กรณีศึกษา

ร่วมมือกับ NGOs เพื่อขับเคลื่อน SDGs ผ่านกิจกรรมการอาสาสมัครของนิสิต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับเป้าหมาย SDGs ทั้งหมด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับหลายองค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร(NGOs) โดยนิสิตมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเป้าหมาย SDGs ในด้านต่างๆ โดยเข้าร่วมในโครงการอาสาสมัครต่างๆ

Chula Right Livelihood SummerSchool (CURLS)

[ https://wellbeingsummer.wordpress.com/ ]

Chula Right Livelihood (CURLS) เกิดความร่วมมือจากหลายๆองค์กร ซึ่งร่วมด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Right Livelihood College, Royal University of Bhutan และมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป

CURLS มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมแนวคิดเรื่อง Right Livelihood คือการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องบนโลกใบนี้ โดยผู้เรียนจะได้ร่วมเรียนและร่วมแบ่งปันประสบการณ์ไปด้วยกัน (Co-Teaching Experience) รวมไปถึงการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิของ Right Livelihood Award, สนทนาแลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรม, ทำวิจัยเชิงปฏิบัติ, ลงพื้นที่, ทัศนศึกษา ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์และสื่อสารกันแบบไม่มีกรอบจำกัด ผ่านบทสนทนาทางปัญญาที่ให้ข้อมูลและสร้างแรงบันดาลใจและการไตร่ตรองตนเอง ซึ่งนำไปสู่แรงผลักดันในอนาคตเพื่อความยั่งยืน

Co-creating Eco-Peace (Initial) Asian Peoples’ Consultation on Global Citizenship and Food as a Commons (กิจกรรมออนไลน์: 24 มิถุนายน 2565)

[ https://wellbeingsummer.wordpress.com/2022/07/19/chula-right-livelihood-summer-school-2022/ ]

CURLS 2022 ตั้งใจที่จะเริ่มสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยงประเด็นที่มีความคล้ายคลึงกัน (Connecting the Commons (CTC) network) ในเอเชีย (ตะวันออกเฉียงใต้) (โดยเฉพาะประเด็นเรื่องอาหารที่มีความคล้ายคลึงกัน) ภายใต้กรอบของ ECO-PEACE, การรณรงค์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนโลกและความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม: การสำรวจผลกระทบของการเคลื่อนไหวของทรัพยากรร่วมในทวีปเอเชีย

พร้อมกันเราสำรวจพื้นที่ร่วมกันในการสร้าง Eco-Peace, แนวคิดพื้นฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยที่มนุษย์ต้องมีความรับผิดชอบต่อการดูแลระบบนิเวศ  เพราะโลกคือดาวที่ให้กำเนิดมนุษย์ คือ “ชุมชนของชีวิต” ที่เราทุกคน รวมถึงคนรุ่นต่อไป เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องพึ่งพากันและกัน

Asian Students Environment Platform (ASEP)

โครงการ ASEP จัดขึ้นโดยข้อตกลงระหว่าง AEON Environmental Foundation และ United Nations Environment Programme (UNEP) และสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (SCBD) ด้วยโปรแกรมนี้ นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาจากประเทศในเอเชีย สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แบ่งปันมุมมองซึ่งกันและกัน และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ

นักศึกษามหาวิทยาลัยจากประเทศในเอเชียรวมตัวกันเพื่อหารือและจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อมโลกที่เกินขอบเขตของประเทศ พร้อมเรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและคุณค่าของแต่ละประเทศ จนถึงปัจจุบัน มีนักศึกษามหาวิทยาลัยทั้งหมด 591 คน จาก 10 ประเทศเข้าร่วมโครงการนี้

ที่มา: AEON Environmental Foundation
[ https://www.aeon.info/ef/en/biodiversity/asep/ ]

สรุป งาน ASEP 2565 (ออนไลน์)

  • หัวข้อ: การสร้างสังคมรีไซเคิล
  • กำหนดการ: วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2565 – วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2565
  • ประเทศเจ้าภาพ: ญี่ปุ่น (ออนไลน์)
  • มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม (ทั้งหมด 9 แห่ง):

Royal University of Phnom Penh (กัมพูชา), Tsinghua University (จีน), University of Indonesia (อินโดนีเซีย), Waseda University (ญี่ปุ่น), Korea University (เกาหลีใต้), University of Malaya (มาเลเซีย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ประเทศไทย), University of the Philippines (ฟิลิปปินส์), Vietnam National University Hanoi (เวียดนาม)

  • ผู้เข้าร่วม: มหาวิทยาลัยและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 84 คน คัดเลือกจากมหาวิทยาลัย 9 แห่งข้างต้น (9 แห่งจากแต่ละโรงเรียน)
  • ผู้จัดงาน: มูลนิธิ AEON Environmental
  • มหาวิทยาลัยเจ้าภาพ: Waseda University (ญี่ปุ่น)
  • ความร่วมมือ: Waseda University AEON TOWA Research Center (ญี่ปุ่น)
ที่มา: ASEP for THAIteam
[ https://www.facebook.com/THAIteamtoASEP/ ]

นิสิตจุฬาฯ เข้าร่วมโครงการ UNICEF Voices of Youth

[ https://www.inter.chula.ac.th/news/13132/ ]

นิสิตจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอประสบการณ์ในการเป็นอาสาสมัครให้กับองค์การสหประชาชาติ (UN) ในโครงการ UNICEF Voices of Youth [ https://www.voicesofyouth.org/blog/thai-youth-discover-purpose-through-un-volunteerism ]

ที่มา:

  • คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

เปิดพื้นที่สีเขียวของจุฬาฯ กับการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับชุมชน

เมื่อก้าวเข้ามาในย่านจุฬา สวนหลวง-สามย่าน จะสัมผัสได้ถึงพื้นที่สีเขียวภายในย่านที่มีขนาดใหญ่และจะขยายขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรามีเป้าหมายในการพัฒนาเมืองให้เป็น “GREEN & CLEAN CITY” โดยมีหลากหลายนโยบายที่จะช่วยพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมรอบด้านอย่างยั่งยืน

จุฬาฯ ปลุกท่องเที่ยวน่านโตสมดุลและยั่งยืน ชู “เที่ยวกรีน กินคลีน เสพศิลป์เมืองน่าน”

“น่าน” มีวิสัยทัศน์ประจำจังหวัด คือ “เมืองแห่งความสุข เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ธรรมชาติสมบูรณ์ การเกษตรมั่งคั่ง ชุมชนเข้มแข็ง ท่องเที่ยวยั่งยืน” จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืนเพื่อให้เป็นเมืองที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน

จุฬาฯ หนุนใช้นวัตกรรมกู้วิกฤตประมงไทย ผุดวิธีแก้ประมงผิดกฎหมาย ช่วยชาติปลดล็อคใบเหลือง IUU

ต่อยอดผลสำเร็จงานวิจัยการจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาประมงแบบ IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงไทย

พิพิธภัณฑ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: แหล่งเรียนรู้โลกกว้างที่ทุกคนเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

ภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของคณะและสถาบันสำคัญที่ทั้งสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นิสิตผลิตบัณฑิตให้พร้อมออกไปรับใช้สังคมแล้ว จุฬาฯ ยังได้เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ศึกษาหาความรู้เสริมเพิ่มเติมทักษะต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างเพลิดเพลินตามอัธยาศัยในแบบสรรสาระ (Edutainment) ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย