กรณีศึกษา

หอพักบุคลากร สวัสดิการที่เอื้อต่อการพัฒนางานของคนจุฬาฯ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 2 มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรสมรรถนะสูงที่มีกระบวนการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลเชิงรุกที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย โดยในปี พ.ศ. 2563 จุฬาฯ มีบุคลากรทั้งสิ้น 8,178 คน ประกอบด้วย บุคลากรสายวิชาการ 3,036 คน และบุคลากรสายปฏิบัติการรวมไปถึงเจ้าหน้าที่สนับสนุนภารกิจด้านต่าง ๆ อีกกว่า 5,142 คน ดังนั้น นโยบายการจัดสวัสดิการและบุคลากรสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งที่จุฬาฯ ใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจัดหาที่พักอาศัยภายในหรือบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยในรูปแบบหอพัก เพื่อให้บุคลากรผูกพันและมีความสุขในการทำงาน เอื้อให้สามารถพัฒนางานอย่างมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะบุคลากรที่ไม่มีที่พักในกรุงเทพมหานคร หรือมีที่พักในกรุงเทพมหานครแต่ไม่สะดวกต่อการเดินทางมาปฏิบัติงาน โดยจัดหอพักสำหรับบุคลากรจุฬาฯ ไว้ 3 แห่ง ได้แก่

หอพักวิทยนิเวศน์ เป็นหอพักสำหรับข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย อาคารหอพักวิทยนิเวศน์เป็นอาคาร 14 ชั้น มีห้องพักชนิดมีเครื่องปรับอากาศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งนี้ห้องพักในหอพักวิทยนิเวศน์ ยังมีหลายรูปแบบรองรับทั้งการเข้าพักเป็นครอบครัว หรือเข้าพักส่วนตัว หรือการเข้าพักระยะยาว และการเข้าพักแบบรายวันในราคาย่อมเยา

หอพักจุฬานิเวศน์ เป็นหอพักสำหรับข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย อาคารหอพักจุฬานิเวศน์เป็นอาคาร 4 ชั้น มีห้องพักชนิดพัดลมพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งขนาดใหญ่แบบรองรับทั้งการเข้าพักเป็นครอบครัว และขนาดเล็กสำหรับเข้าพักส่วนตัว

หอพักจุฬานิวาส เป็นหอพักสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนตำแหน่งคนงาน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย นักการภารโรง ช่าง เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการดูแลทรัพย์สิน และการรักษาความปลอดภัย หอพักจุฬานิวาสมีลักษณะห้องพักในอาคารเป็นแบบแฟลต จำนวน 172 ห้อง รองรับการเข้าพักทั้งแบบครอบครัว และห้องรวม 4 คน ซึ่งมีค่าบำรุงรักษาหอพักตั้งแต่ 250-1,000 บาทต่อเดือน

ที่มา:

สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

https://www.hrm.chula.ac.th/newhrm/%e0%b8%ab%e0%b8%ad%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a3/

อื่นๆ

จุฬาฯ วางแนวทางแก้ปัญหาน้ำระยะยาวผ่านงานวิจัยหลากมิติ เสนอกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำยั่งยืนเพื่อชาติร่วมกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในมิติของการมุ่งแก้ปัญหาประเทศในระดับมหภาคหลายด้าน โดยการบริหารจัดการน้ำเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ  20 ปี ของประเทศไทย ที่มุ่งแก้ปัญหาแบบองค์รวมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ โดยใช้องค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการคุณภาพน้ำสร้างให้เกิดมาตรฐาน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมาตรฐานคุณภาพน้ำและแนวทางการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

การส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมและน้ำอย่างยั่งยืน เพื่อการอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรน้ำให้มีคุณภาพที่ดี เป็นการปกป้องสุขภาพที่ดีให้กับมนุษย์ รวมไปถึงเป็นการปกป้องระบบนิเวศของพืชและสัตว์ที่ต้องอาศัยน้ำเพื่อการดำรงชีวิต ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน และช่วยส่งเสริมสังคมโลกให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ทั้ง 17 เป้าหมาย

ประเทศไทยประกาศความสำเร็จซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตจากขยะเปียกชุมชนครั้งแรกของโลก

กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ UN Thailand พร้อมด้วยพันธมิตรภาคีเครือข่ายภาคเอกชนโดย KBANK ซึ่งสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยและประชาคมมุ่งสู่ “สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์”  ประกาศความสำเร็จการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 จังหวัดนำร่องเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายหลังสามารถจูงใจให้พี่น้องประชาชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการแยกขยะและจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนที่สามารถแปลงกลับมาเป็นเงินทุนให้กับหมู่บ้านและชุมชน

การส่งเสริมการทำงานทางไกลให้กับบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่งเสริมรูปแบบการทำงานทางไกลหรือการปฏิบัติงานจากระยะไกล เป็นตัวเลือกสำหรับบุคลากร ซึ่งเป็นแนวทางในการทำงานจากสถานที่ใดก็ได้ที่อยู่นอกสำนักงาน การทำงานทางไกลเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประจำวันให้กับบุคลากร และช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ เนื่องจากบุคลากรไม่จำเป็นต้องเดินทางออกไปทำงานเนื่องจากเปลี่ยนมาใช้การประชุมผ่านการประชุมทางวิดีโอ