กรณีศึกษา

ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและการรับรู้ผลกระทบจากโรคโคโรน่าไวรัส 2019 (โควิด-19): การสำรวจระดับนานาชาติ

การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ทั่วโลกยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีวัคซีนแล้ว แต่ไวรัสก็ยังกลายพันธุ์ได้อยู่ และยังส่งผลกระทบต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก ดังนั้นการหาข้อมูลหรือการเก็บข้อมูลที่จะเก็บประเด็นผลกระทบต่างๆจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลในวงกว้างระดับภูมิภาค จึงเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในภาคีเครือขายของ  Association of Pacific Rim Universities (APRU) ในหน่วย Global Health Program ซึ่งมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกทั้งหมด 60 มหาวิทยาลัย จาก 19 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จึงได้มีการทำโครงการสำรวจข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและการรับรู้ผลกระทบจากโรคโคโรน่าไวรัส 2019 (โควิด-19) ขึ้น

Center of SHE คุมเข้มความปลอดภัยแล็บจุฬาฯ นับพันด้วย “ChemTrack & WasteTrack 2016

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการมีความสำคัญอย่างมากในมหาวิทยาลัย ไม่มีใครอยากประสบอุบัติเหตุ ได้รับอันตรายจากสารเคมีที่สะสมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว การปลูกฝังให้นิสิตผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยมีจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานก่อนจะจบออกไปประกอบวิชาชีพในการทำงานในหน่วยงานต่างๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีห้องปฏิบัติการหรือห้อง Lab มากกว่า 1,000 ห้อง จึงดำเนินการด้านระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและการกำจัดสารเคมี ของเสียอันตรายอย่างถูกวิธีมากว่า 20 ปี

นวัตกรรมโดรนใต้น้ำจากจุฬาฯ กับภารกิจพิทักษ์ท้องทะเลไทย

วิทยาศาสตร์ของมวลมนุษยชาติเป็นไปด้วยความล่าช้า และทำให้ความจริงของธรรมชาติประการสำคัญยังมิถูกพิสูจน์ทราบตามหลักฐานทางวิชาการ แต่เมื่อเทคโนโลยีเจริญรุดหน้า มนุษย์จึงพัฒนานวัตกรรมอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle : UAV) และนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในภารกิจสำรวจทางธรรมชาติเพื่อให้ผู้สำรวจได้รับความสะดวกสบายและเกิดความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน

โครงการออกกำลังกายอย่างปลอดภัยด้วยเทรนเนอร์ส่วนบุคคลและวิทยาศาสตร์การกีฬา อาสาปันสุข (สุขภาพกาย และสุขภาพใจ)

คนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บเพิ่มสูงขึ้น โดยสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้สำรวจและเล็งเห็นแนวโน้มมาตั้งแต่ปี 2558 พบความชุกของคนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ถึงร้อยละ 30.5 ภาวะอ้วน ร้อยละ 7.5 ภาวะการสูบบุหรี่ ร้อยละ 21.3 และการดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 36.2 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุที่ขาดการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ

เปิดภารกิจฟื้นฟูชายฝั่งมาบตาพุด แนวทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง บนเนื้อที่ทั้งหมด 12,568 ไร่ ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้เป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศ และเป็นพื้นที่การลงทุนของอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ที่สามารถเชื่อมโยงไปยังอุตสาหกรรมการผลิตมากมาย อาทิ อุปกรณ์เครื่องใช้ บรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงยังช่วยส่งเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

รื้อถอนแท่นปิโตรเลียมกลางอ่าวไทยอย่างไร ให้ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องทะเลไทยยังคงอยู่

เร่งสร้างองค์ความรู้ให้เพียงพอและพร้อมใช้นำมาบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเลนอกชายฝั่งอ่าวไทย โดยเฉพาะในกระบวนการวางแผนหาแนวทางที่เหมาะสม และตัดสินใจเชิงนโยบายที่เกี่ยวกับกิจกรรมการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมในอ่าวไทย

