หลักสูตรความรู้และการจัดกิจกรรมรณรงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในเรื่องของผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Photo by Markus Spiske on Unsplash
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน ทั้งในแง่ของการเกิดพิบัติภัยจากสภาพอากาศที่รุนแรงโดยตรง และภัยพิบัติอื่น ๆ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ประชาคมโลกได้ทุ่มเทความพยายามอย่างมากในการแก้ไข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ จึงมีการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรม สัมมนา เสวนารวมทั้งกิจกรรมการรณรงค์ที่เกี่ยวข้องกับทั้งเรื่องความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบ การบรรเทา การปรับตัว การลดผลกระทบ และการเตือนภัยล่วงหน้าต่าง ๆ ให้กับประชาชนทั่วไป ชุมชน สังคม และหน่วยงานทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีการรับรู้ และสามารถตอบสนอง รับมือ และปรับตัวเมื่อต่อประสบกับปัญหานี้ได้อย่างเหมาะสม
ตัวอย่างหลักสูตร การฝึกอบรม การเสวนา และกิจกรรมการรณรงค์ที่เกี่ยวข้องกับทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในช่วงปี 2566-2567 เช่น
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การวางแผนพัฒนาเมืองเพื่อเพิ่มความมั่นคง ยั่งยืนต่อสภาพอากาศ/ภูมิอากาศในระยะยาว”, 12-13 มกราคม 2566
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การวางแผนพัฒนาเมืองเพื่อเพิ่มความมั่นคง ยั่งยืนต่อสภาพอากาศ/ภูมิอากาศในระยะยาว” ภายใต้โครงการ Support to Global Covenant of Mayors for Climate and Energy (GCoM) in Asia: Capacity Building and Knowledge Sharing ให้กับ บุคลากรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล) จำนวน 20 แห่ง ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 12-13 มกราคม 2566 ณ โรงแรมบัดดี้ โอเรียนทอล ริเวอร์ไซด์ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อเมือง เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงและความเปราะบางของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการวางแผนเพื่อสร้างความมั่นคงยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจสังคมต่อสภาพภูมิอากาศในระยะยาว
การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เน้นเนื้อหาด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภายใต้หัวข้อ “การวางแผนพัฒนาเมืองเพื่อเพิ่มความมั่นคงยั่งยืนต่อสภาพอากาศ/ภูมิอากาศในระยะยาว” ขอบเขตเนื้อหาโดยสรุปในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 จะเห็นว่าการอบรมเริ่มต้นจากการสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กรอบแนวคิดการวางแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตและการกำหนดแนวทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในบริบทของการพัฒนาเมือง การคัดเลือกแนวทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และการเงินเพื่อสนับสนุนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Finance)
งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023), 7-11 สิงหาคม 2566
คณะทำงานของหน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบสารสนเทศการจัดการภัยพิบัติและความเสี่ยง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Disaster and Risk Management Information Systems: DRMIS) ที่จัดทำ the Tsunami risk evaluation and Thailand evacuation protocol development research project ได้มีโอกาสเข้าร่วมและจัดแสดงผลงานวิจัยในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ระหว่างวันที่ 7 – 11 สิงหาคม 2566
บูธ “เกมกระดานเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสึนามิ (Tsunami Preparedness Boardgame)” ตั้งอยู่ในพื้นที่การจัดงานมหกรรม กิจกรรมสำหรับผู้เข้าร่วมประกอบด้วยการเล่นเกมกระดานเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสึนามิ และการจำลองการอพยพด้วยเทคโนโลยี VR [ https://www.facebook.com/share/17xmF6k2he/ ]
การอบรมหลักสูตรการเพิ่มศักยภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ, 20 ตุลาคม 2566
