กรณีศึกษา

ร่วมมือกับ NGOs เพื่อขับเคลื่อน SDGs ผ่านกิจกรรมการอาสาสมัครของนิสิต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับเป้าหมาย SDGs ทั้งหมด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับหลายองค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร(NGOs) โดยนิสิตมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเป้าหมาย SDGs ในด้านต่างๆ โดยเข้าร่วมในโครงการอาสาสมัครต่างๆ

Asian Students Environment Platform (ASEP)

โครงการ ASEP จัดขึ้นโดยข้อตกลงระหว่าง AEON Environmental Foundation และ United Nations Environment Programme (UNEP) และสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (SCBD) ด้วยโปรแกรมนี้ นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาจากประเทศในเอเชีย สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แบ่งปันมุมมองซึ่งกันและกัน และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ โดยในปี 2021 Universitas Indonesia ประเทศอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัด Asian Student Environment Platform โดยงานนี้ได้จัดเป็นเวลาสามวันและเนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 งานนี้จึงได้จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ โดยนิสิต จุฬาฯ ได้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเรียนรู้ความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและคุณค่าทางวัฒนธรรมของแต่ละประเทศพร้อมระดมสมองและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ในปีนี้มีนักศึกษา 90 คน จาก 9 ประเทศเข้าร่วมโครงการ หลังจากเข้าร่วมการฟังการบรรยาย นักศึกษาจะถูกแบ่งออกเป็นทีมที่คละประเทศ จำนวน 10 ทีมสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มุมมอง โดยจะมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เข้าไปร่วมในกลุ่ม เพื่อให้การอภิปรายลึกซึ้งยิ่งขึ้น [ http://www.sa.chula.ac.th/asian-students-environment-platform-asep-2021-indonesia-online/ ]

FOOD AS A COMMONS: บรรลุความมั่นคงด้านอาหารโดยพลังของนิสิต นักศึกษา และชุมชน

Chula Right Livelihood (CURLS) เกิดความร่วมมือจากหลายๆองค์กร ซึ่งร่วมด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Right Livelihood College, Royal University of Bhutan และมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป

CURLS มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมแนวคิดเรื่อง Right Livelihood คือการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องบนโลกใบนี้ โดยผู้เรียนจะได้ร่วมเรียนและร่วมแบ่งปันประสบการณ์ไปด้วยกัน (Co-Teaching Experience) รวมไปถึงการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิของ Right Livelihood Award, สนทนาแลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรม, ทำวิจัยเชิงปฏิบัติ, ลงพื้นที่, ทัศนศึกษา ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์และสื่อสารกันแบบไม่มีกรอบจำกัด ผ่านบทสนทนาทางปัญญาที่ให้ข้อมูลและสร้างแรงบันดาลใจและการไตร่ตรองตนเอง ซึ่งนำไปสู่แรงผลักดันในอนาคตเพื่อความยั่งยืน [ https://wellbeingsummer.wordpress.com/2021/11/22/chula-right-livelihood-summer-school-2021/ ]

CURLS 2021 ได้จัดทำโครงการ (รูปแบบออนไลน์: 19-20 ตุลาคม 2564) “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Right Livelihood Summer School: FOOD AS A COMMONS: ACHIEVING FOOD SECURITY THROUGH STUDENT ACTIVISM, FOOD CITIZENSHIP, AND COMMUNITY ENTERPRISES”.

โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนและร่วมมือ เพื่อสนับสนุนระบบอาหารที่ยั่งยืนและเป็นธรรมในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ระบบอาหารที่ยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาสิ่งและแวดล้อมและฟื้นฟูระบบนิเวศที่จะนำไปการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปสู่เศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงและบริโภคอาหารสุขภาพได้ โครงการนี้จะใช้เป็นจุดเริ่มในการเคลื่อนไหวด้านอาหารที่นำโดยนิสิตในระยะยาวและจะขยายวงกว้างให้มีผู้เข้าร่วมจากทั่วทุกมุมโลก

ที่มา:

  • คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

การพัฒนาเครือข่ายชุมชนเกษตรด้วยระบบเกษตรแบบยั่งยืน

จุฬาฯ จัดทำโครงการ “การพัฒนาเครือข่ายชุมชนเกษตรด้วยระบบเกษตรแบบยั่งยืน” โครงการนี้ส่งเสริมการสร้างทักษะและความรู้ด้านระบบการผลิตและแนวทางการตลาดที่จะผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายกลุ่มเกษตรกร

เสวนา SDG 14 Life Below Water

จุฬาฯ จัดการเสวนาในซีรีส์ SDG14 ชีวิตในน้ำ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัยทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าร่วมการเสวนา และมีผู้เข้าร่วมการเสวนาประมาณกว่า 200 คน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการดำเนินโครงการด้านความยั่งยืนเพื่อสังคม

โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ ของคณะ สถาบันวิจัย และหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ในการดำเนินการ ซึ่งเน้นการถ่ายทอดนวัตกรรม องค์ความรู้ การบูรณาการการเรียนการสอนและการวิจัยออกสู่สังคม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของสังคมประเทศไทยสู่การพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนในระยะยาว

โครงการปทุมวัน Zero Waste: เครือข่ายการจัดการขยะในกรุงเทพมหานคร ช่วยลดขยะเศษอาหารมากกว่า 2,000 ตัน

ความร่วมมือจากโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตปทุม มีเป้าหมายในการลดปริมาณขยะที่เข้าสู่กระบวนการฝังกลบที่มีมากถึง 207 ตัน/วัน เป็นการนำองค์ความรู้และประสบการณ์จากการจัดการขยะภายในถ่ายทอดสู่ภาคี เครือข่ายภาครัฐ และเอกชน ทำให้ใน 7 เดือนที่ผ่านมาประสิทธิภาพในการลดและแยกขยะภายในเขตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะขยะเศษอาหารที่แยกออกมาได้มีจำนวน 2,148 ตันและถูกจัดการอย่างเหมาะสม ซึ่งถ้าหากขยะเศษอาหารเหล่านี้ปะปนกับขยะอื่น จะสามารถก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงประมาณ 5,456 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า