กรณีศึกษา

การจัดซื้อของจุฬาฯ กับเรื่องของความอย่างยั่งยืน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีการใช้วัสดุสำนักงานและวัสดุสิ้นเปลืองจำนวนมาก การจัดหาวัสดุดังกล่าว ดำเนินการภายใต้นโยบายการให้ความสำคัญต่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายสำคัญด้านมหาวิทยาลัยสีเขียวที่มีการรณรงค์และสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญมาโดยตลอด ทั้งในประชาคมชาวจุฬาฯ ชุมชนโดยรอบ พื้นที่ต่อเนื่องและสาธารณะ

ทั้งยังมีนโยบายในการลดการใช้พลังงาน เน้นกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดขยะและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ในการนี้ มหาวิทยาลัยได้นำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติให้เห็นจริง โดยคำนึงถึงในทุกขั้นตอนตั้งแต่ผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน ต้องมีการประสานกับฝ่ายการพัสดุของมหาวิทยาลัยในการสรรหาและการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ จากผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย ที่ผลิตหรือจำหน่ายสินค้าได้สอดคล้องกับความต้องการ เช่น การเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศภายในมหาวิทยาลัยที่เป็นเครื่องปรับอากาศที่เคยใช้น้ำยาที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) มาเป็นเครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยาที่ไม่ส่งผลต่อการเกิดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) และยังช่วยในการประหยัดไฟฟ้าในการใช้งานในแต่ละครั้งได้ดีกว่าเครื่องปรับอากาศในแบบเดิม

รวมทั้งการเปลี่ยนหลอดไฟส่องสว่างเป็นหลอดประหยัดไฟ ที่มีส่วนประกอบของหลอดไฟซึ่งทำมาจากวัสดุรีไซเคิล โดยหลอดไฟส่องสว่างจะมีความสามารถในการช่วยประหยัดพลังงาน และเมื่อหลอดไฟหมดอายุในการใช้งาน วัสดุในการทำหลอดไฟดังกล่าวจะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ช่วยลดขยะเมื่อหลอดไฟหมดอายุการใช้งาน

วัสดุสำนักงาน โต๊ะ เก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์ สุขภัณฑ์ ไปจนกระทั่งกระดาษชำระ ทางจุฬาลงกรณ์มหาลัยจะเน้นให้ใช้วัสดุที่เป็นธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือวัสดุรีไซเคิลที่ไม่ก่อให้เกิดขยะหลังจากการหมดอายุการใช้งาน หรือเมื่อทิ้งแล้วจะยังสามารถนำบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น วัสดุที่ทำจากโลหะ เหล็ก อลูมิเนียม กระจก หรือไม้ ที่สามารถย่อยสลายและนำกลับมาใช้ได้มากกว่า ร้อยละ 50

โดยสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มหาวิทยาลัยเลือกซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย (Supplier/Supply chain) ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าและบริการที่ขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองฉลากเขียว หรือ ตระกร้าเขียว ตามบัญชีรายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของกรมมลพิษ [https://gp.pcd.go.th/] [https://www.pcd.go.th/publication/31806/]

ที่มา: 

สำนักบริหารการเงิน การบัญชี และการพัสดุ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานจัดการทรัพย์สิน  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

จุฬาฯ ผลักดัน Future Literacy

Future literacy เป็นสาขาสหวิทยาการที่รวมแนวคิดจากอนาคต การมองการณ์ไกล การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวางแผนสถานการณ์ และการคิดเชิงออกแบบ องค์กรต้องมีผู้ความสามารถนี้เพื่อคาดการณ์และเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง และสร้างอนาคตในลักษณะเชิงรุก Future literacy เป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21

การดำเนินการนโยบายด้านความยั่งยืนกับ Outsource ของจุฬาฯ

จากการดำเนินงานตามนโยบายด้านการจัดการขยะและขยะอันตราย และ มาตรการลดขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง มหาวิทยาลัยขยายการดำเนินการนโยบายด้านการบริหารจัดการขยะให้ครอบคลุมถึงร้านค้า ซึ่งเป็น Outsource ผู้ให้บริการอาหารโดยระบุในสัญญาร้านค้า ให้ปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ด้านการจัดการขยะ โดยต้องให้ความร่วมมือกับโครงการ Chula Zero Waste ที่มีเป้าหมายในการลดการก่อขยะ ส่งเสริมการแยกขยะนำกลับไปใช้ประโยชน์ และการปลูกฝังจิตสำนึกส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัยให้แก่นิสิต คณาจารย์ บุคลากรจุฬาฯ

จุฬาฯ กับหลากหลายรูปแบบการเดินทางที่ยังยืน (Chula Smart Mobility)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน (PMCU) ขับเคลื่อนโครงการ “สามย่านสมาร์ทซิตี้” (Samyan Smart City) ผ่าน “7 Smart” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 7มิติ ได้แก่ Smart Environment , Smart Mobility , Smart Living, Smart Energy, Smart Economy, Smart People และ Smart Governance รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน

ศูนย์บริการสุขภาพจุฬาฯ ปลุกวัยรุ่นใส่ใจเซ็กส์วัยเรียน ชวนปรึกษา คลินิกสูตินรีเวช แก้ปัญหาเพศสัมพันธ์

ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิด Safety Love – Safety Sex Clinic ให้คำปรึกษาด้านสูตินรีเวชและเพศสัมพันธ์แก่นิสิตและบุคลากรจุฬาฯ หวังแก้ปัญหาสุขภาวะทางเพศ (Sexual Well-being)