ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืน การจ้างงานที่มีคุณค่า

Promote sustained, inclusive and sustainable economic growth, full and productive employment and decent work for all.

กรณีศึกษา / กฎและข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง

คณะทำงานด้านความยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านหนึ่งของมหาวิทยาลัย คือ ยุทธศาสตร์ Impactful Growth และมีการสื่อสารถ่ายทอดยุทธศาสตร์นี้ลงไปยังหน่วยงานระดับต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งการกำหนดให้เป็นหนึ่งใน OKR หลักของมหาวิทยาลัยด้วย

คณะทำงานบริหารดูแลด้านความเท่าเทียม ความหลากหลาย และการอยู่ร่วมกันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งบริหารงานโดยยึดหลักความเท่าเทียม เคารพสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค การอยู่ร่วมกัน และความหลากหลายของบุคคลทุกคนในทุกมิติ โดยไม่เลือกปฏิบัติหรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ที่สมควรได้รับโดยชอบ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมต่อเชื้อชาติ สัญชาติ สีผิว ภาษา ศาสนา เพศตามกำเนิดและเพศสภาพ อายุ สถานภาพการสมรส สภาวะหรือความพร้อมทางร่างกาย ความทุพพลภาพ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นความแตกต่างเฉพาะบุคคล

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการสนับสนุน ดูแล และให้บริการกับกลุ่มบุคคลผู้พิการ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมและการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของทุกคน รวมถึงกลุ่มผู้พิการที่ต้องการการสนับสนุนในรูปแบบเฉพาะ เพื่อให้สามารถเรียนรู้และใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มศักยภาพ

สผ. ร่วมกับ GIZ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หารือผู้เชี่ยวชาญในประเด็นความเสี่ยงของพืชเศรษฐกิจหลัก และข้อเสนอเชิงนโยบาย ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตรของประเทศไทย

เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อผลการวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงจากปัจจัยคุกคามทางสภาพอากาศต่อการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลักในแต่ละพื้นที่ย่อย โดยมีผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนจากสถาบันการศึกษา และภาครัฐ เข้าร่วมการประชุม

หลากหลายกิจกรรมการศึกษาเพื่อสร้างความยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดสู่ชุมชนและสังคม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นใช้องค์ความรู้ที่มีหลากหลายศาสตร์ในการพัฒนาชุมชนและสังคมให้ดีขึ้น การดำเนินการด้านหนึ่งของมหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมด้านการศึกษาให้กับสังคมในวงกว้างทั้งกับกลุ่มศิษย์เก่า ประชาชนทั่วไป ผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น ผู้พลัดถิ่นเพื่อให้ส่งเสริมให้คนทุกกลุ่มมีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถเป็นกำลังคนที่มาช่วยในการพัฒนาชุมชนและสังคมต่อไปได้ รวมทั้งเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วย

หลักสูตรความรู้และการจัดกิจกรรมรณรงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในเรื่องของผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน ทั้งในแง่ของการเกิดพิบัติภัยจากสภาพอากาศที่รุนแรงโดยตรง และภัยพิบัติอื่น ๆ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ประชาคมโลกได้ทุ่มเทความพยายามอย่างมากในการแก้ไข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้

การพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มประโยชน์: การปรับปรุงพื้นที่ Gewertz Square เพื่อก่อสร้างเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการด้าน Smart Living Solutions”

ตึกเกเวอร์ต (Gewertz) เป็นอาคารเก่าแก่ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน ด้วยระยะเวลาอันยาวนานของการใช้งาน อาคารทั้งสามหลังจึงมีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รวมทั้งพื้นที่โดยรอบก็อาจมีการสะสมปนเปื้อนของสารเคมีและโลหะเสียจากการทดลองและฝึกปฏิบัติของนิสิตที่มีมาอย่างยาวนานด้วย

การส่งเสริมการทำงานทางไกลให้กับบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่งเสริมรูปแบบการทำงานทางไกลหรือการปฏิบัติงานจากระยะไกล เป็นตัวเลือกสำหรับบุคลากร ซึ่งเป็นแนวทางในการทำงานจากสถานที่ใดก็ได้ที่อยู่นอกสำนักงาน การทำงานทางไกลเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประจำวันให้กับบุคลากร และช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ เนื่องจากบุคลากรไม่จำเป็นต้องเดินทางออกไปทำงานเนื่องจากเปลี่ยนมาใช้การประชุมผ่านการประชุมทางวิดีโอ

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล: เปิดตัวหลักสูตรรูปแบบใหม่ มุ่งเน้นปฏิบัติงานจริง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดหลักสูตรใหม่ “สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT)” ในปีการศึกษา 2566 ที่เปิดรับนิสิตมากถึง 300 คนต่อปี เพื่อผลิตบัณฑิตมาเติมเต็มในตลาดแรงงานที่ยังคงขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลเป็นจำนวนมาก อีกทั้งหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตร Higher education sandbox ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน และเพิ่มทักษะในการลงมือปฏิบัติงานจริงแก่นิสิตจากการฝึกงานทุกปีตลอดการศึกษา

บางโพลีฟวิ่งแล็บ: โครงการสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ผ่านการวางแผนการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนถนนสายไม้บางโพ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการวิจัย Bang Pho Living Lab ได้รับทุนสนับสนุนจาก ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้ของชุมชนถนนสายไม้ ย่านบางโพให้กลับมาเป็นที่รู้จักและส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาของชุมชน ผ่านการสร้างพื้นที่ร่วมทดลองปฏิบัติการจริง โดยนิสิต 266 คน

จังหวัดชลบุรีมั่นใจ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าเกาะสีชังอุ้มประมงชายฝั่งยั่งยืนทุกมิติ

วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ปูม้าแบบฟาร์มบนบก ช่วยเพิ่มอัตราการรอดของลูกพันธุ์ปูม้าจากการสลัดไข่ของแม่ปูม้า ซึ่งกลุ่มชาวประมงเรือเล็กหรือชาวประมงพื้นบ้านจะนำแม่ปูม้าที่มีไข่ติดกระดองมาฝากไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกเพื่อให้ไข่ฟักตัวเป็นลูกปูม้าวัยอ่อนแทนที่จะนำออกขายทันที

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของคุณ (ตั้งค่า)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

Accept All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • Necessary cookies
    เปิดใช้งานตลอด

    Necessary cookies are essential for the functioning of the website, allowing you to use and browse the site normally. You cannot disable these cookies in our website's system.

  • คุกกี้วิเคราะห์เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน

    คุกกี้เหล่านี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ เช่น จำนวนผู้เข้าชม, หน้าเว็บที่ได้รับความนิยม และพฤติกรรมการท่องเว็บ ซึ่งช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์ปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ได้

  • คุกกี้การทำงานเพื่อจดจำการตั้งค่าผู้ใช้

    คุกกี้เหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ โดยจดจำการตั้งค่าที่ผู้ใช้เคยกำหนดไว้ เช่น ชื่อผู้ใช้, ภาษา, ภูมิภาค หรือการปรับแต่งเว็บไซต์ตามความต้องการ

Save