ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างยั่งยืน

Make cities and human settlements inclusive, safe, resilient and sustainable.

กรณีศึกษา / กฎและข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง

จุฬาอารี นวัตกรรมทางสังคมเพื่อขับเคลื่อนสังคมผู้สูงอายุไทย

จากรายงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุว่าในปี พ.ศ. 2564 สังคมไทยจะเปลี่ยนเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ การเป็นสังคมสูงวัยสะท้อนถึงความสำเร็จของมนุษยชาติ ในการที่จะมีชีวิตยืนยาวขึ้นอย่างมาก

จุฬาฯ ต้าน COVID-19 ด้วยกลยุทธ์หลายมิติ; การวินิจฉัย การรักษา และการฉีดวัคซีน

ในช่วงวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนงานวิจัย การบริการ และนวัตกรรมมากมายแก่สังคมเพื่อฟื้นคืนสถานการณ์ที่ตึงเครียด ซึ่งรวมถึงวิธีการวินิจฉัย แพลตฟอร์มออนไลน์ด้านการดูแลผู้ป่วย (วอร์ดเสมือน) และงานด้านศูนย์บริการวัคซีน

เนินชะลอความเร็ว (Speed Hump) การสร้างพื้นที่เพื่อส่งเสริมการเดินเท้าในมหาวิทยาลัย

พื้นที่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ที่มีความร่มรื่น และการเดินทางไปยังอาคารต่างๆ ก็สามารถทำได้โดยไม่ลำบาก มหาวิทยาลัยจึงสนับสนุนการเดินเท้าในมหาวิทยาลัย และยังมีการออกแบบและจัดทำ และเนินชะลอความเร็วขึ้นในจุดทางข้าม ผสมผสานเข้ากับการทำเป็นทางม้าลาย ในหลายจุดทั่วทั้งมหาวิทยาลัย

จุฬาฯ กับหลากหลายรูปแบบการเดินทางที่ยังยืน (Chula Smart Mobility)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน (PMCU) ขับเคลื่อนโครงการ “สามย่านสมาร์ทซิตี้” (Samyan Smart City) ผ่าน “7 Smart” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 7มิติ ได้แก่ Smart Environment , Smart Mobility , Smart Living, Smart Energy, Smart Economy, Smart People และ Smart Governance รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน

แนวทางการปฏิบัติงานที่ยืดหยุ่นของจุฬาฯ : การปรับตัวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคลากร

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการปรับตัว และปรับรูปแบบในการให้บุคลากรเข้ามาปฏิบัติงาน จากที่ต้องเข้ามาปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของหน่วยงานเท่านั้น เปลี่ยนเป็นลักษณะที่มีความยืดหยุ่นขึ้น

การพัฒนาพื้นที่ของจุฬาฯ อย่างยั่งยืน ฟื้นฟูสวนหลวง-สามย่าน BLOCK 33 : Residential & Wellness

โครงการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สวนหลวง-สามย่านสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะและอาคารเขียว โดยใช้แนวความคิดจากการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียว สร้างความเป็นชีวิต (Life Style) สร้างที่พักอาศัยคุณภาพ (Live Style) จนก่อเกิดพื้นที่เรียนรู้ (Learning Style) มุ่งเน้นการออกแบบก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ป่ากลางเมือง พื้นที่สีเขียวเพื่อชุมชนที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้

พื้นที่กว่า 29 ไร่ ของจุฬาฯ อันเกิดขึ้นจากนโยบายการสร้างเมือง GREEN & CLEAN CITY และเพื่อเป็นการตามรอยพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชทานที่ดินให้แก่จุฬาฯ เพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และคืนประโยชน์สู่สังคมส่วนร่วม

พิพิธภัณฑ์ของจุฬาฯ: แหล่งเรียนรู้โลกกว้างที่ทุกคนเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

ภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของคณะและสถาบันสำคัญที่ทั้งสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นิสิตผลิตบัณฑิตให้พร้อมออกไปรับใช้สังคมแล้ว จุฬาฯ ยังได้เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต

กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะตลอดปีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

ด้วยความมุ่งมั่นให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงกิจกรรมเหล่านี้ได้ จึงได้ดำเนินการจัดโครงการและกิจกรรมสาธารณะด้านวิชาการ การถ่ายทอดความรู้ และการฝึกอบรมสายอาชีพสำหรับประชาชนอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี หลากหลายรูปแบบ ทั้ง onsite และ Online โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Park @ Siam พื้นที่สีเขียวของจุฬาฯ ใจกลางเมืองเพื่อชุมชน

“Park @ Siam” พื้นที่สีเขียวใจกลางย่านการค้าสยามสแควร์ เป็นสวนสาธารณะแห่งเดียวในย่านการค้าที่มีชื่อเสียง ภายใต้การดูแลและบริหารจัดการโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU)

จุฬาฯ ชงแก้ปัญหาขยะทะเลจากบนบก เสนอรัฐคุมใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งในบริการส่งอาหาร (Food Delivery)

ขยะพลาสติกจากธุรกิจส่งอาหารกำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมเมืองโดยเฉพาะหลังจากที่ภาครัฐออกมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ห้ามให้ประชาชนออกมารับประทานอาหารนอกบ้าน ส่งผลให้ธุรกิจส่งอาหารเติบโตอย่างก้าวกระโดด ในขณะเดียวกลับสร้างปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลตามมาอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดนั่นคือปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกและพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมีจำนวนมหาศาล และกลายเป็นขยะทันทีหลังบริโภค

วิชาทันตกรรมชุมชนภาคปฏิบัติ : หลักสูตรใส่ใจสุขภาพปากและฟันเพื่อเด็กไทยวันนี้

แม้ประเทศไทยจะมีอัตราการเกิดของเด็กลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนต่ำกว่า 600,000 คนต่อปี มาตั้งแต่ปี 2562 แต่ทุกวันนี้ยังคงมีประชากรวัยเด็กมากกว่า 7 ล้านคนที่ภาครัฐยังคงต้องดูแลสุขภาวะด้านต่าง ๆ จากการสำรวจสถานการณ์ฟันผุในเด็กไทยพบว่าปัจจุบัน เด็กไทยเริ่มมีฟันผุตั้งแต่อายุ 9 เดือน และยังพบเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุเฉลี่ย 3 ซี่ต่อคน