บางโพลีฟวิ่งแล็บ: โครงการสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ผ่านการวางแผนการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนถนนสายไม้บางโพ
“คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการวิจัย Bang Pho Living Lab ได้รับทุนสนับสนุนจาก ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้ของชุมชนถนนสายไม้ ย่านบางโพให้กลับมาเป็นที่รู้จักและส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาของชุมชน ผ่านการสร้างพื้นที่ร่วมทดลองปฏิบัติการจริง โดยนิสิต 266 คน สามารถร่วมเรียนรู้กับชุมชน พัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้ให้ตรงกับความต้องการของตลาดร่วมกัน และร่วมจัดนิทรรศการ Bang Po(ssible) 2: Co-Creation Learning Platform with Community ตลอดเดือนกรกฎาคม 2566 ผลจากการดำเนินงาน ทำให้ชุมชนได้ถูกรับเลือกเป็น 1 ใน 20 พื้นที่นำร่องย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพมหานคร ผลิตภัณฑ์ไม้ได้รับความสนใจและค้าขายได้ดีขึ้น คนรุ่นใหม่สนใจสืบสานงานไม้และเข้ามาบริหารชุมชนมากขึ้น เป็นต้นแบบ Living Lab เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน”
ชุมชนถนนสายไม้ ถนนประชานฤมิตร ย่านบางโพ เป็นแหล่งรวมการทำไม้ครบวงจรทั้งโรงเลื้อย ผลิตภัณฑ์จากไม้ และงานไม้แกะสลัก ที่มีอัตลักษณ์จากการสั่งสมภูมิปัญญาช่างพื้นถิ่นหลายแขนงสืบต่อกันมากกว่า 60 ปี แต่เมื่อวิถีชีวิตของคนเมืองเปลี่ยนแปลงไป ทำให้รูปแบบผลิตภัณฑ์ และการเข้าถึงสินค้าไม่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ส่งผลให้เศรษฐกิจการค้าของชุมชนลดลงและซบเซาถึงร้อยละ 67 ชุมชนไม่มีความร่วมมือและต่างคนต่างอยู่ถึงร้อยละ 58 รวมถึงกายภาพของชุมชนที่เริ่มเสื่อมโทรม ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการเผาวัสดุไม้เหลือใช้จำนวนมาก อีกทั้งขาดคนรุ่นใหม่ที่จะสืบทอดภูมิปัญญาการทำไม้ จนอาจนำไปสู่การสูญเสียมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนทำไม้ที่เหลือเพียงแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนแห่งนี้ได้กลับมาเป็นที่รู้จัก และพัฒนาสินค้าไม้ต่าง ๆ ให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนเมืองในปัจจุบัน สืบสานภูมิปัญญาช่างพื้นถิ่น ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงดำเนินโครงการวิจัยด้านนวัตกรรมทางสังคม Bang Po Living Lab โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการวิจัยนี้ มุ่งเน้นการร่วมสร้าง (Co-Creation) ระหว่างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับชุมชนถนนสายไม้บางโพ ให้ชุมชนสามารถวางแผนระดับชุมชน (Community Planning) กำหนดยุทธศาสตร์และขับเคลื่อนชุมชนไปสู่ย่านสร้างสรรค์และพื้นที่การเรียนรู้แห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร ผ่านการดำเนินการวิจัยและกิจกรรมนำร่องใน 7 วิชาร่วมกัน โดยใช้กระบวนการสร้างแพลทฟอร์มและพื้นที่การเรียนรู้ในลักษณะลีฟวิ่งแล็ป (Living Lab) ซึ่งใช้พื้นที่ชุมชนเป็นพื้นที่เรียนรู้ประสบการณ์จริงนอกห้องเรียนสำหรับนิสิตจำนวน 266 คน ร่วมกับผู้ประกอบการในชุมชนกว่า 50 คน จากร้านค้าในชุมชนกว่า 200 แห่ง เกิดการถ่ายทอดความรู้จากการออกแบบสู่การสร้างจริงและนิสิตเรียนรู้ทักษะจากชุมชน ในขณะที่ชุมชนก็ได้เรียนรู้แนวคิดและทักษะใหม่จากนิสิตและคณาจารย์ ผ่านการอนุรักษ์พัฒนาผลิตภัณฑ์และพื้นที่ชุมชน รวมถึงการสร้างอัตลักษณ์และแบรนด์ของชุมชนถนนสายไม้ ร่วมกับภาคีทั้งหมด 15 หน่วยงาน ระหว่างปี พ.ศ. 2565-2566 นำไปสู่นิทรรศการ Bang Po(ssible) 2: Co-Creation Learning Platform with Community ตลอดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผู้สนใจทั้งหมดประมาณ 1,000 คนตลอดการจัดนิทรรศการ เป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้ชุมชนถนนสายไม้ ถนนประชานฤมิตร กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง
โครงการวิจัย Bang Po Living Lab ทำให้ชุมชนถนนประชานฤมิตรเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น ได้ถูกรับเลือกเป็น 1 ใน 20 พื้นที่นำร่องย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพมหานคร เกิดกิจกรรมนำชมชุมชนและงานไม้ ตลอดจนพัฒนาอาชีพของคนในชุมชน เช่น การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์เดิมร่วมกับวัสดุสมัยใหม่ การออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถลดวัสดุเหลือใช้จากไม้ ส่งผลให้การค้าขายและเศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้น คนรุ่นใหม่สนใจสืบสานงานไม้และเข้ามาบริหารชุมชนมากขึ้น จากเดิมกลุ่มกรรมการบริหารชุมชนมีเพียง 10 คน อยู่ในวัย 45-60 ปี แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็นกว่า 30 คน และเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่อายุ 25-44 ปี โดยโครงการวิจัยนี้สามารถเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนผ่านการทำ Living Lab สามารถนำไปต่อยอดการร่วมสร้างและขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนที่มีอยู่กว่า 2,000 ชุมชนในกรุงเทพมหานคร
ที่มา
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:
SDG ที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ
เปิดเบื้องหลังความสำเร็จวัคซีน mRNA “CU-Cov19”
โครงการวิจัยวัคซีนโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อความมั่นคงและสวัสดิภาพของมวลมนุษย์ชาติ
“Chula-Cov19” วัคซีน mRNA สัญชาติไทยขยับเข้าใกล้ความสำเร็จ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยตลอดช่วงสามปีที่ผ่านมาทำให้เราได้เห็นศักยภาพของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยรับมือกับวิกฤติด้านสาธารณสุขระดับโลก
จุฬาฯ อวดสองนวัตกรรมคืนชีวิตใหม่ให้ปะการังไทย ผสมเทียมสำเร็จครั้งแรกของโลก พร้อมชูเครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างปะการังเทียม
ปัญหาการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วของระบบนิเวศของมหาสมุทรถือเป็นภาวะวิกฤติการณ์ที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลกต่างให้ความสนใจอย่างมากกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ในระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งได้รับผลกระทบจากทางตรงและทางอ้อมจากความผิดปกติของสภาพอากาศ
จุฬาอารี นวัตกรรมทางสังคมเพื่อขับเคลื่อนสังคมผู้สูงอายุไทย
จากรายงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุว่าในปี พ.ศ. 2564 สังคมไทยจะเปลี่ยนเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ การเป็นสังคมสูงวัยสะท้อนถึงความสำเร็จของมนุษยชาติ ในการที่จะมีชีวิตยืนยาวขึ้นอย่างมาก