กรณีศึกษา

“Chula-Cov19” วัคซีน mRNA สัญชาติไทยขยับเข้าใกล้ความสำเร็จ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยตลอดช่วงสองปีที่ผ่านมาทำให้เราได้เห็นศักยภาพของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยรับมือกับวิกฤติด้านสาธารณสุขระดับโลกนี้ได้ดี  ทั้งความพร้อมด้านการบริหารจัดการสถานที่ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนการนำทักษะ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมล้ำสมัย เข้ามาใช้ดูแลพี่น้องประชาชนตามมาตรฐานสากลและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดตามมาตรการที่องค์การอนามัยโลกประกาศไว้  หากแต่การระงับยับยั้งเชื้อไวรัสร้ายที่ยังคงกลายพันธุ์ได้อยู่ ทุกเมื่อยังจำเป็นต้องรอให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้รับการพัฒนาจนสามารถนำมาใช้ได้ในเร็ววัน เราจึงได้เห็นภาพความสำเร็จในแต่ละขั้นตอนของภาคีเครือข่ายนักวิจัยทั่วโลกที่ได้ระดมสรรพกำลังพัฒนาวัคซีนขึ้นหลายแพลตฟอร์มทั่วโลกอัพเดทออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงวัคซีน mRNA “ChulaCov19” จากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://www.chulavrc.org/ ด้วยเช่นกัน  

หลังจากที่ได้เคยเผยผลสำเร็จการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA “ChulaCov19” ในลิงจนได้ผลดี ซึ่งเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ช่วงกลางปี พ.ศ.2563  และกำลังรอหน่วยงานนรัฐไฟเขียวให้ทดลองในมนุษย์ (จิตอาสา) ช่วงปลายปี 2563

ล่าสุด วัคซีนชนิด mRNA สัญชาติไทยรุ่นแรก ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับวัคซีน Pfizer และ Moderna ได้เริ่มทดสอบในมนุษย์แล้ว เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 โดยความร่วมมือกันของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทดสอบฉีดวัคซีนให้กับอาสาสมัครสุขภาพดี ระยะที่ 1และระยะที่ 2 เพื่อดูการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีน ChulaCov19

ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า “ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นสถาบันการวิจัยทางการแพทย์ที่ได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยทางการแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกมาร่วมกันพัฒนา วิจัย ต่อยอด คิดค้น ผลิตวัคซีน เพื่อใช้ในการป้องกันโรคต่างๆ ให้กับประชาชน โดยล่าสุด การพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 วันนี้เป็นวันแรกที่ทดสอบในอาสาสมัครในระยะที่ 1 และต่อเนื่องไปในระยะที่ 2 ภายใต้การควบคุมดูแลจากหลายภาคส่วนรวมถึงมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์วิจัยวัคซีนมาดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น และมั่นใจในความปลอดภัยสูงสุดของการทคสอบฉีควัคซีน”

ด้าน ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการกล่าวว่า “การพัฒนาวัคชีน ChulaCov19 ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน อาทิ สถาบันวัดซีนแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) ทุนศตวรรษที่สอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเงินบริจาคจากสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ กองทุนบริจาควิจัยวัคซีน สภากาชาดไทย”

อนึ่ง พันธกิจของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ที่ว่า ‘Discover, develop and deliver safe, effective and affordable vaccines’ ได้ปรากฏผลงานเด่นเป็นที่ประจักษ์ชัดมาแล้วมากมายโดยเฉพาะงานด้านการป้องกันโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อชนิดอื่น ได้แก่ เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) โรคไข้เลือดออกชนิด (Dengue) โรคฉี่หนู (Leptospirosis) และภูมิแพ้ไรฝุ่นในบ้าน (House dust mite) และได้เคยเผยแพร่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยสู่สาธารณะไปแล้วกว่า 19 ฉบับ มีความร่วมมือกับหน่วยงานภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในหลายระดับ  ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ และยังมีความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยภายในประเทศกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายวิจัยวัคซีนระหว่างประเทศ ได้แก่ Vaccine Research Center (VRC) National Institute of Allergy and Infectious Diseases (NIAID) National Institute of Health (USA); Department of Adjuvant and Antigen Research, U.S., Military HIV Research Program (MHRP) และ Walter Reed Army Institute of Research (WRAIR)  เราจึงไม่แปลกใจเลยว่า เหตุใดการพัฒนาวัคซีนที่ปกติแล้วเคยใช้เวลานานนับสิบปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถพัฒนาแต่ละขั้นตอนสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว 

ที่มา:

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula VRC)

บทความที่เกี่ยวข้องฉบับก่อนหน้า:

http://www.sustainability.chula.ac.th/report/938/

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

จุฬาฯ กับการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งใหญ่ ใน Chula Sustainability Fest 2022

ในปี 2022 ผลงานที่มีส่วนในการสร้างความยั่งยืนของจุฬาฯ จะไม่อยู่แค่ใน SDGs Report แต่ได้ออกมาสื่อสารในงาน Chula Sustainability Fest 2022 เมื่อวันที่ 2-4 กันยายน 2565 เพื่อสร้าง Commitment สื่อสารนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาฯ Connect เชื่อมโยงประชาคมจุฬาฯ และ Inspired สร้างแรงบันดาลใจให้ช่วยกันผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน

นวัตกรรมหุ่นยนต์เพื่อผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้นเรื่อย ๆ  ราว 500,000 ราย โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยใหม่มากกว่า 300,000 ราย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าร้อยละ 70 จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูหลังเข้ารับการรักษา ส่งผลค่ารักษาพยาบาลที่หากต้องใช้รักษาผู้ป่วยเหล่านี้สูงกว่า 2 หมื่นล้านบาทต่อปี และยังพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอีกจำนวนมากไม่มีสิทธิ์เข้าถึงการรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ

เปิดภารกิจฟื้นฟูชายฝั่งมาบตาพุด แนวทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง บนเนื้อที่ทั้งหมด 12,568 ไร่ ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้เป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศ และเป็นพื้นที่การลงทุนของอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ที่สามารถเชื่อมโยงไปยังอุตสาหกรรมการผลิตมากมาย อาทิ อุปกรณ์เครื่องใช้ บรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงยังช่วยส่งเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

ความร่วมมือในการสำรวจระดับนานาชาติ “ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและการรับรู้ผลกระทบจากโรคโคโรน่าไวรัส 2019 (โควิด-19)”

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ ได้รับความไว้วางใจและร่วมมือกับสมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก (APRU) ในการสำรวจระดับนานาชาติ “ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและการรับรู้ผลกระทบจากโรคโควิด-19 (COVID-19)” โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและประเมินผลกระทบของโรคโควิด-19  ซึ่งมุ่งหวังที่จะช่วยในการพัฒนาแนวทางในการจัดการกับการระบาดของโรคโควิด-19 และเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการต่อโรคระบาดที่คล้าย ๆ กัน ในอนาคต