กรณีศึกษา

โครงการออกกำลังกายอย่างปลอดภัยด้วยเทรนเนอร์ส่วนบุคคลและวิทยาศาสตร์การกีฬา อาสาปันสุข (สุขภาพกาย และสุขภาพใจ)

“จุฬาฯ ห่วงใยสุขภาพชุมชน ชวนออกกำลังกายง่าย ๆ ช่วงโควิด” คนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บเพิ่มสูงขึ้น โดยสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้สำรวจและเล็งเห็นแนวโน้มมาตั้งแต่ปี 2558 พบความชุกของคนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ถึงร้อยละ 30.5 ภาวะอ้วน ร้อยละ 7.5 ภาวะการสูบบุหรี่ ร้อยละ 21.3 และการดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 36.2 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุที่ขาดการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานครและพรั่งพร้อมไปด้วยสาธารณูปโภคที่เอื้อต่อการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ นอกจากจะมีสนามกีฬากลางแจ้ง โรงยิมเนเซียม สระว่ายน้ำ สนามกีฬาในร่มขนาดใหญ่ ฟิตเนส รองรับการเรียนการสอน การแข่งขันมหกรรมกีฬา กิจกรรมนันทนาการ และกิจกรรมสันทนาการหลากหลายรูปแบบที่จัดไว้อย่างเพียงพอสำหรับนิสิตและบุคลากรแล้ว ยังได้เปิดพื้นที่ให้ชุมชนรอบมหาวิทยาลัยเข้ามาร่วมใช้สาธารณูปโภคและเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้งต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาวะทั้งกายใจชักชวนให้ชุมชนในเขตปทุมวันและพื้นที่ใกล้เคียงออกกำลังกายอย่างถูกวิธีตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาผ่าน “โครงการออกกกำลังกายอย่างภัยด้วยเทรนเนอร์ส่วนบุคคล” โดยคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาจัดให้มีเทรนเนอร์ส่วนบุคคล จำนวน 3 คน เพื่อนำสอนออกกำลังกายและให้คำปรึกษาด้านโภชนาการอย่างเหมาะสมและมีสิทธิภาพให้กับประชาชนที่สนใจ จำนวน 9 คน

นอกจากนี้ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ประชาชนมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มติดเชื้อได้มากกว่ากลุ่มอื่นด้วยมีร่างกายเสื่อมถอยตามอายุ จึงมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ และต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดมากกว่า ทำให้ได้รับผลกระทบในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกาย การซื้อสิ่งของอุปโภคบริโภค รวมไปถึงความรู้สึกที่บั่นทอนสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงดำเนินโครงการวิทยาศาสตร์การกีฬา อาสาปันสุข (สุขภาพกาย และสุขภาพใจ) โดยให้นิสิตจำนวน 8 คน นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายมาแนะนำกิจกรรมการออกกำลังกายให้ผู้สูงอายุในชุมชนรอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 65 คน ผ่านรูปแบบออนไลน์ ร่วมกับการนำศิลปะและวัฒนธรรมไทยมาประยุกต์ให้เข้ากับการออกกำลังกายอย่างง่ายผ่านคลิปวิดีโอสอนออกกำลังกาย เพื่อให้ผู้สูงอายุสนุกสนานและ รู้สึกมีคุณค่า ไม่โดดเดี่ยว ในสถานการณ์ที่ต้องรักษาระยะห่างระหว่างกันตามมาตรการของรัฐบาล

ที่มา:

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

ค่ายวิศวพัฒน์ ส่งต่อองค์ความรู้การจัดการน้ำสู่ชุมชนเพื่อความยั่งยืน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 12 ภาควิชา รวมถึง ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสำรวจ และวิศวกรรมแหล่งน้ำ พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ทรงความรู้ ถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้ที่สำคัญทางการชลประทานที่พร้อมถ่ายทอดสู่นิสิต นำไปสู่การฝึกปฏิบัติจริงในการแก้ปัญหาด้านการจัดการน้ำให้กับชุมชนห่างไกล ผ่านค่ายวิศวพัฒน์ ซึ่งเป็นโครงการค่ายวิศวกรรมอาสาพัฒนาชนบทที่พร้อมปลูกฝังความเป็นผู้นำทั้งในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้แก่นิสิตจิตอาสาที่เข้าร่วมค่าย

วิชาทันตกรรมชุมชนภาคปฏิบัติ : หลักสูตรใส่ใจสุขภาพปากและฟันเพื่อเด็กไทยวันนี้

แม้ประเทศไทยจะมีอัตราการเกิดของเด็กลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนต่ำกว่า 600,000 คนต่อปี มาตั้งแต่ปี 2562 แต่ทุกวันนี้ยังคงมีประชากรวัยเด็กมากกว่า 7 ล้านคนที่ภาครัฐยังคงต้องดูแลสุขภาวะด้านต่าง ๆ จากการสำรวจสถานการณ์ฟันผุในเด็กไทยพบว่าปัจจุบัน เด็กไทยเริ่มมีฟันผุตั้งแต่อายุ 9 เดือน และยังพบเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุเฉลี่ย 3 ซี่ต่อคน

โรงเรียนสาธิตการเลี้ยงสุกร

หากจะพยายามอธิบายความหมายของคำว่าการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือคำว่าความมั่นคงทางอาหารให้กับชาวบ้านที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ก็อาจจะไม่สามารถจะเข้าใจได้เลยว่ามีความสำคัญอย่างไร จนกระทั่งได้รับมอบลูกหมูให้หนึ่งคู่

อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ป่ากลางเมือง พื้นที่สีเขียวเพื่อชุมชนที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้

พื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองบนพื้นที่กว่า 29 ไร่ ของจุฬาฯ อันเกิดขึ้นจากนโยบายการสร้างเมือง GREEN & CLEAN CITY และเพื่อเป็นการตามรอยพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในการพระราชทานที่ดินให้แก่จุฬาฯ เพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และคืนประโยชน์สู่สังคมส่วนร่วม โดยก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้เข้าใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน