กรณีศึกษา

โครงการพัฒนาความมั่นคงในการจัดการสิ่งแวดล้อมของจังหวัดฉะเชิงเทราด้วยระบบบริหารข้อมูลอัจฉริยะการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

โครงการนี้มีเป้าหมายในการสร้างระบบบริหารข้อมูลอัจฉริยะการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของ Platform บริหารจัดการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัดที่พร้อมรองรับการขยายผลการใช้งานไปยังจังหวัดอื่นได้ในอนาคต โดยพิจารณาเริ่มต้นโครงการในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กำลังมุ่งสู่การพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart city) และเป็นพื้นที่มีความพิเศษที่พึ่งพาฐานของความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร จำเป็นต้องมีการวางโครงสร้างพื้นที่ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองจากอุตสาหกรรมในยุคอุตสาหกรรม 3.0 ไปเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่หรือ 4.0

โดยการดำเนินงานของโครงการได้มุ่งเน้นไปที่การบริหารจัดการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณการใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการคุณภาพน้ำด้วยการบริหารวัฏจักรน้ำ การจัดการคุณภาพอากาศด้วยโมเดลคาดการณ์ทางคณิตศาสตร์ และการจัดการขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรมด้วยแนวทาง Circular Economy

โครงการนี้ได้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานสำหรับการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติเสื่อมโทรมให้กับชุมชนและเกษตรกร การติดตามเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำที่ใช้เป็นน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในแม่น้ำบางปะกง และการใช้หลักการวัฏจักรน้ำคุณค่าเพื่อนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ใหม่ให้ตรงตามคุณภาพน้ำของกิจกรรมภาคชุมชนและการเกษตร จะช่วยบรรเทาการขาดแคลนน้ำและเป็นการพัฒนาความมั่นคงทางด้านน้ำและอาหารของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย

ระบบบริหารข้อมูลอัจฉริยะฯ ด้านการจัดการคุณภาพอากาศ สภาวการณ์มลพิษอากาศ ได้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งที่มาและความเป็นไปของมลพิษอากาศ โดยระบบบริหารข้อมูลอัจฉริยะในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดจะช่วยให้เกิดความตระหนักและตื่นรู้เกี่ยวกับความสามารถในการรองรับ (carrying capacity) ของบรรยากาศของพื้นที่ฉะเชิงเทราทั้งในด้านของประชาชน ภาครัฐ และผู้ประกอบกิจการพลังงาน และช่วยสนับสนุนภาครัฐในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ ให้การตัดสินใจพัฒนาพื้นที่เกิดบนฐานของข้อมูลและหลักวิชาการยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ โครงการฯได้กำหนดแนวทางในการบริหารจัดการขยะของอำเภอบางปะกงในเชิงบูรณาการ เพื่อเพิ่มโอกาสในการปรับรูปแบบการบริหารจัดการขยะแบบเดิมไปสู่การจัดการขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรมในรูปแบบ Circular Economy ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีอัจฉริยะ เช่น ระบบตรวจนับขยะในลำน้ำ ระบบถังขยะอัจฉริยะ เพื่อให้เกิดการติดตามการจัดการขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรมได้ และสามารถนำข้อมูลที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งในการเลือกเทคโนโลยีและเทคนิคทางสังคมในการเข้าไปจัดการกับขยะในแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเมืองฉะเชิงเทราให้เป็นต้นแบบของเมืองอัจฉริยะด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคต

ที่มา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:

อื่นๆ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับภารกิจสู้วิกฤตน้ำมันรั่วไหลพิทักษ์ท้องทะเลไทย

ปัญหาระบบนิเวศชายฝั่งทะเลไทยได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลของน้ำมันดิบหลากหลายรูปแบบยังคงได้รับความสนใจจากประชาชนในวงกว้างทุกครั้งที่ถูกนำเสนอโดยสื่อมวลชน  เพราะในทุกปี ผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งหรือบริเวณป่าชายเลนในประเทศไทยจะพบคราบน้ำมันและก้อนน้ำมันบนชายฝั่งซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิต และกระทบการท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จุฬาฯ อวดสองนวัตกรรมคืนชีวิตใหม่ให้ปะการังไทย ผสมเทียมสำเร็จครั้งแรกของโลก พร้อมชูเครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างปะการังเทียม

ปัญหาการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วของระบบนิเวศของมหาสมุทรถือเป็นภาวะวิกฤติการณ์ที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลกต่างให้ความสนใจอย่างมากกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ในระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งได้รับผลกระทบจากทางตรงและทางอ้อมจากความผิดปกติของสภาพอากาศ

“Chula-Cov19” วัคซีน mRNA สัญชาติไทยขยับเข้าใกล้ความสำเร็จ

ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยตลอดช่วงสองปีที่ผ่านมาทำให้เราได้เห็นศักยภาพของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยรับมือกับวิกฤติด้านสาธารณสุขระดับโลกนี้ได้ดี  ทั้งความพร้อมด้านการบริหารจัดการสถานที่ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนการนำทักษะ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมล้ำสมัย เข้ามาใช้ดูแลพี่น้องประชาชนตามมาตรฐานสากลและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดตามมาตรการที่องค์การอนามัยโลกประกาศไว้

นวัตกรรมเครื่องบำบัดโรคระบบทางเดินหายใจอัตราการไหลสูงในภาวะฉุกเฉินการระบาด COVID-19

ใน พ.ศ. 2564 ทั่วโลกเกิดการระบาดของ COVID-19  เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดที่เกิดจากเชื้อกลายพันธุ์อัลฟาและเดลตา ทำให้มีผู้ติดเชื้อยืนยันเกิน 363,000 รายและผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 รายในประเทศไทยถึงเดือนกรกฎาคม อาการรุนแรงของผู้ป่วยนำมาสู่เครื่องช่วยหายใจและเครื่องบำบัดโรคอัตราการไหลสูงขาดแคลนเนื่องจากมีต้องการทั่วโลก