กรณีศึกษา

การพัฒนาพื้นที่ของจุฬาฯ อย่างยั่งยืน ฟื้นฟูสวนหลวง-สามย่าน BLOCK 33 : Residential & Wellness

สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดูแลการพัฒนาพื้นที่กว่า 1,153 ไร่ ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ให้เกิดความอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ  ดังนั้นโครงการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สวนหลวง-สามย่านสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะและอาคารเขียว โดยใช้แนวความคิดจากการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียว สร้างความเป็นชีวิต (Life Style) สร้างที่พักอาศัยคุณภาพ (Live Style) จนก่อเกิดพื้นที่เรียนรู้ (Learning Style) มุ่งเน้นการออกแบบก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากส่วนกลุ่มอาคารพาณิชย์ที่มีบางส่วนทิ้งร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์และมีสภาพทรุดโทรม (brownfield sites) ถูกพัฒนามาเป็นโครงการ Block 33 โครงการมิกซ์ยูส ภายใต้แนวคิด “Residential & Wellness” โดยเป็นโครงการก่อสร้างอาคารและปรับปรุงพื้นที่ที่อยู่อาศัยติดอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองขนาดใหญ่ พร้อมด้วยศูนย์รวมการแพทย์ชั้นนำด้านการส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Centre & Medical Hub) เพื่อสร้างย่านที่พักอาศัยที่เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืนใจกลางกรุงเทพ อีกทั้งด้วยทำเลที่ตั้งซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของย่านสามย่าน จึงสามารถเชื่อมโยงพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตชุมชน เขตพาณิชย์ และอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ จึงเป็นเสมือนการเชื่อมต่อในด้านประวัติศาสตร์อันเปี่ยมด้วยเสน่ห์ที่ยาวนาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมสมัยใหม่

พื้นที่สวนหลวง-สามย่านเดิม

พื้นที่ปรับปรุง

โครงการ Block 33 [ https://pmcu.co.th/?page_id=10315 ] ประกอบด้วย อาคารที่พักอาศัยสำหรับบุคคลทั่วไป บุคลากรและสำหรับนิสิต และอาคารสำหรับร้านค้าและสำนักงาน  เป็นโครงการออกแบบตามแนวคิดที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน อีกทั้งยังคำนึงถึงแนวคิดด้านเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และอาคารเขียว (Green Building) โดยเชื่อมต่อจากอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ เข้าสู่พื้นที่โครงการจากพื้นที่รับน้ำและพื้นที่สีเขียวแนวราบสู่พื้นที่สีเขียวที่เชื่อมต่อไปจนถึงแนวตั้งของพื้นที่โครงการทั้งหมด สร้างระบบนิเวศแบบครบวงจร อีกทั้งได้สร้างระบบหมู่บ้าน (Village) เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้อาศัยให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น มีการจัดการอาคารอัจฉริยะ ใช้แนวคิดอาคารสีเขียว โดยใช้เครื่องปรับอากาศจากระบบจ่ายน้ำเย็นจากส่วนกลาง เลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ออกแบบให้แผงกันแดดสามารถกันแดดได้ทุกทิศ ลดพลังงานความร้อนที่เข้าสู่อาคารได้ และมีความยั่งยืนของการดูแลในระยะยาว ลดปรากฏการณ์เกาะร้อนของการก่อสร้างอาคาร และสามารถให้ลมพัดผ่านได้ นอกจากนี้โครงการก่อสร้างยังมีกรอบนโยบายที่กำหนดการออกแบบ การก่อสร้าง และการกำกับดูแล ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับในการจัดอันดับความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย (TREES)

BY

  • สำนักงานจัดการทรัพย์สิน  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

การจัดซื้อของจุฬาฯ กับเรื่องของความอย่างยั่งยืน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีการใช้วัสดุสำนักงานและวัสดุสิ้นเปลืองจำนวนมาก การจัดหาวัสดุดังกล่าว ดำเนินการภายใต้นโยบายการให้ความสำคัญต่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายสำคัญด้านมหาวิทยาลัยสีเขียวที่มีการรณรงค์และสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญมาโดยตลอด ทั้งในประชาคมชาวจุฬาฯ ชุมชนโดยรอบ พื้นที่ต่อเนื่องและสาธารณะ

การจัดภูมิทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่น ทนแล้ง แข็งแรง และช่วยประหยัดน้ำ

ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างเสริมความยั่งยืนในเรื่องของการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยจึงตระหนักถึงความเหมาะสมในการเลือกพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่นที่จะนำมาปลูกเพิ่มเติมจากต้นไม้ที่มีอยู่แล้วดั้งเดิมภายในพื้นที่หรือในการปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่ โดยเลือกปลูกพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่น สลับกับพันธุ์ไม้อื่น ๆ ที่ปลูกอยู่ด้วย เนื่องจากพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่นจะทนทานต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศที่ค่อนข้างแล้ง ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาด

การออกแบบอาคารเขียว ตามมาตรฐาน TREES กับการสร้างอาคารใหม่และการปรับปรุงอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน

ภายในพื้นที่ กว่า 1,153 ไร่ ในการดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ส่วนอาคารเรียน และอาคารที่ใช้เพื่อการสนับสนุนด้านการเรียนการสอนในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่า 200 อาคาร การใช้อาคารดังกล่าว มีการใช้พลังงานและทรัพยากรในการใช้งานและดูแลรักษาเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงให้ความสำคัญและกำหนดแนวทางในการก่อสร้างอาคารใหม่หรือการปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ โดยส่งเสริมให้มีการออกแบบอาคารที่ช่วยประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำ และมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด

หอพักบุคลากร สวัสดิการที่เอื้อต่อการพัฒนางานของคนจุฬาฯ

ในปี พ.ศ. 2563 จุฬาฯ มีบุคลากรทั้งสิ้น 8,178 คน นโยบายการจัดสวัสดิการและบุคลากรสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งที่จุฬาฯ ใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจัดหาที่พักอาศัยภายในหรือบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยในรูปแบบหอพัก เพื่อให้บุคลากรผูกพันและมีความสุขในการทำงาน เอื้อให้สามารถพัฒนางานอย่างมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มที่