เนินชะลอความเร็ว (Speed Hump) การสร้างพื้นที่เพื่อส่งเสริมการเดินเท้าในมหาวิทยาลัย
พื้นที่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ที่มีความร่มรื่น และการเดินทางไปยังอาคารต่างๆ ก็สามารถทำได้โดยไม่ลำบาก มหาวิทยาลัยจึงสนับสนุนการเดินเท้าในมหาวิทยาลัย สำหรับนิสิต อาจารย์ บุคลากร และบุคคลทั่วไปที่เข้ามาสัญจรในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกจากการจัดสร้าง CU Covered Walkways ทางเชื่อมสำหรับคนที่ไม่รีบหรือชอบเดินภายในจุฬาฯ เป็นทางเดินมีหลังคาที่เชื่อมโยงอาคารเรียนทั่วมหาวิทยาลัย เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับทุกคนที่ต้องการเดินทางไปยังสถานที่ใกล้เคียงด้วยการเดิน ลดจำนวนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ภายในมหาวิทยาลัยที่เป็นสาเหตุของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และยังส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีของนิสิต บุคลากรและบุคคลทั่วไปผ่านการออกกำลังกายด้วยการเดิน พร้อมปกป้องผู้ที่เดินเท้าจากฝนและแสงแดดที่รุนแรงโดยรอบพื้นที่มหาวิทยาลัย และอุโมงค์ลอดใต้ถนนสำหรับใช้เดินข้ามไปยังพื้นที่อีกฝั่งของมหาวิทยาลัย [ https://www.thaipbs.or.th/news/content/311964 ] ให้ทุกคนสามารถเดินได้โดยสะดวกและปลอดภัยแล้ว มหาวิทยาลัยยังมีการออกแบบและจัดทำ และเนินชะลอความเร็วขึ้นในจุดทางข้าม ผสมผสานเข้ากับการทำเป็นทางม้าลาย ในหลายจุดทั่วทั้งมหาวิทยาลัย
โดยการจัดทำเนินชะลอความเร็ว มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์เป็นทางข้ามให้กับทุกคนที่ต้องเดินสัญจรไปมาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย และยิ่งโดยเฉพาะสำหรับผู้พิการที่ต้องใช้รถเข็น เนื่องจากมีความต่างระดับระหว่างทางเท้าและถนน ทำให้ผู้พิการที่ใช้รถเข็นไม่สามารถใช้เป็นทางข้ามได้ ในการจัดทำเนินชะลอความเร็วจะจัดทำให้มีระดับเท่ากับระดับทางเท้าทั้งสองฝั่ง เพื่อใช้ในการสัญจรที่ต่อเนื่องของผู้พิการ โดยในการจัดทำจะคำนึงถึงจุดที่เหมาะสม เช่น ระยะที่ปลอดภัยในการติดตั้ง จุดที่เหมาะสมของทางข้ามคนเดินเท้า และเส้นทางการสัญจรของผู้พิการ โดยมหาวิทยาลัยได้มีการศึกษาเส้นทางการสัญจรของผู้พิการให้สามารถสัญจรที่ต่อเนื่องได้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) และส่งเสริมการเดินเท้าให้กับทุกคนที่ต้องเข้ามาเดินผ่าน หรือเข้ามาเดินภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ให้เดินได้อย่างสะดวกและปลอดภัย รวมทั้งจะสามารถใช้เป็นทางข้ามกรณีที่มีนำท่วมขังบริเวณถนนภายในมหาวิทยาลัยได้
นอกจากนี้ เนินชะลอความเร็ว จะเป็นตัวช่วยจำกัดความเร็วยานพาหนะภายในมหาวิทยาลัย ไม่ให้ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนด เพื่อความปลอดภัยต่อ นิสิต บุคลากร และบุคคลภายนอกที่เข้ามาเดินภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย รวมถึงตัวผู้ใช้ยานพาหนะเอง ซึ่งในปัจจุบันภายในมหาวิทยาลัยมีการใช้ยานพาหนะที่หลากหลาย เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ จักรยาน Scooter รวมถึงรถสาธารณะต่างๆ เช่น รถโดยสารภายในมหาวิทยาลัย รถสามล้อไฟฟ้า (MuvMi) โดยการจำกัดความเร็วจะสามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ และความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย


ที่มา:
สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อื่นๆ
นิสิตกับการบริหารงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับนิสิตในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นให้นิสิตมีบทบาทในการดูแลสิทธิและความเป็นอยู่ของตนเอง เพื่อให้เสียงของนิสิตได้รับการรับฟังและสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจึงเปิดโอกาสให้นิสิตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิสิตโดยตรง
คณะทำงานด้านความยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านหนึ่งของมหาวิทยาลัย คือ ยุทธศาสตร์ Impactful Growth และมีการสื่อสารถ่ายทอดยุทธศาสตร์นี้ลงไปยังหน่วยงานระดับต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งการกำหนดให้เป็นหนึ่งใน OKR หลักของมหาวิทยาลัยด้วย
คณะทำงานบริหารดูแลด้านความเท่าเทียม ความหลากหลาย และการอยู่ร่วมกันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งบริหารงานโดยยึดหลักความเท่าเทียม เคารพสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค การอยู่ร่วมกัน และความหลากหลายของบุคคลทุกคนในทุกมิติ โดยไม่เลือกปฏิบัติหรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ที่สมควรได้รับโดยชอบ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมต่อเชื้อชาติ สัญชาติ สีผิว ภาษา ศาสนา เพศตามกำเนิดและเพศสภาพ อายุ สถานภาพการสมรส สภาวะหรือความพร้อมทางร่างกาย ความทุพพลภาพ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นความแตกต่างเฉพาะบุคคล
จุฬาฯ กับรูปแบบการเดินทางอย่างยั่งยืนที่หลากหลาย: Chula Smart Mobility
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน (PMCU) ขับเคลื่อนโครงการ “สามย่านสมาร์ทซิตี้” (Samyan Smart City) ผ่าน “7 Smart” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 7 มิติ ได้แก่ Smart Environment , Smart Mobility , Smart Living, Smart Energy, Smart Economy, Smart People และ Smart Governance รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน ที่ใช้ชีวิตบนพื้นที่กว่า 1.5 พันไร่ ใจกลางกรุงเทพฯ พร้อมสร้างคุณค่าต่อยอดให้ชุมชนและสังคม