ศูนย์อบรมสภาวะแวดล้อม (Envi Training Center: ETC) สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดอบรมหลักสูตร “การเพิ่มศักยภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ” ในวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ สำนักงานกลุ่มท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลบางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยมีหัวข้อการอบรม 3 หัวข้อ ประกอบด้วย (1) ผลกระทบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม (2) การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำและกรณีศึกษา: จังหวัดน่าน และ (3) แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นท์เบื้องต้น
การอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “เกมจำลองสถานการณ์น้ำท่วม” (Gaming Simulation for Flood Risk Reduction), 10 กันยายน 2567
ศูนย์อบรมสภาวะแวดล้อม (Envi Training Center: ETC) ร่วมกับ กลุ่มวิจัยความเสี่ยงทางสภาพภูมิอากาศและการรู้รับปรับฟื้น สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “เกมจำลองสถานการณ์น้ำท่วม” (Gaming Simulation for Flood Risk Reduction)ให้กับอาจารย์ นิสิต บุคลากร และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ในวันที่ 10 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุม ชั้น 9M อาคารสรรพศาสตร์วิจัย (Sabbasastravicaya) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อบรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย [ https://eric.chula.ac.th/news/684 ]
งานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room”, 9 ตุลาคม 2567
ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” ในวันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำเสนอนวัตกรรมจากคณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ ที่บูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการในการป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในเวลานี้ สามารถชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์นำท่วมแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ได้อย่างแม่นยำและทันสมัย เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือและแก้ปัญหาได้ตรงจุดและทันท่วงที [ https://www.chula.ac.th/news/192045/ ]
ที่มา:
- สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบสารสนเทศการจัดการภัยพิบัติและความเสี่ยง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
SDG ที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ
เข้าใจชุมชนคนรักช้าง สู่สถาปัตยกรรมเพื่อช้าง Elephant World จังหวัดสุรินทร์
ความตั้งใจให้พื้นที่เป็นศูนย์อนุรักษ์ช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นแหล่งศึกษาข้อมูลทางวิชาการ ผลักดันให้โลกของช้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวเกี่ยวกับช้างแบบครบวงจร
จุฬาฯ สร้างระบบส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้กลุ่มเปราะบางชายขอบด้วยระบบ Digital Health Platform
องค์การสหประชาชาติประกาศให้โรคทางช่องปากเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรโลก สถานการณ์โรคฟันผุที่ยังไม่ได้รักษา ในชุดฟันแท้เป็นโรคที่มีพบมากที่สุดในโลก ร้อยละ 35 ของประชากรโลก ในขณะที่โรคปริทันต์อักเสบระดับรุนแรงที่จะนำไปสู่การสูญเสียฟันนั้นยังมีอีกร้อยละ 11 ของประชากรโลก และอัตราการเกิดมะเร็งช่องปากยังเพิ่มขึ้นอย่างคงที่
โครงการปทุมวัน Zero Waste: เครือข่ายการจัดการขยะในกรุงเทพมหานคร ช่วยลดขยะเศษอาหารมากกว่า 2,000 ตัน
ความร่วมมือจากโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตปทุม มีเป้าหมายในการลดปริมาณขยะที่เข้าสู่กระบวนการฝังกลบที่มีมากถึง 207 ตัน/วัน เป็นการนำองค์ความรู้และประสบการณ์จากการจัดการขยะภายในถ่ายทอดสู่ภาคี เครือข่ายภาครัฐ และเอกชน ทำให้ใน 7 เดือนที่ผ่านมาประสิทธิภาพในการลดและแยกขยะภายในเขตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะขยะเศษอาหารที่แยกออกมาได้มีจำนวน 2,148 ตันและถูกจัดการอย่างเหมาะสม ซึ่งถ้าหากขยะเศษอาหารเหล่านี้ปะปนกับขยะอื่น จะสามารถก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงประมาณ 5,456 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงแพะและผลิตภัณฑ์จากน้ำนมแพะ ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
ในพื้นที่ในเขตมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรีนั้น ผู้ที่ผ่านไปมาอาจจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของภาพข้างทางใหม่ๆ แทนที่จะได้เห็นโคนมในโรงเลี้ยง หรือในไร่ แต่กลับจะเป็นฝูงแพะแทน เนื่องจากเกษตรกรแถบนี้ได้เริ่มเปลี่ยนแนวของอาชีพจากการเลี้ยงโคนมมาทำการเลี้ยงแพะนมมากขึ้น ด้วยเหตุผล คือ ขาดผู้รับช่วง ต้นทุนการเลี้ยงแพะนมต่ำกว่าโคนม ใช้พื้นที่น้อยกว่า และการดูแลที่ไม่ยุ่งยาก