จุฬาฯ กับรายวิชา SDGs 101

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการ ของสหประชาชาติ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อสังคม ทั้งในระบบชุมชน ประเทศ และโลก  ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้จึงได้ดำเนินการจัดทำสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง SDGs 101 : 17 เป้าหมายเปลี่ยนโลกสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

การดำเนินการนโยบายด้านความยั่งยืนกับ Outsource ของจุฬาฯ

มหาวิทยาลัยขยายการดำเนินการนโยบายด้านการบริหารจัดการขยะให้ครอบคลุมถึงร้านค้า ซึ่งเป็น Outsource ผู้ให้บริการอาหาร (food service) ในโรงอาหารส่วนกลางของมหาวิทยาลัยด้วย โดยระบุในสัญญาร้านค้า ให้ปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ด้านการจัดการขยะ โดยต้องให้ความร่วมมือกับโครงการ Chula Zero Waste ที่มีเป้าหมายในการลดการก่อขยะ ส่งเสริมการแยกขยะนำกลับไปใช้ประโยชน์ และการปลูกฝังจิตสำนึกส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัยให้แก่นิสิต คณาจารย์ บุคลากรจุฬาฯ

จุฬาฯ สร้างยุวมัคคุเทศก์ชาวมอแกน สร้างหลักสูตรต่อลมหายใจวิถีชาวเลอันดามัน

ชาวเล เป็น 1 ใน 56 กลุ่มชาติพันธุ์ของไทย ถือเป็นชาวน้ำที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ ระนอง กระบี่ พังงา ภูเก็ต สตูล มีวิถีพึ่งธรรมชาติ จับปลาทำประมงในท้องทะเลเพื่อยังชีพ เชี่ยวชาญการเดินเรือจากการดูทิศทางโดยอาศัยดวงดาวมานานนับร้อยปี

จุฬาฯ หวังเพิ่มประชากรเต่าทะเล หนุนตั้งเครือข่ายคุ้มครองแหล่งวางไข่ในอ่าวไทย

จำนวนเต่าทะเลในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 แม้รัฐบาลจะประกาศใช้กฎหมาย กำหนดเขตหวงห้าม ประกาศขึ้นทะเบียนเต่าทะเลในบัญชีรายชื่อของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งพันธุ์พืชป่าและสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) และพยายามสำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งอาศัยของเต่าทะเล เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการอนุรักษ์เต่าทะเลก็ตาม แต่จำนวนของเต่าทะเลในประเทศไทยยังคงลดลงจนใกล้ถึงจุดวิกฤต จากจำนวนมากกว่า 2,500 รังต่อปี เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงปีละ 300-400 รังต่อปี เท่านั้น

การจัดซื้อของจุฬาฯ กับเรื่องของความอย่างยั่งยืน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีการใช้วัสดุสำนักงานและวัสดุสิ้นเปลืองจำนวนมาก การจัดหาวัสดุดังกล่าว ดำเนินการภายใต้นโยบายการให้ความสำคัญต่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายสำคัญด้านมหาวิทยาลัยสีเขียวที่มีการรณรงค์และสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญมาโดยตลอด ทั้งในประชาคมชาวจุฬาฯ ชุมชนโดยรอบ พื้นที่ต่อเนื่องและสาธารณะ

เปิดพื้นที่สีเขียวของจุฬาฯ กับการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับชุมชน

เมื่อก้าวเข้ามาในย่านจุฬา สวนหลวง-สามย่าน จะสัมผัสได้ถึงพื้นที่สีเขียวภายในย่านที่มีขนาดใหญ่และจะขยายขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรามีเป้าหมายในการพัฒนาเมืองให้เป็น “GREEN & CLEAN CITY” โดยมีหลากหลายนโยบายที่จะช่วยพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมรอบด้านอย่างยั่งยืน