สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการเสวนาในซีรีส์ SDG14 ชีวิตในน้ำ (SDG 14 Life Below Water) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านระบบออนไลน์ ด้วยโปรแกรม Zoom meeting ในหัวข้อต่าง ๆ ตลอดเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมา อาทิ

  • Marine debris and microplastics: current research and techniques
  • ประเทศไทยกับการฟื้นฟูปะการังในอนาคต
  • Current coral reef restoration in a changing world
  • Science for sustainable use of the ocean: SDG 14 life below water

โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัยทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าร่วมการเสวนา และมีผู้เข้าร่วมการเสวนาประมาณกว่า 200 คน ทั้งนี้ การจัดเสวนาซีรีส์ SDG14 ชีวิตในน้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยไทยและนักวิจัยชาวต่างประเทศทำการวิจัยร่วมกันและมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญทางวิชาการ รวมถึงส่งเสริมการวิจัยในประเทศไทยให้กว้างขวาง เกิดผลงานที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า มั่นคง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและผลประโยชน์ที่ประเทศควรจะได้รับ ซึ่งในหัวข้อ “ประเทศไทยกับการฟื้นฟูปะการังในอนาคต” นั้น ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐ อาทิ ดร.ลลิตา ปัจฉิม จากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คุณวิกานดา พ่วงเจริญ จากกรมประมง และนักวิจัยชาวไทย อาทิ ดร.นลินี ทองแถม นักวิชาการอิสระ ผศ.ดร.นรินทร์รัตน์ คงจันทร์ศรี จากมหาวิทยาลัยบูรพา และ ศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์ ร่วมการเสวนา

นอกจากนี้ ยังเป็นการประสานความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับต่างประเทศด้านต่าง ๆ ทั้งการดำเนินการเชิงรุกเพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือ ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง เพื่อถ่ายทอดความรู้เชิงวิชาการจากต่างประเทศแก่สาธารณชน ให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน การทำวิจัย การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและประเทศ ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนภารกิจของกองการต่างประเทศและนโยบายของ วช. ให้บรรลุเป้าหมาย โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัยชาวต่างประเทศมาร่วมการเสวนา อาทิ นักวิจัยจากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) Dr. Tali Vardi กับหัวข้อ “Current Coral Reef Restoration in a Changing World” และผู้แทนจาก ยูเนสโก กรุงเทพฯ (UNESCO Bangkok: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ) ผู้อำนวยการ มร. Shigeru Aoyagi และเลขาธิการ ดร.Vladimir Ryabinin ร่วมกับ มร. Wenxi Zhu หัวหน้าสํานักเลขาธิการคณะอนุกรรมาธิการสมุทรศาสตร์ระหวางรัฐบาลภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตก (UNESCO-IOC/ WESTPAC) พร้อมกับหัวหน้าผู้แทนไจก้าประจำประเทศไทย (JICA Thailand) มร. Takahiro Morita และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงยังมีผู้เชี่ยวชาญชาวไทย จากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) อธิการบดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอเล็กซ์ เรนเดลล์ ทูตสันถวไมตรีแห่งชาติด้านสิ่งแวดล้อม จากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ร่วมเสวนาในครั้งนี้

ที่มา:

คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง

อื่นๆ

ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ (EID): ภารกิจวิจัย วินิจฉัย ป้องกัน รักษา และควบคุมโรคอุบัติใหม่เพื่อมวลมนุษยชาติ

ช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาโลกเผชิญหน้ากับการระบาดของโรคอุบัติใหม่ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทั้งไวรัสซิกา ไวรัสอีโบลา ไวรัสเมอร์ส และล่าสุดที่มวลมนุษยชาติกำลัง ประสบอยู่นั้นคือโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ระบาดใหญ่จนมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 219 ล้านคน และคร่าชีวิตคนหลากชาติพันธุ์ไปแล้วกว่า 4.55 ล้านคน

หลากหลายกิจกรรมการศึกษาเพื่อสร้างความยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดสู่ชุมชนและสังคม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นใช้องค์ความรู้ที่มีหลากหลายศาสตร์ในการพัฒนาชุมชนและสังคมให้ดีขึ้น การดำเนินการด้านหนึ่งของมหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมด้านการศึกษาให้กับสังคมในวงกว้างทั้งกับกลุ่มศิษย์เก่า ประชาชนทั่วไป ผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น ผู้พลัดถิ่นเพื่อให้ส่งเสริมให้คนทุกกลุ่มมีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถเป็นกำลังคนที่มาช่วยในการพัฒนาชุมชนและสังคมต่อไปได้ รวมทั้งเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วย

Park @ Siam พื้นที่สีเขียวของจุฬาฯ ใจกลางเมืองเพื่อชุมชน

“Park @ Siam” พื้นที่สีเขียวใจกลางย่านการค้าสยามสแควร์ เป็นสวนสาธารณะแห่งเดียวในย่านการค้าที่มีชื่อเสียง ภายใต้การดูแลและบริหารจัดการโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU)

พิพิธภัณฑ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: แหล่งเรียนรู้โลกกว้างที่ทุกคนเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

ภายในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของคณะและสถาบันสำคัญที่ทั้งสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นิสิตผลิตบัณฑิตให้พร้อมออกไปรับใช้สังคมแล้ว จุฬาฯ ยังได้เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ศึกษาหาความรู้เสริมเพิ่มเติมทักษะต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างเพลิดเพลินตามอัธยาศัยในแบบสรรสาระ (Edutainment) ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย