กรณีศึกษา

BLOCK 28 : Start-up District โครงการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน

การพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน บริเวณหมอน 28 ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เป็นอาคารพาณิชย์มีสภาพเก่าทรุดโทรมมาก และบางส่วนของโครงการ มีการทิ้งร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์จึงมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนให้ทันต่อความต้องการในปัจจุบัน เป็นย่านสำนักงานสำหรับธุรกิจเกิดใหม่ (Creative Startup) ปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ให้มีพื้นที่ว่างและพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสม สะอาดสวยงามและปลอดภัย เป็น Startup District ชื่อโครงการ BLOCK 28

BLOCK 28 “CREATIVE & STARTUP VILLAGE” ย่านสตาร์ทอัพแห่งใหม่ใจกลางเมืองที่มีคอนเซปต์เป็น SANDBOX เชื่อมต่อทุกไลฟ์สไตล์ของคนสร้างสรรค์และเป็น community ที่ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมและการเชื่อมโยงทางธุรกิจเกิดเป็น Eco-System ของธุรกิจสตาร์ทอัพ และเป็นแหล่งที่รวบรวมเหล่าสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในหลากหลายแขนง สร้างประโยชน์ให้กับหลายวงการที่กำลังจะเป็นตัวขับเคลื่อนความเจริญทางธุรกิจของประเทศ ทั้งทางการแพทย์ การเงิน การศึกษา รวมถึง TusPark  WHA ศูนย์บ่มเพาะนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสตาร์ทอัพ อีกทั้งยังมีพื้นที่ CO-WORKING SPACE ให้บริการ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์สำหรับ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการที่ทำงานแบบ flexible Working House สำหรับนิสิตและบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือกลุ่มคนทำงานทั่วไปในชุมชนที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ยังรองรับการเติบโตของกลุ่ม Creative Startup ด้านต่างๆ ที่เริ่มพัฒนาธุรกิจจากกลุ่มธุรกิจของนิสิตในรั้วมหาวิทยาลัย เติบโตขยับขยายมายัง community ที่ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย เกิดการแลกเปลี่ยนและพูดคุยต่อยอดพัฒนาธุรกิจรวมทั้งร้านอาหาร ร้านค้า และบริการต่างๆ ที่จะดึงดูดผู้คนมาใช้บริการ ภายในย่านมากขึ้นกระตุ้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนโดยรอบอีกด้วย

ที่มา:

สำนักงานจัดการทรัพย์สิน  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

“MindSpace” แพลตฟอร์มออนไลน์ใหม่แก้ปัญหาสุขภาพจิตนิสิต

ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนิสิตทุกระดับที่กำลังศึกษาอยู่ ราว 37,000 คน นิสิตจำเป็นต้องเรียนออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และได้รับผลกระทบในหลายมิติโดยเฉพาะด้านสภาพจิตใจ Chula Student Wellness Center จึงสำรวจภาวะสุขภาพจิตของนิสิตในปีการศึกษาล่าสุด พบว่า ร้อยละ 15 ของนิสิตทั้งหมดหรือประมาณ 5,550 คน ต้องการความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาและจิตแพทย์

นิสิตกับการบริหารงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับนิสิตในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นให้นิสิตมีบทบาทในการดูแลสิทธิและความเป็นอยู่ของตนเอง เพื่อให้เสียงของนิสิตได้รับการรับฟังและสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจึงเปิดโอกาสให้นิสิตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิสิตโดยตรง

บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนับสนุนการสร้างนวัตกร นวัตกรรม ผู้ประกอบการ และธุรกิจ ในประชาคมจุฬาฯ มุ่งสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมให้มีความสมบูรณ์

การดำเนินการเรื่องการเข้าถึงบริการดูแลสุขภาพทางกายและสุขภาพจิตที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในปัจจุบันการการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมทางการศึกษา ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย ได้ดำเนินมาตรการที่ครอบคลุมเพื่อให้บริการด้านสุขภาพกายและการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตแก่บุคลากรและนิสิตของมหาวิทยาลัย