัตกร ต่อยอดงานวิจัย และส่งเสริมนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่สังคม โดยดำเนินงานร่วมกับศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้คำแนะนำบ่มเพาะผู้ประกอบการ ระดมทุน รวมทั้งร่วมลงทุนในบริษัทสปินออฟ

จุฬาฯ ผลักดัน Future Literacy

Future literacy เป็นสาขาสหวิทยาการที่รวมแนวคิดจากอนาคต การมองการณ์ไกล การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวางแผนสถานการณ์ และการคิดเชิงออกแบบ องค์กรต้องมีผู้ความสามารถนี้เพื่อคาดการณ์และเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง และสร้างอนาคตในลักษณะเชิงรุก Future literacy เป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21