กรณีศึกษา

“อาคารเขียว” กับ การพัฒนาอาคารใหม่อย่างยั่งยืนของจุฬาฯ

การพัฒนาพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงที่เป็นปัจจุบันที่มีความสำคัญในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริบทที่มีความเกี่ยวข้องกับความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (Climate change) ซึ่งมีผลมาจากกิจกรรมหรือการใช้ทรัพยากรที่เกิดขึ้นในแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาทางกายภาพภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภายในพื้นที่ กว่า 1,153 ไร่ ในการดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ส่วนอาคารเรียน และอาคารที่ใช้เพื่อการสนับสนุนด้านการเรียนการสอนในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่า 200 อาคาร การใช้อาคารดังกล่าว มีการใช้พลังงานและทรัพยากรในการใช้งานและดูแลรักษาอย่างมาก “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญของผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาพรวมของสิ่งแวดล้อมจากประเด็นดังกล่าว จึงมุ่งเน้นการบริหารจัดการและการซ่อมแซมอาคาร ส่วนประกอบของอาคาร รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในนกรอบการควบคุมดูแลตามแนวคิด อาคารเขียว (Green Building)”  อาทิเช่น การปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีความทันสมัย ประหยัดพลังงาน การเลือกใช้วัสดุที่เป็นส่วนประกอบของอาคารที่ซ่อมแซม อาทิเช่น กระจกภายนอกอาคาร ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร (Low E) รวมทั้งการเลือกใช้วัสดุอาคารที่เป็นวัสดุที่เกิดจากการผลิตจากวัสดุที่มีการนำมาใช้ใหม่ (Recycling material construction product) ซึ่งแนวทางดังกล่าวช่วยให้ เกิดการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารที่มีการปรับเปลี่ยนหรือซ่อมแซมเหล่านั้น อย่างมีนัยสำคัญ

ในขณะเดียวกัน พื้นที่พาณิชยกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การดูแลและบริหารจัดการของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน ก็เป็นอีกหนึ่งส่วนที่มีส่วนช่วยให้การพัฒนาด้านกายภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ภายใต้การพัฒนาในแนวทางของความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก โดย”โครงการการพัฒนาอาคารใหม่ในพื้นที่ภายใต้การดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน ได้ระบุกรอบนโยบายที่มีความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การควมคุมงานและการก่อสร้าง ใหอาคารที่เกิดขึ้นใหม่ ต้องมีการรับรองด้านอาคารเขียวจากหน่วยงานหรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ อาทิ เช่น สถาบันอาคารเขียว TREES เป็นต้น”

โดยผู้ควบคุมงานและผู้ออกแบบจะต้องจัดหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สามารถทำให้อาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่บรรลุข้อกำหนดในการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานในประเทศไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นขั้นต่ำ และทำการตรวจสอบประเมินให้ผ่านการประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้การรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานอาคารเขียว TREES และการรับรองจากสถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI) โดยมีการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทั้งขนาดพื้นที่ แผนการดำเนินการ วิธีการดำเนินการ บุคคลากรด้านอาคารเขียว สำรวจและประเมินตลอดช่วงการก่อสร้าง จัดทำรายงานเพื่อยื่นขอการรับรอง และรวมถึงการจัดอบรมความรู้ด้านอาคารเขียวให้กับผู้ที่จะใช้งานอาคารต่อไปอีกด้วย โดยได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว ในโครงการอาคารพาณิชยกรรมแบบผสมผสาน สยามสเคป (Siamscape) ในพื้นที่สยามสแควร์ และโครงการที่อยู่อาศัยหอพักนิสิตและบุคคลากรในพื้นที่ หมอน 33 (Block 33) และเป็นนโยบายสำคัญที่ระบุอยู่ในการพัฒนาผังแม่บทพื้นที่พาณิชยกรรม สวนหลวง-สามย่าน ผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่สนามกีฬาแห่งชาติ และพื้นที่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกด้วย

นอกจากนี้ในด้านการออกแบบอาคารต่างๆ ยังให้ความสำคัญถึงการออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานของกลุ่ม universal design ในทุกพื้นที่ โดยมหาวิทยาลัยได้ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคารที่กำหนดให้มีทางลาดหรือลิฟต์ให้กับคนพิการ รวมทั้งการมีห้องน้ำคนพิการ ระบบการนำทางในพื้นที่ภายนอกอาคารที่ได้มาตรฐาน ซึ่งทำให้การใช้งานในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมิตรกับผู้ใช้งานในทุกสถานภาพ

ที่มา:

สำนักงานจัดการทรัพย์สิน  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

“MindSpace” แพลตฟอร์มออนไลน์ใหม่แก้ปัญหาสุขภาพจิตนิสิต

ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนิสิตทุกระดับที่กำลังศึกษาอยู่ ราว 37,000 คน นิสิตจำเป็นต้องเรียนออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และได้รับผลกระทบในหลายมิติโดยเฉพาะด้านสภาพจิตใจ Chula Student Wellness Center จึงสำรวจภาวะสุขภาพจิตของนิสิตในปีการศึกษาล่าสุด พบว่า ร้อยละ 15 ของนิสิตทั้งหมดหรือประมาณ 5,550 คน ต้องการความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาและจิตแพทย์

การพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มประโยชน์: การปรับปรุงพื้นที่ Gewertz Square เพื่อก่อสร้างเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการด้าน Smart Living Solutions”

ตึกเกเวอร์ต (Gewertz) เป็นอาคารเก่าแก่ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน ด้วยระยะเวลาอันยาวนานของการใช้งาน อาคารทั้งสามหลังจึงมีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รวมทั้งพื้นที่โดยรอบก็อาจมีการสะสมปนเปื้อนของสารเคมีและโลหะเสียจากการทดลองและฝึกปฏิบัติของนิสิตที่มีมาอย่างยาวนานด้วย

งานบริการที่พักนิสิต อำนวยความสะดวกเพื่อการเรียนรู้ คู่การสร้างพลเมืองที่ดี

หนึ่งในงานบริการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สร้างหอพักสำหรับนิสิต เพื่อเป็นที่พักอาศัยอำนวยความสะดวกสบายเพื่อไม่ต้องเดินทางไกลสำหรับนิสิตผู้ที่มีความจำเป็นเพื่อเป็นที่พักอาศัย ตามวิสัยทัศน์ “เพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และผาสุก”

การพัฒนาพื้นที่ของจุฬาฯ อย่างยั่งยืน ฟื้นฟูสวนหลวง-สามย่าน BLOCK 33 : Residential & Wellness

โครงการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สวนหลวง-สามย่านสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะและอาคารเขียว โดยใช้แนวความคิดจากการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียว สร้างความเป็นชีวิต (Life Style) สร้างที่พักอาศัยคุณภาพ (Live Style) จนก่อเกิดพื้นที่เรียนรู้ (Learning Style) มุ่งเน้นการออกแบบก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม