การส่งเสริมการทำงานทางไกลให้กับบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
Photo by Resume Genius on Unsplash
ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่งเสริมรูปแบบการทำงานทางไกลหรือการปฏิบัติงานจากระยะไกล เป็นตัวเลือกสำหรับบุคลากร ซึ่งเป็นแนวทางในการทำงานจากสถานที่ใดก็ได้ที่อยู่นอกสำนักงาน การทำงานทางไกลเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประจำวันให้กับบุคลากร และช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ เนื่องจากบุคลากรไม่จำเป็นต้องเดินทางออกไปทำงานเนื่องจากเปลี่ยนมาใช้การประชุมผ่านการประชุมทางวิดีโอ
โดยมหาวิทยาลัยได้ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานทางไกลหรือการทำงานจากระยะไกลให้กับบุคลากร โดยประกาศนโยบายแนวทางต่าง ๆ และจัดเตรียมเครื่องมือเพื่อสนับสนุนบุคลากรในการทำงานทางไกล เช่น คอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เชื่อถือได้ และแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ต่าง ๆ สำหรับงาน ซึ่งรวมถึงซอฟต์แวร์สำหรับเอกสารร่วมกัน ซอฟต์แวร์ประชุมออนไลน์ และระบบคลาวด์สำหรับการแชร์เอกสาร นอกจากนี้ บุคลากรยังสามารถติดตั้งหรือใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวบนอุปกรณ์ส่วนตัวได้อีกด้วย
ประกาศ นโยบาย แนวปฏิบัติต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานทางไกลหรือการปฏิบัติงานจากระยะไกลสำหรับบุคลากร
- การปฏิบัติงาน สามารถจัดการประชุม การเรียนการสอน การจัดกิจกรรมบรรยาย เสวนา อภิปราย สามารถจัดได้ทั้งแบบออนไลน์ (Online) หรือ แบบผสม (Hybrid) (จัดแบบออนไลน์ (Online) ร่วมกับการจัด ณ สถานที่ตั้ง (Onsite)) ตามวัตถุประสงค์ของการจัด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน (รายละเอียดตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 พ.ศ. 2564 และ ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การเปิดสถานที่ทำการ การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน) [ https://www.chula.ac.th/news/57177/ ] [ https://www.chula.ac.th/news/57861/ ]
- การลดวันในการให้บุคลากรสายสนับสนุนเข้ามาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ตั้งของหน่วยงานภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย โดยกำหนดจำนวนวันในการให้ทำงานจากที่พักอาศัย หรือทำงานทางไกลโดยไม่ต้องเข้ามาในสถานที่ทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงของการติดต่อและการแพร่กระจายของเชื้อโรค (รายละเอียดตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การเปิดสถานที่ทำการ การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน) [ https://www.chula.ac.th/news/57861/ ]
- การปฏิบัติงานในที่ตั้งโดยการเหลื่อมเวลาทำงาน และการปฏิบัติงานโดยการนับชั่วโมงการทำงาน ตามความเหมาะสมกับรูปแบบการดำรงชีวิต และลักษณะของตำแหน่งงาน โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน โดยเมื่อนับเวลาปฏิบัติงานรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รายละเอียดตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง วันเวลาปฏิบัติงานปกติและวันหยุดของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2564) [ https://clla.chula.ac.th/Chulalikit/Download?id=PT1BR1RCNHc0RFZ4dTNMaXhEMUdWUUho ]
คู่มือสำหรับการทำงานทางไกลหรือการปฏิบัติงานจากระยะไกล
[ https://www.it.chula.ac.th/wp-content/uploads/2021/07/20210630_Session1.pdf ]
[ https://www.it.chula.ac.th/work-from-home/ ]
ซอฟท์แวร์และระบบบริการสนับสนุนในการทำงานทางไกลหรือการปฏิบัติงานจากระยะไกล
[ https://www.it.chula.ac.th/all-services/ ]
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีการสนับสนุนข้อมูลและส่งเสริมให้บุคลากรที่มีการปฏิบัติงานแบบผสม (Hybrid) ในรูปแบบอื่น ๆ ด้วย เช่น
คู่มือเทคนิคการนั่งทำงาน Work from Home อย่างถูกสุขลักษณะ
[ https://www.chula.ac.th/news/30664/ ]
หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศของมหาวิทยาลัยและแนวปฏิบัติการปฏิบัติงานที่ยืดหยุ่นของบุคลากร สามารถดูได้ที่เว็บไซต์และประกาศเหล่านี้
- ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การเปิดสถานที่ทำการ การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน [ https://www.chula.ac.th/news/57861/ ]
- ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 พ.ศ. 2564 [ https://www.chula.ac.th/news/57177/ ]
- ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง วันเวลาปฏิบัติงานปกติและวันหยุดของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2564 [ https://clla.chula.ac.th/Chulalikit/Download?id=PT1BR1RCNHc0RFZ4dTNMaXhEMUdWUUho ]
ที่มา :
- ศูนย์กฎหมายและนิติการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
SDG ที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ
การพัฒนาพื้นที่ของจุฬาฯ อย่างยั่งยืน ฟื้นฟูสวนหลวง-สามย่าน BLOCK 33 : Residential & Wellness
โครงการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สวนหลวง-สามย่านสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะและอาคารเขียว โดยใช้แนวความคิดจากการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียว สร้างความเป็นชีวิต (Life Style) สร้างที่พักอาศัยคุณภาพ (Live Style) จนก่อเกิดพื้นที่เรียนรู้ (Learning Style) มุ่งเน้นการออกแบบก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Center of SHE คุมเข้มความปลอดภัยแล็บจุฬาฯ นับพันด้วย “ChemTrack & WasteTrack 2016
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการมีความสำคัญอย่างมากในมหาวิทยาลัย ไม่มีใครอยากประสบอุบัติเหตุ ได้รับอันตรายจากสารเคมีที่สะสมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว การปลูกฝังให้นิสิตผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยมีจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานก่อนจะจบออกไปประกอบวิชาชีพในการทำงานในหน่วยงานต่างๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีห้องปฏิบัติการหรือห้อง Lab มากกว่า 1,000 ห้อง จึงดำเนินการด้านระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและการกำจัดสารเคมี ของเสียอันตรายอย่างถูกวิธีมากว่า 20 ปี
จุฬาฯ กับนโยบายและการลงทุนเพื่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
Net Zero Greenhouse Gas Emissions หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและมีการจัดการอย่างเร่งด่วน ตามมติการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ครั้งที่ 26 หรือ COP26 เมื่อปี 2021 (พ.ศ. 2564) ที่สนับสนุนเป้าหมายในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันหายนะที่จะเกิดจากสภาวะอากาศสุดโต่ง
การพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มประโยชน์: การปรับปรุงพื้นที่ Gewertz Square เพื่อก่อสร้างเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการด้าน Smart Living Solutions”
ตึกเกเวอร์ต (Gewertz) เป็นอาคารเก่าแก่ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน ด้วยระยะเวลาอันยาวนานของการใช้งาน อาคารทั้งสามหลังจึงมีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รวมทั้งพื้นที่โดยรอบก็อาจมีการสะสมปนเปื้อนของสารเคมีและโลหะเสียจากการทดลองและฝึกปฏิบัติของนิสิตที่มีมาอย่างยาวนานด้วย