กรณีศึกษา

บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย มุ่งมั่นขับเคลื่อนสังคมด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมผ่านวิสัยทัศน์ “Innovations for Society” ขานรับนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ได้ประกาศแผนส่งเสริมการร่วมลงทุนของรัฐและเอกชนในธุรกิจนวัตกรรม และจัดทำระเบียบมาตรการส่งเสริมร่วมลงทุนในโครงการเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ตาม พ.ร.บ. การส่งเสริมการวิจัยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม (ววน.) มาตรา 31 โดยกลไกบริษัทที่มีรายได้จากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก (Holding Company) เพื่อต่อยอดงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้และการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุ่งส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้นำมาพัฒนานวัตกรรมที่สำคัญของประเทศได้ต่อไป

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ก่อตั้ง “บริษัท ซียู เอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด” (CU ENTERPRISE CO., LTD.) ขึ้น  เพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกร นวัตกรรม ผู้ประกอบการ และธุรกิจ ในประชาคมจุฬาฯ มุ่งสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมให้มีความสมบูรณ์ พร้อมทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกันกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม และผลักดันให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมให้มีศักยภาพและเป็นต้นแบบให้กับมหาวิทยาลัยไทยสร้างคุณค่าให้กับสังคมได้ต่อไป นอกจากนี้  มหาวิทยาลัย ยังสนับสนุนให้แต่ละคณะจัดตั้ง Holding Company ขึ้น อาทิ บริษัท ซี.ยู.เดนท์ เอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด (C.U.DENT) ของคณะทันตแพทยศาสตร์, บริษัท ซียู เว็ท เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (CU VET) ของคณะสัตวแพทยศาสตร์, บริษัท ซียู ฟาร์ม จำกัด (CU Pharm) ของคณะเภสัชศาสตร์  เป็นต้น เพื่อลงทุนพัฒนางานวิจัย ต่อยอดสร้างมูลค่าและรายได้ใหม่ ขยายขีดความสามารถให้กับกิจการ Startups ในสังกัดของคณะเข้มแข็งยิ่งขึ้น

baiyaphytopharm.com

ในขณะเดียวกัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้จัดตั้ง “มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์” (CU ENTERPRISE FOUNDATION) เพื่อดำเนินกิจกรรมระดมทุนสนับสนุนงานวิจัยเชิงพาณิชย์ให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพที่ได้รับการบ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) กว่า 194 ทีม เสริมให้การดำเนินงานของบริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด คล่องตัวขึ้น โดยมีตัวอย่างการสนับสนุน บริษัทสตาร์ทอัพจุฬาฯ อย่าง “บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด” เจ้าของเทคโนโลยีการผลิตโปรตีนจากใบพืช เพื่อนำมาใช้พัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้สามารถผลิตได้เองภายในประเทศทุกขั้นตอน ผ่านการจัดทำโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” ระดมเงินบริจาคตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 500 ล้านบาท จากคนไทย 1 ล้านคน เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชน

จากการดำเนินงานที่ไม่เพียงสอดรับกับนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แต่ยังสามารถดึงงานวิจัยจากหิ้งออกสู่ห้างได้จริง และยังเป็นประโยชน์ต่อสังคม นำไปสู่การเป็นต้นแบบของการปฏิบัติที่แท้จริง จึงเชื่อได้ว่า “ความเป็นผู้นำ” ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นจะเป็นรากฐานแห่งการพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สากลได้ต่อไป

ที่มา : บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

การดำเนินการนโยบายด้านความยั่งยืนกับ Outsource ของจุฬาฯ

มหาวิทยาลัยขยายการดำเนินการนโยบายด้านการบริหารจัดการขยะให้ครอบคลุมถึงร้านค้า ซึ่งเป็น Outsource ผู้ให้บริการอาหาร (food service) ในโรงอาหารส่วนกลางของมหาวิทยาลัยด้วย โดยระบุในสัญญาร้านค้า ให้ปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ด้านการจัดการขยะ โดยต้องให้ความร่วมมือกับโครงการ Chula Zero Waste ที่มีเป้าหมายในการลดการก่อขยะ ส่งเสริมการแยกขยะนำกลับไปใช้ประโยชน์ และการปลูกฝังจิตสำนึกส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัยให้แก่นิสิต คณาจารย์ บุคลากรจุฬาฯ

จุฬาฯ กับหลากหลายรูปแบบการเดินทางที่ยังยืน (Chula Smart Mobility)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน (PMCU) ขับเคลื่อนโครงการ “สามย่านสมาร์ทซิตี้” (Samyan Smart City) ผ่าน “7 Smart” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 7มิติ ได้แก่ Smart Environment , Smart Mobility , Smart Living, Smart Energy, Smart Economy, Smart People และ Smart Governance รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน

จุฬาฯ สนับสนุนให้ทุกคน มีสุขภาพดีถ้วนหน้า

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้บริการด้านสุขภาพที่หลากหลายแก่นิสิต บุคลากร และประชาชนทั่วไป รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรม การศึกษา และการติดตามดูแลตนเองโดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตร

Center of SHE คุมเข้มความปลอดภัยแล็บจุฬาฯ นับพันด้วย “ChemTrack & WasteTrack 2016

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการมีความสำคัญอย่างมากในมหาวิทยาลัย ไม่มีใครอยากประสบอุบัติเหตุ ได้รับอันตรายจากสารเคมีที่สะสมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว การปลูกฝังให้นิสิตผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยมีจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานก่อนจะจบออกไปประกอบวิชาชีพในการทำงานในหน่วยงานต่างๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีห้องปฏิบัติการหรือห้อง Lab มากกว่า 1,000 ห้อง จึงดำเนินการด้านระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและการกำจัดสารเคมี ของเสียอันตรายอย่างถูกวิธีมากว่า 20 ปี