กรณีศึกษา

CU-PIG FARMING: โรงเรียนสาธิตการเลี้ยงสุกร เปิดทางเลือกใหม่ของเกษตรกรในจังหวัดน่าน

จังหวัดน่านประสบปัญหาผลผลิตทางการเกษตรไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในจังหวัด ส่งผลให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตรจากที่อื่น โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสุกร เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทางด้านอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงริเริ่มโครงการเพื่อเพิ่มผลผลิตเนื้อสุกร เพื่อสนับสนุนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของเกษตรกรในท้องถิ่น โครงการดังกล่าวเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเกษตรกรและหน่วยงาน สร้างเครือข่ายในการช่วยเหลือระหว่างเกษตรกรด้วยกัน รวมถึงหน่วยงานภายนอก เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการจัดการด้านอาหารของจังหวัด

โครงการเริ่มต้นด้วยศูนย์ผสมเทียมและวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตสุกร สำหรับจังหวัดน่านการผสมเทียมสุกรโดยใช้น้ำเชื้อซึ่งเป็นที่ทำกันเป็นหกติในฟาร์มสุกรขนาดใหญ่ เป็นเรื่องใหม่ยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลายในเกษตรกรรายย่อย ในปี 2547 เมื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแนะนำเทคนิคนี้ให้แก่เกษตรกร มีเกษตรกรจำนวนมากไม่เห็นด้วยเนื่องจากกังวลว่าลูกสุกรที่ออกมาจะไม่แข็งแรงรวมถึงจำนวนลูกสุกรที่เกิดขึ้นในแต่ละครอกว่าจะได้น้อยกว่าการผสมโดยใช้พ่อพันธุ์ ซึ่งในความเป็นจริงการผสมเทียมสามารถเพิ่มจำนวนลูกสุกรและลดการแพร่กระจายของโรคที่ติดต่อที่เกิดจากการผสมพันธุ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ให้ความรู้และแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ทำให้การผสมเทียมได้รับการยอมรับในหมู่เกษตรกรรายย่อยในจังหวัดน่าน

เพื่อเป็นการส่งเสริมความยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหารตามที่ระบุไว้ในแผนยุทธศาสตร์จังหวัดน่านศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CLNR) ได้จัดหาน้ำเชื้อสุกรเพื่อการผสมเทียมและจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรรายย่อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 นอกจากนี้ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดตั้งโรงเรียนสาธิตการเลี้ยงสุกรแบบผสมผสานเพื่อสอนเกษตรกรในท้องถิ่น นักเรียน และเยาวชนอื่นๆ เกี่ยวกับการเพาะพันธุ์และการจัดการสุกรในระบบสมัยใหม่ ซึ่งในโครงการนี้ เกษตรกรรายย่อยจะได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการผสมเทียมและรวมถึงการผลิตน้ำเชื้อสุกรด้วยตนเองเพื่อการผสมเทียม

ความสำเร็จของแนวคิดเหล่านี้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแนวปฏิบัติในการเพาะพันธุ์สุกรในท้องถิ่นจากการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติเป็นการผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อคุณภาพสูง ซึ่งช่วยลดการแพร่กระจายของโรคที่เกี่ยวข้องกับการผสมพันธุ์ ในปัจจุบันมีความต้องการน้ำเชื้อ 500 หลอดต่อเดือนสำหรับการผสมเทียม ศูนย์แห่งนี้ยังทำงานเพื่อพัฒนาและผลิตอาหารสัตว์โดยใช้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น โดยเฉพาะอาหารสัตว์สำหรับสุกร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเลี้ยงสัตว์อย่างยั่งยืนในระดับชุมชนที่สามารถเพิ่มรายได้ของเกษตรกรรายย่อยและเพื่อให้สอดคล้องกับแผนความยั่งยืนด้านทรัพยากรและเศรษฐกิจของจังหวัดน่าน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งโรงเรียนต้นแบบการเลี้ยงสุกรแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับชุมชนในจังหวัดน่าน โดยมีกิจกกรมการฝึกอบรมเนื้อหาทางวิชาการที่จำเป็นสำหรับผลิดและการจัดการฟาร์มสุกรที่เหมาะสม การลดต้นทุนการเลี้ยงสุกร การผลิตอาหารสุกรโดยใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่น และการฝึกอบรมภาคปฏิบัติที่โรงเรียนสาธิตการเลี้ยงสุกรแบบผสมผสาน เพื่อสร้างทางเลือกอาชีพและส่งเสริมรายได้จากการเลี้ยงสุกรให้กับชุมชน

ที่มา:   ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

Park @ Siam พื้นที่สีเขียวของจุฬาฯ ใจกลางเมืองเพื่อชุมชน

“Park @ Siam” พื้นที่สีเขียวใจกลางย่านการค้าสยามสแควร์ เป็นสวนสาธารณะแห่งเดียวในย่านการค้าที่มีชื่อเสียง ภายใต้การดูแลและบริหารจัดการโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU)

ธนาคารปูม้า เกาะสีชัง ต้นแบบศูนย์เรียนรู้เพิ่มทางรอดปูม้าไทยคืนสู่ท้องทะเลได้ถึงร้อยละ 60

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (2563) มีชาวประมงที่จับปูม้าที่ท้องนอกกระดองมาให้ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบก อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เป็นจำนวน 457 ตัว เพื่อเพาะเป็นลูกปูม้า ปรากฎว่าศูนย์สามารถดูแลปูไข่จนลูกปูม้าถึง 565,219,724 ตัว

เสวนา SDG 14 Life Below Water

จุฬาฯ จัดการเสวนาในซีรีส์ SDG14 ชีวิตในน้ำ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัยทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าร่วมการเสวนา และมีผู้เข้าร่วมการเสวนาประมาณกว่า 200 คน