กรณีศึกษา

“อาคารเขียว” กับ การพัฒนาอาคารใหม่อย่างยั่งยืนของจุฬาฯ

การพัฒนาพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงที่เป็นปัจจุบันที่มีความสำคัญในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริบทที่มีความเกี่ยวข้องกับความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (Climate change) ซึ่งมีผลมาจากกิจกรรมหรือการใช้ทรัพยากรที่เกิดขึ้นในแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาทางกายภาพภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภายในพื้นที่ กว่า 1,153 ไร่ ในการดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ส่วนอาคารเรียน และอาคารที่ใช้เพื่อการสนับสนุนด้านการเรียนการสอนในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่า 200 อาคาร การใช้อาคารดังกล่าว มีการใช้พลังงานและทรัพยากรในการใช้งานและดูแลรักษาอย่างมาก “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญของผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาพรวมของสิ่งแวดล้อมจากประเด็นดังกล่าว จึงมุ่งเน้นการบริหารจัดการและการซ่อมแซมอาคาร ส่วนประกอบของอาคาร รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในนกรอบการควบคุมดูแลตามแนวคิด อาคารเขียว (Green Building)”  อาทิเช่น การปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีความทันสมัย ประหยัดพลังงาน การเลือกใช้วัสดุที่เป็นส่วนประกอบของอาคารที่ซ่อมแซม อาทิเช่น กระจกภายนอกอาคาร ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร (Low E) รวมทั้งการเลือกใช้วัสดุอาคารที่เป็นวัสดุที่เกิดจากการผลิตจากวัสดุที่มีการนำมาใช้ใหม่ (Recycling material construction product) ซึ่งแนวทางดังกล่าวช่วยให้ เกิดการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารที่มีการปรับเปลี่ยนหรือซ่อมแซมเหล่านั้น อย่างมีนัยสำคัญ

ในขณะเดียวกัน พื้นที่พาณิชยกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การดูแลและบริหารจัดการของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน ก็เป็นอีกหนึ่งส่วนที่มีส่วนช่วยให้การพัฒนาด้านกายภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ภายใต้การพัฒนาในแนวทางของความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก โดย”โครงการการพัฒนาอาคารใหม่ในพื้นที่ภายใต้การดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน ได้ระบุกรอบนโยบายที่มีความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การควมคุมงานและการก่อสร้าง ใหอาคารที่เกิดขึ้นใหม่ ต้องมีการรับรองด้านอาคารเขียวจากหน่วยงานหรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ อาทิ เช่น สถาบันอาคารเขียว TREES เป็นต้น”

โดยผู้ควบคุมงานและผู้ออกแบบจะต้องจัดหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สามารถทำให้อาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่บรรลุข้อกำหนดในการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานในประเทศไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นขั้นต่ำ และทำการตรวจสอบประเมินให้ผ่านการประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้การรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานอาคารเขียว TREES และการรับรองจากสถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI) โดยมีการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทั้งขนาดพื้นที่ แผนการดำเนินการ วิธีการดำเนินการ บุคคลากรด้านอาคารเขียว สำรวจและประเมินตลอดช่วงการก่อสร้าง จัดทำรายงานเพื่อยื่นขอการรับรอง และรวมถึงการจัดอบรมความรู้ด้านอาคารเขียวให้กับผู้ที่จะใช้งานอาคารต่อไปอีกด้วย โดยได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว ในโครงการอาคารพาณิชยกรรมแบบผสมผสาน สยามสเคป (Siamscape) ในพื้นที่สยามสแควร์ และโครงการที่อยู่อาศัยหอพักนิสิตและบุคคลากรในพื้นที่ หมอน 33 (Block 33) และเป็นนโยบายสำคัญที่ระบุอยู่ในการพัฒนาผังแม่บทพื้นที่พาณิชยกรรม สวนหลวง-สามย่าน ผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่สนามกีฬาแห่งชาติ และพื้นที่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกด้วย

นอกจากนี้ในด้านการออกแบบอาคารต่างๆ ยังให้ความสำคัญถึงการออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานของกลุ่ม universal design ในทุกพื้นที่ โดยมหาวิทยาลัยได้ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคารที่กำหนดให้มีทางลาดหรือลิฟต์ให้กับคนพิการ รวมทั้งการมีห้องน้ำคนพิการ ระบบการนำทางในพื้นที่ภายนอกอาคารที่ได้มาตรฐาน ซึ่งทำให้การใช้งานในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมิตรกับผู้ใช้งานในทุกสถานภาพ

ที่มา:

สำนักงานจัดการทรัพย์สิน  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

การออกแบบอาคารเขียว ตามมาตรฐาน TREES กับการสร้างอาคารใหม่และการปรับปรุงอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน

ภายในพื้นที่ กว่า 1,153 ไร่ ในการดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ส่วนอาคารเรียน และอาคารที่ใช้เพื่อการสนับสนุนด้านการเรียนการสอนในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่า 200 อาคาร การใช้อาคารดังกล่าว มีการใช้พลังงานและทรัพยากรในการใช้งานและดูแลรักษาเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงให้ความสำคัญและกำหนดแนวทางในการก่อสร้างอาคารใหม่หรือการปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ โดยส่งเสริมให้มีการออกแบบอาคารที่ช่วยประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำ และมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด

สุขภาพดีถ้วนหน้า จุฬาฯ จัดให้

จุฬาฯ จัดพื้นที่ออกกำลังกายเพื่อให้กับนิสิต บุคลากรและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงพื้นที่ออกกำลังกายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามนโยบายของจุฬาฯ ที่มุ่งสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพประชาชน แก้ปัญหากิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ

จุฬาฯ กับการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งใหญ่ ใน Chula Sustainability Fest 2022

ในปี 2022 ผลงานที่มีส่วนในการสร้างความยั่งยืนของจุฬาฯ จะไม่อยู่แค่ใน SDGs Report แต่ได้ออกมาสื่อสารในงาน Chula Sustainability Fest 2022 เมื่อวันที่ 2-4 กันยายน 2565 เพื่อสร้าง Commitment สื่อสารนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาฯ Connect เชื่อมโยงประชาคมจุฬาฯ และ Inspired สร้างแรงบันดาลใจให้ช่วยกันผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน

การดำเนินการเรื่องการเข้าถึงบริการดูแลสุขภาพทางกายและสุขภาพจิตที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในปัจจุบันการการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมทางการศึกษา ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย ได้ดำเนินมาตรการที่ครอบคลุมเพื่อให้บริการด้านสุขภาพกายและการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตแก่บุคลากรและนิสิตของมหาวิทยาลัย