กรณีศึกษา

แนวทางการปฏิบัติงานที่ยืดหยุ่นของจุฬาฯ : การปรับตัวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคลากร

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของทางภาครัฐต้องมีการปรับตัว และปรับรูปแบบในการให้บุคลากรเข้ามาปฏิบัติงาน จากที่ต้องเข้ามาปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของหน่วยงานเท่านั้น เปลี่ยนเป็นลักษณะที่มีความยืดหยุ่นขึ้น เช่น การลดวันในการให้บุคลากรเข้ามาปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย โดยปรับเปลี่ยนไปเป็นการทำงานจากที่พักอาศัย หรือทำงานทางไกลโดยไม่ต้องเข้ามาในสถานที่ทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงของการติดต่อและการการแพร่กระจายของเชื้อโรค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้และมีการกำหนดรวมทั้งประกาศแนวทางในการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ให้บุคลากรสามารถเลือกปฏิบัติได้ ทั้งแบบการเลือกเหลื่อมเวลาในการทำงาน หรือ การลดวันเข้ามาปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย แต่ใช้วิธีการปฏิบัติงานจากทางไกลหรือปฏิบัติงานจากที่พักอาศัยแทนในวันที่ไม่เข้ามาปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย ผสมผสานกันไป โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน และเมื่อนับเวลาปฏิบัติงานรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตั้งแต่เมื่อปี 2563 เป็นต้นมา และยังอนุญาตให้ใช้รูปแบบการทำงานแบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน [ https://www.chula.ac.th/news/28280/ ]

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การปฏิบัติงานของบุคลากรในภาวะที่เชื้อโรค COVID-19 ระบาด

และจากแนวทางนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้มีการวางระบบให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัยหรือการปฏิบัติงานจากทางไกลในกรณีที่บุคลากรเลือกปรับรูปแบบการปฏิบัติงานโดยการลดวันเข้ามาปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย โดยให้สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเตรียมและสนับสนุนซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่จำเป็น รวมทั้งระบบบริการสนับสนุน ให้คำแนะนำ และช่วยเหลือต่างๆ เพื่อช่วยให้บุคลากรปฏิบัติงานจากที่พักอาศัยได้อย่างเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพเทียบเท่าการปฏิบัติงานในรูปแบบเดิม เช่น ระบบ e-mail จุฬาฯ, ระบบการประชุมทางไกล,  โปรแกรม VPN,   ระบบ LessPaper    เป็นต้น  [ https://www.it.chula.ac.th/all-services/ ]

นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ พร้อมคู่มือ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป และมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐพิจารณานำแนวทางและคู่มือดังกล่าว ไปปรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการตามความเหมาะสม

สำหรับรูปแบบการปฏิบัติงานรูปแบบใหม่ แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ

รูปแบบที่ 1 การปฏิบัติงานในที่ตั้งโดยการเหลื่อมเวลาทำงาน เช่นกำหนดช่วงเวลาการเข้างานและเลิกงานเป็น 4 ช่วง ตั้งแต่ 07.30-15.30น., 08.00-16.00 น., 08.30-16.30 น. และ 09.30-17.30 น.

รูปแบบที่ 2 การปฏิบัติงานในที่ตั้งโดยการนับชั่วโมงการทำงาน ตามความเหมาะสมกับรูปแบบการดำรงชีวิต โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน โดยเมื่อนับเวลาปฏิบัติงานรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

รูปแบบที่ 3 การปฏิบัติงานนอกที่ตั้ง โดยกำหนดให้สอดคล้องกับร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ

ที่มา: [ https://www.thaipbs.or.th/news/content/319628 ]
[ https://www.facebook.com/photo/?fbid=409956174651920&set=a.252553717058834 ]

ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของทางภาครัฐ จะใช้แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ มากำหนดรูปแบบวิธีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับภารกิจและลักษณะงาน เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรและวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อการสร้างสมดุลที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานอย่างยั่งยืนต่อไป

ที่มา:

  • ศูนย์กฎหมายและนิติการ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

งานบริการที่พักนิสิต อำนวยความสะดวกเพื่อการเรียนรู้ คู่การสร้างพลเมืองที่ดี

หนึ่งในงานบริการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สร้างหอพักสำหรับนิสิต เพื่อเป็นที่พักอาศัยอำนวยความสะดวกสบายเพื่อไม่ต้องเดินทางไกลสำหรับนิสิตผู้ที่มีความจำเป็นเพื่อเป็นที่พักอาศัย ตามวิสัยทัศน์ “เพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และผาสุก”

การจัดภูมิทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่น ทนแล้ง แข็งแรง และช่วยประหยัดน้ำ

ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างเสริมความยั่งยืนในเรื่องของการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยจึงตระหนักถึงความเหมาะสมในการเลือกพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่นที่จะนำมาปลูกเพิ่มเติมจากต้นไม้ที่มีอยู่แล้วดั้งเดิมภายในพื้นที่หรือในการปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่ โดยเลือกปลูกพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่น สลับกับพันธุ์ไม้อื่น ๆ ที่ปลูกอยู่ด้วย เนื่องจากพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่นจะทนทานต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศที่ค่อนข้างแล้ง ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาด

งานบริการที่พักบุคลากร ส่งเสริมภารกิจ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

เพราะทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญในการก้าวไปด้วยกันในทศวรรษต่อไปจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงมีนโยบายให้บริการที่พักบุคลากร เพื่ออำนวยความสะดวก และเอื้อต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเหลือเรื่องการเดินทางมาปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรที่ไม่มีที่พักในกรุงเทพมหานคร หรือมีที่พักในกรุงเทพมหานครแต่ไม่สะดวกต่อการเดินทางมาปฏิบัติงาน นอกเหนือไปจากสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่ได้แก่ การเงิน/การศึกษาบุตร สุขภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของบุคลากร

การพัฒนาพื้นที่ของจุฬาฯ อย่างยั่งยืน ฟื้นฟูสวนหลวง-สามย่าน BLOCK 33 : Residential & Wellness

โครงการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สวนหลวง-สามย่านสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะและอาคารเขียว โดยใช้แนวความคิดจากการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียว สร้างความเป็นชีวิต (Life Style) สร้างที่พักอาศัยคุณภาพ (Live Style) จนก่อเกิดพื้นที่เรียนรู้ (Learning Style) มุ่งเน้นการออกแบบก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม