กรณีศึกษา

การส่งเสริมการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ในด้านน้ำสะอาดและสุขาภิบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำโครงการและดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้อาจารย์ นิสิต และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญและรู้จักใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า

ตัวอย่างโครงการและการดำเนินงานในช่วงปี 2566-2567

1. สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มีการดำเนินโครงการเพื่อเป็นการช่วยประหยัดน้ำและการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการ

(1) ปรับเปลี่ยนก๊อกน้ำในห้องน้ำให้เป็นระบบเซนเซอร์ปล่อยน้ำแบบอัตโนมัติ เพื่อช่วยลดการกดน้ำในแต่ละครั้ง และช่วยในเรื่องการลืมปิดน้ำหลังจากการใช้งานเพื่อเป็นการช่วยประหยัดน้ำ รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนสุขภัณฑ์เป็นแบบช่วยประหยัดน้ำ ภายในอาคารในความรับผิดชอบทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัย

(2) มีการติดแผ่นประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและรู้จักใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าภายในบริเวณห้องน้ำ และห้องซักล้าง เพื่อเป็นการสื่อสารสร้างความตระหนักให้แก่อาจารย์ นิสิต และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งบุคคลทั่วไปจากภายนอกที่เข้ามาใช้บริการหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย

(3) กำหนดให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบงานด้านภูมิทัศน์ดำเนินการนำน้ำทิ้งหรือน้ำเสียจากการอุปโภคบริโภคที่ผ่านการบำบัดเรียบร้อยแล้ว นำมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย [ http://www.green.chula.ac.th/index.php/water/water-recycling-project/ ]

2. สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU)

มีการดำเนินการนำน้ำทิ้งหรือน้ำเสียจากการอุปโภคบริโภค มาบำบัดและนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายในบริเวณพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน โดยเฉพาะในส่วนที่ไม่ได้มีความต้องการน้ำที่มีคุณภาพระดับน้ำบริโภค แทนการใช้น้ำประปาทั้งหมดในการเติมน้ำเพื่อรักษาระดับน้ำในสระและรดน้ำต้นไม้สำหรับอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ อย่างที่ผ่านมา ซึ่งการดำเนินการนำน้ำเสียจากการใช้น้ำของผู้ที่อาศัยภายในอาคาร CU TERRACE และ CU i HOUSE กลับมาผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสีย และนำมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ภายในสวนอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ช่วยประหยัดการใช้น้ำใหม่ได้ถึงปีละ 55 ล้านลิตร และสามารถประหยัดค่าน้ำได้ปีละประมาณ 150,000 บาท อีกทั้งยังช่วยให้ต้นไม้และพืชพรรณนานาชนิดได้เติบโตเป็นปอดของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป [ https://pmcu.co.th/samyan-smart-city/ ]

3. สำนักงานหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะกรรมการนิสิตหอพักจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร่วมกันจัดทำและเผยแพร่สื่อในสื่อสังคมออนไลน์ ขอความร่วมมือนิสิตในพักอาศัยในหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วยกันปิดน้ำประหยัดไฟในพื้นที่ส่วนกลางและห้องน้ำรวม รวมถึงห้องส่วนตัวเมื่อไม่ใช้งาน เพื่อลดการปล่อยมลพิษ ลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และค่าน้ำค่าไฟลดลง เพื่อเป็นการช่วยสร้างความตระหนักและจิตสำนึกให้แก่นิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ https://www.facebook.com/share/1873kvJvUE/ ]

ที่มา:

  • สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักงานหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

หอพักบุคลากร สวัสดิการที่เอื้อต่อการพัฒนางานของคนจุฬาฯ

ในปี พ.ศ. 2563 จุฬาฯ มีบุคลากรทั้งสิ้น 8,178 คน นโยบายการจัดสวัสดิการและบุคลากรสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งที่จุฬาฯ ใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจัดหาที่พักอาศัยภายในหรือบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยในรูปแบบหอพัก เพื่อให้บุคลากรผูกพันและมีความสุขในการทำงาน เอื้อให้สามารถพัฒนางานอย่างมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มที่

CU-DSR เรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมเพื่อสังคม

การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในในทุกๆ ที่ไม่จำเป็นที่ต้องเกิดขึ้นภายในสถานศึกษาเท่านั้น สามารถเกิดขึ้นผ่านกระบวนการต่างๆ รวมถึงการเรียนรู้ผ่านการประสบการณ์การปฏิบัติ การฝึกงาน และการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ได้

โครงการปรับปรุงอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ในด้านพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำโครงการและแผนที่จะปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งโครงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยในเรื่องการจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกหลายโครงการด้วย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมาตรฐานคุณภาพน้ำและแนวทางการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

การส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมและน้ำอย่างยั่งยืน เพื่อการอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรน้ำให้มีคุณภาพที่ดี เป็นการปกป้องสุขภาพที่ดีให้กับมนุษย์ รวมไปถึงเป็นการปกป้องระบบนิเวศของพืชและสัตว์ที่ต้องอาศัยน้ำเพื่อการดำรงชีวิต ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน และช่วยส่งเสริมสังคมโลกให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ทั้ง 17 เป้าหมาย