กรณีศึกษา

จุฬาฯ สนับสนุนให้ทุกคน มีสุขภาพดีถ้วนหน้า

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้บริการด้านสุขภาพที่หลากหลายแก่นิสิต บุคลากร และประชาชนทั่วไป รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรม การศึกษา และการติดตามดูแลตนเองโดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตร

ศูนย์กีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีกิจกรรมกีฬาและทักษะการกีฬาฟรีแก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป ผศ.ดร.สุชาติ ทวีพรปฐมกุล กล่าวว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยช่วยส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดี โดยสร้างพื้นที่สีเขียวเป็นปอดให้คนกรุงได้ออกกำลังกายจำนวนหลายแห่ง รวมถึงสนามกีฬาประเภทต่าง ๆ ที่ให้บริการกับประชาชนทั่วไป ตลอดจนให้ชุมชนท้องถิ่นหรือสาธารณชนมาใช้อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาร่วมกัน ตามนโยบายของจุฬาฯ ที่มุ่งสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพประชาชน ซึ่งนอกจากนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรของจุฬาฯ แล้ว ศูนย์กีฬาฯ ก็ยังเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้ โดยที่คำนึงถึงคือความสะอาดและการบริการที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นชาวจุฬาฯ หรือประชาชนทั่วไป”

อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวนสาธารณะกลางเมืองสำหรับครอบครัวโดยเฉพาะผู้สูงวัย พื้นที่สีเขียวร่มรื่น สวยงาม พร้อมพื้นที่สำหรับออกกำลังกายและวิ่งออกกำลัง เปิดทุกวัน เวลา 05.00 – 22.00 น. Park@Siam พื้นที่สีเขียวติดกับศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์ เปิดให้ทุกคนเข้ามาดูแลสุขภาพ ไม่ว่าจะเดิน วิ่ง นั่งพักผ่อนคลายร้อน ภายในสวนยังมีฟิตเนสกลางแจ้งพร้อมด้วยเครื่องออกกำลังกายต่าง ๆ เปิดทุกวัน เวลา 08.00 – 20.00 น.

สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป็นสนามกีฬากลางแจ้งมาตรฐานขนาดใหญ่ ประกอบด้วย สนามหญ้าสังเคราะห์ระดับมาตรฐานที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) รับรองเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ลู่วิ่งยางสังเคราะห์ จำนวน 8 ลู่ ซึ่งได้รับรองจากสหพันธ์กรีฑานานาชาติ (IAAF) มีอัฒจันทร์สำหรับนั่งชมโดยรอบสามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 20,000 – 25,000 คน มีความพร้อมเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมไปถึงแสงไฟที่ได้มาตรฐาน

อาคารเฉลิมราชสุดากีฬาสถาน (CU Sports Complex)

อาคารสปอร์ตคอมเพล็กซ์ 5 ชั้น ภายในอาคารประกอบด้วย สนามแบดมินตัน สระว่ายน้ำ 50 เมตร ฟิตเนสเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ สนามกีฬาประเภทกีฬาต่อสู้ สนามกีฬาเอนกประสงค์ ซึ่งสามารถปรับเป็นสนามแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ ได้หลายประเภท

พื้นที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง (Outdoor fitness areas)

ภายในมหาวิทยาลัยจำนวน 4 จุด ได้แก่ ด้านข้างสนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและอาคารมหิตลาธิเบศร์

อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สวนสาธารณะกลางเมืองสำหรับครอบครัวโดยเฉพาะผู้สูงวัย พื้นที่สีเขียวร่มรื่น สวยงาม พร้อมพื้นที่สำหรับออกกำลังกายและวิ่งออกกำลัง เปิดทุกวัน เวลา 05.00 –  22.00 น.

Park@Siam

พื้นที่สีเขียวติดกับศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์ เปิดให้ทุกคนเข้ามาดูแลสุขภาพ ไม่ว่าจะเดิน วิ่ง นั่งพักผ่อนคลายร้อน ภายในสวนยังมีฟิตเนสกลางแจ้งพร้อมด้วยเครื่องออกกำลังกายต่าง ๆ เปิดทุกวัน เวลา 08.00 – 20.00 น.

นอกจากนี้ ยังได้จัดโครงการฝึกอบรมทักษะกีฬาแก่ประชาชนทั่วไป ประกอบด้วย ว่ายน้ำ เทนนิส แบดมินตัน บาสเกตบอล เทควันโด โยคะ กอล์ฟ ลีลาศ ฟุตบอล ศิลปะมวยไทย ยิมนาสติก อีกทั้งยังจัดโครงการออกกำลังกาย อาทิ

ZUMBA Fitness DANCE ON THE FLOOR กิจกรรมเต้นซุมบ้าบริเวณลานด้านหน้าอาคารเฉลิมราชสุดากีฬาสถาน ซึ่งซุมบ้าเป็นการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในจุฬาฯ เนื่องด้วยดนตรีที่คึกคัก ผสานท่าเต้นหลากหลาย ทำให้ออกกำลังกายได้นานและไม่รู้สึกเบื่อ เต้นซุมบ้าได้ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์เวลา 17.10 – 18.10 น.

โครงการ “สุขภาพดี มีความสุข ด้วยโยคะ” บริเวณชั้น 2 ห้องแอโรบิคแดนซ์ เปิดให้บุคคลภายนอกสมัครเข้ามาเรียนโยคะได้ ทุกวันอังคารและวันศุกร์ เวลา 17.15 – 18.15 น.

