กรณีศึกษา

การพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มประโยชน์: การปรับปรุงพื้นที่ Gewertz Square เพื่อก่อสร้างเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการด้าน Smart Living Solutions”

ตึกเกเวอร์ต (Gewertz) เป็นอาคารเก่าแก่ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน ในช่วงเวลาที่ ศาสตราจารย์ ดร.ชารลส เอม.สัน. เกเวอร์ต (Professor Dr.Charles Ernfrid M.Son Gewertz) ดํารงตําแหน่งหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าท่านแรก โดยใช้เป็นโรงประลองเครื่องจักรกลไฟฟ้าและเป็นห้องเรียนวิชาปฏิบัติการสำหรับนิสิตจวบจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีอาคารที่เก่าแก่คู่กันอีกสองหลัง ได้แก่ อาคารห้องพักอาจารย์ และอาคารออกแบบวงจรรวม ซึ่งเป็นทั้งห้องปฏิบัติการวิจัยและที่ทำการชมรมนิสิตของภาควิชา ด้วยระยะเวลาอันยาวนานของการใช้งาน อาคารทั้งสามหลังจึงมีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รวมทั้งพื้นที่โดยรอบก็อาจมีการสะสมปนเปื้อนของสารเคมีและโลหะเสียจากการทดลองและฝึกปฏิบัติของนิสิตที่มีมาอย่างยาวนานด้วย

เนื่องในวาระเฉลิมฉลองครบรอบ 90 ปี ของ ศาสตราจารย์ ดร.ชารลส เอ็มสัน เกเวอร์ต หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าท่านแรก ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าจึงได้วางแผนและดำเนินการปรับปรุงบริเวณโดยรอบตึกเกเวอร์ต ใช้ชื่อเรียกพื้นที่ปรับปรุงนี้ว่า Gewertz Square โดยเริ่มการปรับปรุงและก่อสร้างตั้งแต่ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2566 และจะแล้วเสร็จส่งมอบงานในช่วงปลายปี พ.ศ. 2567 เป้าหมายในการปรับปรุงพื้นที่และอาคารมุ่งให้เป็นพื้นที่จุดประกายความคิดการริเริ่ม และการทดลองสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมร่วมกันระหว่างลูกศิษย์ อาจารย์ ศิษย์เก่า และหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์จากภาคอุตสาหกรรม สำหรับรูปแบบและแนวคิดในการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ Gewertz Square จะเป็นการผสมผสานระหว่างการโอบรับเทคโนโลยีใหม่ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในโลกปัจจุบันและอนาคตพร้อมกับคํานึงถึงความเป็นมิตรต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

พื้นที่ Gewertz Square ที่ปรับปรุงขึ้นนี้จะจัดตั้งเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการด้าน Smart Living Solutions” (R & D Center for Integrated Innovation on Smart Living Solutions) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ ต่อยอด และหลอมรวมองค์ความรู้ จากความหลากหลายด้านงานวิจัยและพัฒนาของภาควิชา ไปสู่การสร้างผลงานนวัตกรรมใหม่ ๆ ตอบโจทย์แนวคิด “ชุมชนชาญฉลาด” (Smart Community) และ “สุขภาพชาญฉลาด” (Smart Health) ร่วมกับ หุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ อาทิเช่น ศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านเทคโนโลยีไฟฟ้ากําลัง (Center of Excellence in Electrical Power Technology), ภาควิชาที่เกี่ยวข้อง และสํานักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ (International School of Engineering: ISE) ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (Electricity Generating Authority of Thailand) การไฟฟ้านครหลวง (Metropolitan Electricity Authority) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (Provincial Electricity Authority) กสทช. (The National Broadcasting and Telecommunication Commission) หุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์จากภาคอุตสาหกรรม เช่น บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จํากัด (Hitachi Energy (Thailand) Limited), บริษัท ดีไซน์ เกทเวย์ จํากัด (Design Gatewany Co., Ltd.), บริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จํากัด (มหาชน) (Lighting and Equipment Public Co., Ltd.), บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จํากัด (มหาชน) (Silicon Craft Technology Public Co., Ltd.) ภายใต้ระบบนิเวศที่เอื้ออํานวยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารล้ำสมัย 5G & Beyond พร้อมทั้งการสาธิตและให้ความรู้ตัวอย่างการใช้งานที่น่าสนใจ สะท้อนวิถีการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาดของผู้คนในโลกอนาคต อาทิ การเฝ้าระวังด้านสุขภาพของผู้อยู่อาศัยด้วยระบบ Home-based Monitoring การรักษาความมั่นคงปลอดภัยผ่านระบบ Smart Surveillance การส่งเสริมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยระบบซื้อขายไฟฟ้าแบบ Peer-to-peer Energy Trading เป็นต้น

พื้นที่และอาคารทั้ง 3 อาคาร ก่อนปรับปรุง

พื้นที่และอาคารทั้ง 3 อาคาร ระหว่างปรับปรุงในช่วงปี พ.ศ. 2567

เป้าหมายเชิงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากศูนย์วิจัยฯ คือ การสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมต้นแบบที่สามารถ นำไปสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ รวมถึงเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้แก่นิสิตและบุคลากร ผ่านกิจกรรมที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างคณาจารย์ นิสิต ศิษย์เก่า และหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ภาคอุตสาหกรรมที่เข้มแข็ง

ที่มา:

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

แนวทางการปฏิบัติงานที่ยืดหยุ่นของจุฬาฯ : การปรับตัวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคลากร

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการปรับตัว และปรับรูปแบบในการให้บุคลากรเข้ามาปฏิบัติงาน จากที่ต้องเข้ามาปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของหน่วยงานเท่านั้น เปลี่ยนเป็นลักษณะที่มีความยืดหยุ่นขึ้น

การสนับสนุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องการปฏิบัติงานที่ยืดหยุ่นของบุคลากร

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้คลี่คลายลงและลดระดับความรุนแรงของโรคจนกลายเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว แต่จากการเกิดสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของทางภาครัฐ ดำเนินการปรับตัวและปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงานของบุคลากรจากรูปแบบเดิมที่กำหนดให้บุคลากรต้องเข้ามาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ตั้งของหน่วยงานภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น สู่ลักษณะของการปฏิบัติงานที่มีความยืดหยุ่น รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่

จุฬาฯ ผลักดัน Future Literacy

Future literacy เป็นสาขาสหวิทยาการที่รวมแนวคิดจากอนาคต การมองการณ์ไกล การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวางแผนสถานการณ์ และการคิดเชิงออกแบบ องค์กรต้องมีผู้ความสามารถนี้เพื่อคาดการณ์และเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง และสร้างอนาคตในลักษณะเชิงรุก Future literacy เป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21

งานบริการที่พักนิสิต อำนวยความสะดวกเพื่อการเรียนรู้ คู่การสร้างพลเมืองที่ดี

หนึ่งในงานบริการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สร้างหอพักสำหรับนิสิต เพื่อเป็นที่พักอาศัยอำนวยความสะดวกสบายเพื่อไม่ต้องเดินทางไกลสำหรับนิสิตผู้ที่มีความจำเป็นเพื่อเป็นที่พักอาศัย ตามวิสัยทัศน์ “เพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และผาสุก”