End hunger, achieve food security and improved nutrition and promote sustainable agriculture.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านหนึ่งของมหาวิทยาลัย คือ ยุทธศาสตร์ Impactful Growth และมีการสื่อสารถ่ายทอดยุทธศาสตร์นี้ลงไปยังหน่วยงานระดับต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งการกำหนดให้เป็นหนึ่งใน OKR หลักของมหาวิทยาลัยด้วย
โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ ของคณะ สถาบันวิจัย และหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ในการดำเนินการ ซึ่งเน้นการถ่ายทอดนวัตกรรม องค์ความรู้ การบูรณาการการเรียนการสอนและการวิจัยออกสู่สังคม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของสังคมประเทศไทยสู่การพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนในระยะยาว
เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อผลการวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงจากปัจจัยคุกคามทางสภาพอากาศต่อการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลักในแต่ละพื้นที่ย่อย โดยมีผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนจากสถาบันการศึกษา และภาครัฐ เข้าร่วมการประชุม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นใช้องค์ความรู้ที่มีหลากหลายศาสตร์ในการพัฒนาชุมชนและสังคมให้ดีขึ้น การดำเนินการด้านหนึ่งของมหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมด้านการศึกษาให้กับสังคมในวงกว้างทั้งกับกลุ่มศิษย์เก่า ประชาชนทั่วไป ผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น ผู้พลัดถิ่นเพื่อให้ส่งเสริมให้คนทุกกลุ่มมีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถเป็นกำลังคนที่มาช่วยในการพัฒนาชุมชนและสังคมต่อไปได้ รวมทั้งเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วย
ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีจุดบริการน้ำดื่มฟรีกว่า 130 จุด ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อบริการให้กับนิสิตและบุคลากร ตลอดจนบุคคลภายนอกที่เข้ามาติดต่อ เยี่ยมชม หรือใช้บริการหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย โดยจุดบริการน้ำดื่มนอกจากฟรีแล้ว แน่นอนว่ามหาวิทยาลัยมีการดูแลความสะอาด ปลอดภัย และมีการดูแลบำรุงรักษาตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
จังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ และเป็นพื้นที่มีความพิเศษที่พึ่งพาฐานของความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร เพื่อสนับสนุนการเกษตรอันเป็นเศรษฐกิจฐานรากโครงการนี้ได้สร้างระบบบริหารข้อมูลอัจฉริยะในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของจังหวัดฉะเชิงเทรา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในมิติของการมุ่งแก้ปัญหาประเทศในระดับมหภาคหลายด้าน โดยการบริหารจัดการน้ำเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย ที่มุ่งแก้ปัญหาแบบองค์รวมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ โดยใช้องค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการคุณภาพน้ำสร้างให้เกิดมาตรฐาน
วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ปูม้าแบบฟาร์มบนบก ช่วยเพิ่มอัตราการรอดของลูกพันธุ์ปูม้าจากการสลัดไข่ของแม่ปูม้า ซึ่งกลุ่มชาวประมงเรือเล็กหรือชาวประมงพื้นบ้านจะนำแม่ปูม้าที่มีไข่ติดกระดองมาฝากไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกเพื่อให้ไข่ฟักตัวเป็นลูกปูม้าวัยอ่อนแทนที่จะนำออกขายทันที
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การอนุรักษ์ป่าไม้ในประเทศไทยต้องต่อสู้กับความเชื่อที่ว่า การเผาป่าจะทำให้เกิดเห็ดที่ชาวบ้านสามารถนำไปสร้างรายได้ จึงทำให้มีการแอบเผาป่าอย่างผิดกฎหมายเพื่อนำเห็ดไปขาย การฟื้นฟูผืนป่าที่เสียหายจากการโดนเผานั้นยากกว่าการฟื้นฟูป่าไม้ที่เกิดจากสาเหตุอื่น เนื่องจากจุลินทรีย์ สารอาหาร และความชื้นในดินถูกทำลายไปด้วย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ทรงความรู้ ถือเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้ที่สำคัญทางการชลประทานที่พร้อมถ่ายทอดสู่นิสิตนำไปสู่การฝึกปฏิบัติจริงในการแก้ปัญหาด้านการจัดการน้ำให้กับชุมชนห่างไกล ผ่านค่ายวิศวพัฒน์ ซึ่งเป็นโครงการค่ายวิศวกรรมอาสาพัฒนาชนบทที่พร้อมปลูกฝังความเป็นผู้นำทั้งในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้แก่นิสิตจิตอาสาที่เข้าร่วมค่าย ด้วยปัญหาความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ของบ้านเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
ช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้กับท้องถิ่น เพื่อให้มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับชุมชนช่วยกันรักษาและเพิ่มพูนระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ โดยเฉพาะระบบนิเวศในภาวะเสี่ยงอันเนื่องมาจากการพัฒนาเมืองในเขตภาคกลางของประเทศไทย
Necessary cookies are essential for the functioning of the website, allowing you to use and browse the site normally. You cannot disable these cookies in our website's system.
คุกกี้เหล่านี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ เช่น จำนวนผู้เข้าชม, หน้าเว็บที่ได้รับความนิยม และพฤติกรรมการท่องเว็บ ซึ่งช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์ปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ได้
คุกกี้เหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ โดยจดจำการตั้งค่าที่ผู้ใช้เคยกำหนดไว้ เช่น ชื่อผู้ใช้, ภาษา, ภูมิภาค หรือการปรับแต่งเว็บไซต์ตามความต้องการ