ในช่วง COVID-19 มีการปิดประเทศ เพื่อบรรเทาการแพร่ระบาดของโรค ทำให้การเข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพจำเป็นต้องหยุดชะงักลง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ใช้โซเชียลมีเดียในการเปิดตัวนวัตกรรมการดูแลสุขภาพชุมชนแบบออนไลน์  “บ้านสุขภาพ จุฬาฯ” ซึ่งได้รับด้วยความร่วมมือจากจากคณะต่างๆ ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอง และพันธมิตรเครือข่ายนอกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชุมชน “บ้านสุขภาพ จุฬาฯ” มุ่งเน้นไปที่การให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะ ตลอดจนการให้ความรู้ด้านสุขภาพเบื้องต้นสำหรับประชาชนทั่วไป  โดย “บ้านสุขภาพ จุฬาฯ” มีจุดมุ่งหมายที่จะปรับปรุงสุขภาพและคุณภาพชีวิตของชาวเมือง เพลทฟอร์มนี้ยังได้เปิดโอกาสให้นิสิตในทุกระดับได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพประชาชน เพื่อเป็นการพัฒนานิสิตให้ปรับตัวและพร้อมในการช่วยเหลือชุมชนและสังคมผ่านประสบการณ์จริง

ที่มา: Chula HealthStreet
[ https://www.youtube.com/watch?v=icj19L44w1w&t=27s ]

“บ้านสุขภาพ จุฬาฯ” สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ จุฬาฯ ทั้ง 4 ข้อ คือ สร้างคน (Human Capital) สร้างสรรค์ องค์ความรู้และนวัตกรรม (Knowledge and Innovation) สร้างเสริมสังคมไทย (Local Transformation) และก้าวไกล ในสังคมโลก (Global Benchmarking) รวมทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ กล่าวคือ พันธกิจเกี่ยวกับการสร้างงานวิจัยและงานวิชาการที่มีคุณค่าเพื่อชี้นำสังคมและเป็นที่อ้างอิงทางวิชาการในระดับชาติ และนานาชาติ ภารกิจหลักเกี่ยวกับการวิจัย คือ การดำเนินงานวิจัยที่เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข เพื่อการป้องกัน แก้ไขปัญหา และส่งเสริมสุขภาพอนามัยและการสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และภูมิภาค การวิจัยเพื่อนำองค์ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชน รวมถึงเป็นแหล่งการวิจัย/แหล่งฝึกงาน/แหล่งการเรียนรู้/เปิดรายวิชาการเรียนการสอนให้แก่นิสิต นักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษา

นอกจากนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. หรือ NSTDA) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เพื่อพัฒนาเครื่องตรวจสุขภาพอัตโนมัติและ application ด้านสุขภาพให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ “บ้านสุขภาพ จุฬาฯ” เครื่องตรวจวัดสุขภาพอัตโนมัติที่วัดอุณหภูมิและความเสี่ยงที่อาจเป็นโรคเบาหวาน และ โรคหลอดเลือดสมอง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องมีการตรวจวัดค่าอย่างสม่ำเสมอ ให้สามารถ monitor สุขภาพได้ด้วยตนเอง และยังได้มีการสร้าง application เพื่อขยายความร่วมมือไปด้านสุขภาพไป ยังชุมชนในละแวกใกล้เคียง ผ่านความร่วมมือกับ ศูนย์บริการสาธารณสุข 5 ศูนย์บริการสาธารณสุข 16 สำนักงานเขต สถานีตำรวจ กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการหรือ event ที่จะสร้างขึ้น ซึ่งผู้เข้าร่วมในการบริการหรือ event ที่สร้างขึ้นนี้สามารถ co-pay กับจุฬาฯ ตัว application นี้ยังทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยด้านสุขภาพ คอยติดตามน้ำหนัก ระยะเวลาการนอนหลับ และข้อมูลสุขภาพอื่นๆของสมาชิก “บ้านสุขภาพ จุฬาฯ”

ที่มา:

  • ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

CU-DSR เรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมเพื่อสังคม

การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในในทุกๆ ที่ไม่จำเป็นที่ต้องเกิดขึ้นภายในสถานศึกษาเท่านั้น สามารถเกิดขึ้นผ่านกระบวนการต่างๆ รวมถึงการเรียนรู้ผ่านการประสบการณ์การปฏิบัติ การฝึกงาน และการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ได้

จุฬาฯ กับหลากหลายรูปแบบการเดินทางที่ยังยืน (Chula Smart Mobility)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน (PMCU) ขับเคลื่อนโครงการ “สามย่านสมาร์ทซิตี้” (Samyan Smart City) ผ่าน “7 Smart” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 7มิติ ได้แก่ Smart Environment , Smart Mobility , Smart Living, Smart Energy, Smart Economy, Smart People และ Smart Governance รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน

จุฬาฯ วางแนวทางแก้ปัญหาน้ำระยะยาวผ่านงานวิจัยหลากมิติ เสนอกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำยั่งยืนเพื่อชาติร่วมกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในมิติของการมุ่งแก้ปัญหาประเทศในระดับมหภาคหลายด้าน โดยการบริหารจัดการน้ำเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ  20 ปี ของประเทศไทย ที่มุ่งแก้ปัญหาแบบองค์รวมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ โดยใช้องค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการคุณภาพน้ำสร้างให้เกิดมาตรฐาน

การส่งเสริมการทำงานทางไกลให้กับบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่งเสริมรูปแบบการทำงานทางไกลหรือการปฏิบัติงานจากระยะไกล เป็นตัวเลือกสำหรับบุคลากร ซึ่งเป็นแนวทางในการทำงานจากสถานที่ใดก็ได้ที่อยู่นอกสำนักงาน การทำงานทางไกลเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประจำวันให้กับบุคลากร และช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ เนื่องจากบุคลากรไม่จำเป็นต้องเดินทางออกไปทำงานเนื่องจากเปลี่ยนมาใช้การประชุมผ่านการประชุมทางวิดีโอ