กรณีศึกษา

“MindSpace” แพลตฟอร์มออนไลน์ใหม่แก้ปัญหาสุขภาพจิตนิสิต

ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนิสิตทุกระดับที่กำลังศึกษาอยู่ ราว 37,000 คน นิสิตจำเป็นต้องเรียนออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และได้รับผลกระทบในหลายมิติโดยเฉพาะด้านสภาพจิตใจ Chula Student Wellness Center จึงสำรวจภาวะสุขภาพจิตของนิสิตในปีการศึกษาล่าสุด พบว่า ร้อยละ 15 ของนิสิตทั้งหมดหรือประมาณ 5,550 คน ต้องการความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ ประกอบกับมีข้อมูลสถิตินิสิตที่ขอนัดหมายเข้ามารับบริการขอคำปรึกษาในปีการศึกษา 2563 พบว่ามีนิสิตที่มีความชัดเจนคิดฆ่าตัวตายในปริมาณที่สูงขึ้นกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดถึง 2 เท่า นอกจากนี้ ยังพบว่านิสิตจุฬาฯ มากถึงร้อยละ 30 หรือประมาณ 11,100 คน ต่างต้องการการดูแลประคับประคองจิตใจในเบื้องต้นและยังต้องการรับการพัฒนาภูมิคุ้มกันทางจิตใจ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนมีต้นเหตุมาจากความเครียดที่เกิดกับนิสิตในช่วงโควิด-19 และทวีความรุนแรงขึ้นจนเป็นเหตุให้นิสิตฆ่าตัวตายสำเร็จ มากถึง 7 ราย ในปีการศึกษาที่ผ่านมา

หน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต (Chula Student Wellness Center) จึงจำเป็นต้องแสวงหาแนวทางดูแลนิสิตอย่างเข้าถึงตัวบุคคลให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นแม้จะต้องประสบปัญหาเรื่อง Social Distancing ที่นิสิตจำนวนมากต่างต้องเรียนออนไลน์จากบ้านในต่างจังหวัดเข้ามาเป็นอุปสรรคให้การบริการของนักวิชาชีพในรูปแบบเดิมสามารถเข้าถึงนิสิตได้เพียงร้อยละ 1 จากจำนวนนิสิตทั้งหมดที่ขอรับบริการเข้ามาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ Chula Student Wellness Center จึงแก้โจทย์ใหญ่โดยพัฒนา New Online Platform ชื่อว่า “MindSpace” ขึ้นมา 

“MindSpace” เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างเข้าใจทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ โดยรวบรวมบริการด้านสุขภาวะทั้งหมดที่ Chula Student Wellness Center มีไว้ในรูปแบบออนไลน์ ทั้งบริการที่เป็น Prevention Promotion ได้แก่ การสำรวจและประเมินจิตใจด้วยฟีเจอร์ “Mind Test” และ “Mind Tracking”, การพัฒนาและการเรียนรู้ดูแลจิตใจด้วยตนเองแบบเบื้องต้นด้วยฟีเจอร์ “Mind Support” การเรียนรู้หลักสูตรด้านจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาตนเองร่วมกับเพื่อนทางออนไลน์ ด้วยฟีเจอร์ “Mind Workshop”

นอกจากนี้ยังมีบริการด้านการดูแลรักษาแบบ Problem Solving and Healing ที่ศูนย์ได้พัฒนาบริการขึ้นใหม่ให้ตอบโจทย์ความต้องการของนิสิตทั้งในเรื่องรูปแบบ ช่วงเวลารับบริการที่ตรงกับวิถีชีวิตของนิสิตยิ่งขึ้น ผ่านฟีเจอร์ “Mind Counseling”, “Mind Talk”, “Mind Hotline” และ “Mind Medicine” ช่วยให้นิสิตสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือรับคำปรึกษาทางจิตใจได้ทุกที่ทุกเวลา

นับตั้งแต่เริ่มเปิดให้ใช้งาน MindSpace ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นมา มีนิสิตลงทะเบียนเข้าใช้งานบนระบบแล้วทั้งสิ้นกว่า 8,400 คน ในจำนวนนี้มีคนทั้งผู้ที่เข้ามาเพื่อค้นหาแนวทางพัฒนาตนเองและติดต่อขอรับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยากับนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ จึงทำให้พบนิสิตที่มีความคิดฆ่าตัวตาย มากถึง 499 คน นำมาสู่แนวทางการดูแล เยียวยาอย่างแม่นยำ ระงับยับยั้งไม่ให้เกิดการฆ่าตัวตายสำเร็จ ปัจจุบัน ยังไม่พบนิสิตที่เข้าสู่ระบบความช่วยเหลือนี้ของมหาวิทยาลัยที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ และยังทำให้มหาวิทยาลัยเข้าถึงแหล่งข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนากระบวนการให้บริการใหม่ให้กับนิสิตได้อย่างเหมาสม และยังสามารถใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์แบบ real time ดูแลประคับประคองนิสิตที่มีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่า 1,000 คน ให้ยังสามารถเรียนอยู่ได้ในมหาวิทยาลัยต่อไปได้

ที่มา:   หน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

ดูแลคุณภาพชีวิตนิสิตครบวงจรในวิกฤตโควิด-19 ด้วยนวัตกรรม Pre-vent Protect Cure

เพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นดั่งบ้านที่ปลอดภัย ของนิสิตกว่า 37,000 คน ฝ่าวิกฤตนี้ด้วยนวัตกรรมจุฬาฯ ทั้ง ป้องกัน ปกป้อง และรักษา และออกมาตรการดูแลคุณภาพชีวิตนิสิตจุฬาฯ อย่างครบวงจร

การสนับสนุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องการปฏิบัติงานที่ยืดหยุ่นของบุคลากร

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้คลี่คลายลงและลดระดับความรุนแรงของโรคจนกลายเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว แต่จากการเกิดสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของทางภาครัฐ ดำเนินการปรับตัวและปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงานของบุคลากรจากรูปแบบเดิมที่กำหนดให้บุคลากรต้องเข้ามาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ตั้งของหน่วยงานภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น สู่ลักษณะของการปฏิบัติงานที่มีความยืดหยุ่น รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่

บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด

สร้างนวัตกร ต่อยอดงานวิจัย และส่งเสริมนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่สังคม โดยดำเนินงานร่วมกับศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้คำแนะนำบ่มเพาะผู้ประกอบการ ระดมทุน รวมทั้งร่วมลงทุนในบริษัทสปินออฟ

จุฬาฯ ผลักดัน Future Literacy

Future literacy เป็นสาขาสหวิทยาการที่รวมแนวคิดจากอนาคต การมองการณ์ไกล การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวางแผนสถานการณ์ และการคิดเชิงออกแบบ องค์กรต้องมีผู้ความสามารถนี้เพื่อคาดการณ์และเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง และสร้างอนาคตในลักษณะเชิงรุก Future literacy เป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21