จุดบริการน้ำดื่มที่สะอาด ปลอดภัย และฟรีทั่วทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำหรับทุก ๆ คน
ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีจุดบริการน้ำดื่มฟรีกว่า 130 จุด ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อบริการให้กับนิสิตและบุคลากร ตลอดจนบุคคลภายนอกที่เข้ามาติดต่อ เยี่ยมชม หรือใช้บริการหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย โดยจุดบริการน้ำดื่มนอกจากฟรีแล้ว แน่นอนว่ามหาวิทยาลัยมีการดูแลความสะอาด ปลอดภัย และมีการดูแลบำรุงรักษาตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจุดบริการน้ำดื่มฟรีเหล่านี้ส่วนหนึ่งมหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการติดตั้งให้บริการเอง และยังมีจุดบริการน้ำดื่มฟรีที่มหาวิทยาลัยร่วมดำเนินโครงการกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการติดตั้งให้บริการด้วย เช่น #BringYourOwn ซึ่งเป็นโครงการที่ร่วมมือกับบริษัท Yves Roche ในการเพิ่มจุดบริการน้ำดื่มฟรีภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย [ https://www.chula.ac.th/news/116295/ ] และมีบริษัทที่รับผิดชอบในเรื่องความสะอาด ปลอดภัย และการดูแลรักษาจุดบริการน้ำดื่ม เข้ามาตรวจมาตรฐานและเปลี่ยนไส้กรองทุก 3 เดือนรวมทั้งมีทีมงานจากภาควิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาช่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มทุก 6 เดือน เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำคัญกว่านั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี Google Map บอกพิกัดตู้กดน้ำบริการด้วย สำหรับใครที่เกิดหิวน้ำขึ้นมา แต่ไม่แน่ใจว่าตอนนี้รอบ ๆ ตัวมีตู้กดน้ำอยู่หรือเปล่า ก็แค่กดเข้าไปเช็กพิกัดจากแผนที่ แล้วเดินตามหาตู้กดน้ำที่อยู่ใกล้ที่สุดได้เลย
การกดน้ำดื่มอาจจะเป็นเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน ที่ดูเหมือนจะไม่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่อะไรมากนัก แต่จากสถิติที่เราเก็บภายในหนึ่งเดือน จากตู้น้ำแค่ 7 แห่ง ทุกคนก็ได้รวมช่วยกันลดขยะไปมากถึง 232,151 ชิ้นแล้ว ซึ่งขยะเหล่านี้ไม่ได้รวมแค่ขวด PET ที่ใส่น้ำอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงฝาพลาสติก ห่วงล็อกฝา และฉลากพลาสติก ซึ่งเป็นขยะชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่เป็นของแถมมาจากน้ำขวดด้วย นั่นหมายความว่า จริง ๆ แล้วเราอาจรวมกันลดขยะพลาสติกไปแล้วเป็นล้านชิ้นแน่นอน!
เพื่อช่วยกันลดขยะพลาสติกให้ได้มากขึ้นในปีนี้ นักดื่มทั้งหลายอย่าลืมพกกระติกน้ำมาให้พร้อม แล้วมาใช้บริการตู้กดน้ำในรั้วจุฬาฯ กันเยอะๆ นะ นอกจากจะลดขยะได้มหาศาล ยังกินน้ำได้ไม่อั้น ประหยัดเงินจากการซื้อน้ำขวดไปได้เยอะเลย
ที่มา:
- สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
SDG ที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ
การออกแบบอาคารเขียว ตามมาตรฐาน TREES กับการสร้างอาคารใหม่และการปรับปรุงอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน
ภายในพื้นที่ กว่า 1,153 ไร่ ในการดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ส่วนอาคารเรียน และอาคารที่ใช้เพื่อการสนับสนุนด้านการเรียนการสอนในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่า 200 อาคาร การใช้อาคารดังกล่าว มีการใช้พลังงานและทรัพยากรในการใช้งานและดูแลรักษาเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงให้ความสำคัญและกำหนดแนวทางในการก่อสร้างอาคารใหม่หรือการปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ โดยส่งเสริมให้มีการออกแบบอาคารที่ช่วยประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำ และมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด
โครงการปรับปรุงอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ในด้านพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำโครงการและแผนที่จะปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งโครงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยในเรื่องการจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกหลายโครงการด้วย
ประเทศไทยประกาศความสำเร็จซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตจากขยะเปียกชุมชนครั้งแรกของโลก
กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ UN Thailand พร้อมด้วยพันธมิตรภาคีเครือข่ายภาคเอกชนโดย KBANK ซึ่งสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยและประชาคมมุ่งสู่ “สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์” ประกาศความสำเร็จการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 จังหวัดนำร่องเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายหลังสามารถจูงใจให้พี่น้องประชาชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการแยกขยะและจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนที่สามารถแปลงกลับมาเป็นเงินทุนให้กับหมู่บ้านและชุมชน
“MindSpace” แพลตฟอร์มออนไลน์ใหม่แก้ปัญหาสุขภาพจิตนิสิต
ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนิสิตทุกระดับที่กำลังศึกษาอยู่ ราว 37,000 คน นิสิตจำเป็นต้องเรียนออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และได้รับผลกระทบในหลายมิติโดยเฉพาะด้านสภาพจิตใจ Chula Student Wellness Center จึงสำรวจภาวะสุขภาพจิตของนิสิตในปีการศึกษาล่าสุด พบว่า ร้อยละ 15 ของนิสิตทั้งหมดหรือประมาณ 5,550 คน ต้องการความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาและจิตแพทย์