กรณีศึกษา

“ผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ให้ก้าวทันอนาคต” โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย

กว่าทศวรรษที่ผ่านมา สถาบันอุดมศึกษาตระหนักถึง “การทำงานวิถีใหม่ในอนาคต” ที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ฉับไว และพลิกผันไปสู่สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนของสังคมดิจิทัล ล่าสุดในปี 2564 – 2565 ภาคการศึกษา รวมทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ดำเนินการต่อเนื่องใน “โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษา ไทย” อย่างเป็นรูปธรรม จากเดิมที่สถาบันอุดมศึกษาไทยทำได้ดีที่สุดเพียงแค่ซ่อมแซมและทดลองแก้ปัญหาในบางส่วนเพื่อตอบสนองและท้าทาความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลานั้น หรือใน “เชิงรับ” สู่ การปฏิบัติ “เชิงรุก” บนพื้นฐานแนวคิดระบบการอุดมศึกษาในปัจจุบัน ที่ต้องเปลี่ยนแปลงจากรากฐานเดิม

เมื่อประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ที่คนวัยทำงานจำนวนมากตกงานและไม่มีงานทำ คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจการบริหารโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ จึงตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมที่สถาบันการศึกษาต้องมีบทบาทพัฒนา ให้กำลังคนเหล่านั้นสามารถกลับมาประกอบอาชีพได้ใหม่โดยเร็วขึ้นโดยเน้นเป้าหมายพัฒนาหลักสูตรอุดมศึกษา ที่ไม่เน้นการศึกษาที่ให้ปริญญา หรือ Non-Degree Higher Education แต่เร่งผลิตกำลังคนวัยทำงานเพื่อตอบสนองวิถีอาชีพใหม่และการทำงานใหม่ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ให้เป็นกำลังคนที่สามารถพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง ได้ต่อเนื่อง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงระลอกใหม่ในอนาคต

“ทักษะที่จำเป็น” เป็นองค์ประกอบสำคัญในหลักสูตรที่ประกอบด้วย 3 ทักษะย่อยดังนี้ คือ 1. ทักษะร่วม 2. ทักษะทางเทคนิค 3. ทักษะเฉพาะ เพื่อให้บัณฑิตสามารถสร้างนวัตกรรม

ยกระดับเศรษฐกิจของประเทศไทยออกจากรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืนตามนโยบายปฏิรูปประเทศไทย 4.0

สำหรับ “แนวทางดำเนินการ” โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ นั้นมีลำดับที่ชัดเจน คือ

  1. โครงการคัดเลือกมหาวิทยาลัยหลายสาขาที่มีประสบการณ์ดำเนินการในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ เพื่อทำหน้าที่พี่เลี้ยง แนะนำการออกแบบหลักสูตรให้มหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการ
  2. ทีมอบรมซึ่งกำหนดโดยคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจโครงการ จัดTraining the Trainer ให้มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงเรื่องหลักการออกแบบหลักสุตรอุดมศึกษาเชิงผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome Based Cirriculum) โดยเริ่มจาก “ทักษะที่จำเป็น” ทั้ง 3 ทักษะ
  3. มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงจัดทำหลักสูตร Non-Degree สำหรับพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ภายใต้การช่วยเหลือและสนับสนุนจากการติดตามและประเมินผล
  4. มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมจัดทำหลักสูตร Non-Degree เพื่อพัฒนากำลังคนตามความต้องการของภาคการผลิต บริการ รัฐ และชุมชน และสังคม หลังสถานการณ์ COVID-19 ตามหลักการออกแบบเชิงผลลัพธ์การเรียนรู้ (OBE) ที่เรียนรู้จากการโค้ชของมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง  

[ https://www.nxtgenhedb.com/ ]

โดยในช่วงปี 2564 – 2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการเห็นชอบและเปิดหลักสูตรระยะสั้นแบบ Non-Degree ผ่านโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ (ได้รับประกาศนียบัตรเมื่อเข้าอบรมและผ่านการประเมินครบตามที่กำหนด) ให้กับนิสิต บุคลากร ผู้บริหารและบุคคลทั่วไปภายนอกที่สนใจและต้องการเพิ่มพูนความรู้ พัฒนาทักษะเพื่อนำไปใช้ในการทำงาน ซึ่งจะเรียนแบบผสมผสานทั้งรูปแบบออนไลน์ (Online) และ ในห้องเรียน (On site) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในหลายหลักสูตร เช่น

หลักสูตร “การคิดออกแบบ การโค้ชชิ่ง และการออกแบบชั้นเรียนนวัตกรรม เพื่อสร้างและยกระดับทักษะการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาสำหรับ การเรียนรู้ออนไลน์และออฟไลน์” เป็นหลักสูตรเพื่อสร้างและยกระดับทักษะการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาห้องเรียนแบบออนไลน์และออฟไลน์ในโรงเรียน เปิดอบรม ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม – 26 พฤศจิกายน 2564  เหมาะสำหรับผู้บริหารและบุคลากรด้านการศึกษา รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่สนใจ

หลักสูตร “การคิดออกแบบ การโค้ชชิ่ง และการออกแบบชั้นเรียนนวัตกรรม เพื่อสร้างและยกระดับทักษะการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาสำหรับ การเรียนรู้ออนไลน์และออฟไลน์”

หลักสูตร “ประกาศนียบัตรการผลิตภาพยนตร์ดิจิทัลสำหรับครู บุคลากรสถานศึกษา และ บุคคลทั่วไป”  เป็นหลักสูตร เพื่อสอนผู้เรียนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาสื่อเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการสอน การเรียนรู้ และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เปิดอบรม ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม – 3 กันยายน 2565  เหมาะสำหรับผู้บริหารและบุคลากรด้านการศึกษา รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่สนใจ

นับเป็นหนึ่งในโครงการที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อ ส่งเสริมให้ทุกคนเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เปิดโอกาสให้เข้าถึงทรัพยากรความรู้ที่ก้าวทันโลกยุคใหม่ และนำไปต่อยอดได้ เพื่อการพัฒนาทั้งตัวเราและโลกอย่างยั่งยืน

ที่มา:

  • สำนักบริหารวิชาการ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขยายกระบบการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นแนวคิดที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่เน้นทางด้านการเพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ชีวิต ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน ซึ่งแตกต่างจากเรียนในระบบทั่วไป

จุฬาฯ กับรายวิชา SDGs 101

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการ ของสหประชาชาติ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อสังคม ทั้งในระบบชุมชน ประเทศ และโลก  ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้จึงได้ดำเนินการจัดทำสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง SDGs 101 : 17 เป้าหมายเปลี่ยนโลกสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

โครงการจุฬาเวิร์ส: แพลตฟอร์มโลกเสมือนจริง เพื่อชุมชนวิถีใหม่อย่างยั่งยืน ด้วยกรณีใช้งานด้านการแพทย์ การศึกษาตลอดชีวิต และการพาณิชย์

แพลตฟอร์มจุฬาเวิร์ส ประกอบด้วยระบบสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และกรณีใช้งานในด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต การแพทย์และการพาณิชย์ ซึ่งในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ChulaVerse World (CV-World)  มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโจทย์ด้านการใช้ชีวิตและการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัย ได้มีการพัฒนาระบบการเชื่อมต่อบนมาตรฐานที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ และการพัฒนากรณีใช้งานเพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในด้านทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การบริการด้านการแพทย์รูปแบบใหม่ และการพาณิชย์ที่เชื่อมโยงกับภาคเอกชน สำหรับด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ChulaVerse Learn (CV-Learn)

“มายคอร์สวิลล์” ดิจิทัลแฟลตฟอร์มใหม่ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทย

จุฬาฯ นำนวัตกรรมเยียวยาสังคมเพื่อให้การเรียนรู้ของคนไทยไม่สะดุดหยุดชะงัก แม้อยู่ในสภาวะคับขันจากมาตรการล็อกดาวน์เมืองยาวนานจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19