กรณีศึกษา

รื้อถอนแท่นปิโตรเลียมกลางอ่าวไทยอย่างไร ให้ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องทะเลไทยยังคงอยู่

การขาดองค์ความรู้ด้านการดูแลรักษาและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกชายฝั่งทะเลของไทยอาจกำลังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ประเทศไทยต้องสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในท้องทะเล จนนําไปสู่การสูญเสียโอกาสพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพทางทะเลอย่างเหมาะสมหลังการรื้อถอนแท่นและสิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมหลายแหล่งกลางอ่าวไทยที่ทำหน้าที่ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียมกลางอ่าวไทยมากกว่า 3 ทศวรรษ กำลังทยอยหมดอายุสัมปทานลง ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีแท่นหลุมผลิตและขุดเจาะปิโตรเลียม รวมถึงแท่นที่พักอาศัยในอ่าวไทย มากกว่า 400 แท่น ยิ่งทําให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงสถาบันการศึกษาจําเป็นต้องเร่งสร้างองค์ความรู้ให้เพียงพอและพร้อมใช้นำมาบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเลนอกชายฝั่งอ่าวไทย โดยเฉพาะในกระบวนการวางแผนหาแนวทางที่เหมาะสม และตัดสินใจเชิงนโยบายที่เกี่ยวกับกิจกรรมการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมในอ่าวไทย

ศ.ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้เริ่ม “โครงการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายขีวิภาพทางทะเลนอกชายฝั่ง : กรณีศึกษาแท่นปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่จะหมดอายุสัมปทาน” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) โดยก่อนหน้านี้ประเทศไทยเคยสำรวจและวิเคราะห์องค์ความรู้ที่มีอยู่เฉพาะบนบกและบริเวณชายฝั่งไม่เกิน 3 ไมล์ทะเลเท่านั้น ในขณะที่องค์ความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในเขตทะเลนอกชายฝั่งที่ประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะเป็นสิ่งที่ประเทศไทยจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ด้วยเช่นกัน เพื่อบริหารความเสี่ยงที่ประเทศไทยอาจจะสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล สิ่งมีชีวิตไม่เสี่ยงสูญพันธุ์ และสูญเสียโอกาสพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพทางทะเลหลังเข้าสู่กระบวนการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียมในทะเลซึ่งตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันหนึ่งในแนวทางที่ประเทศไทยได้นำมาใช้ในการจัดการกับสิ่งติดตั้งฯ ที่หมดอายุสัมปทาน คือการนำส่ิงเหล่านี้่ไปใช้ประโยชน์ทางทะเลเชิงอนุรักษ์ในรูปแบบของการจัดทำปะการังเทียมจากขาแท่น (Rig to Reef) ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ไม่ขัดกับข้อกฎหมาย

แต่อย่างไรก็ตาม วิธีดำเนินการรื้อถอนสิ่งติดตั้งไม่ได้จำเป็นจะต้องใช้แนวทางเดียวกันทั้งหมด การคงอยู่ของสิ่งติดตั้งบางแห่งอาจมีศักยภาพและมีบทบาทเป็นระบบนิเวศบริการ (Ecosystem Services) ที่จะช่วยรักษาความหลากหลายชีวภาพทางทะเลทั้งในบริเวณชายฝั่งและนอกชายฝั่งได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การเตรียมความพร้อมศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับความหลากหลายชีวภาพทางทะเลในเขตนอกชายฝั่งที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับระบบนิเวศไปจนถึงระดับพันธุกรรมที่เหมาะสม และศึกษาความเป็นไปได้ในการวางสิ่งติดตั้งไว้ที่เดิม (leaving in place) จึงถือเป็นองค์ความรู้ที่มีความสำคัญที่จะทำให้หน่วยงานรับผิดชอบหลักทั้งภาครัฐและภาคเอกชนนำไปใช้พิจารณากระบวนการจัดการกับสิ่งติดตั้งได้อย่างเป็นระบบ และที่มากไปกว่านั้น องค์ความรู้เรื่องความหลากหลายชีวภาพในทะเลบริเวณสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียมที่หมดอายุสัมปทานนั้นยังถือเป็นฐานข้อมูลที่จะนำไปสู่การประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและการจัดทำบัญชีรายการเชิงลึก (Incentory Biodiversity) ของประเทศไทย ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในระดับต่าง ๆ ได้อีกด้วย การมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการรักษาระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในท้องทะเลไทยผ่านงานวิจัยโครงการนี้ จึงเป็นความพยายามพิทักษ์รักษาและขยายระบบนิเวศที่มีอยู่และความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบนิเวศที่ถือว่ากำลังอยู่ภายใต้ภัยคุกคาม

ที่มา:

สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง:  

อื่นๆ

การเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนพิการขาขาดทั่วประเทศไทยด้วยนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส (sPace)

โครงการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนพิการขาขาดทั่วประเทศไทยด้วยนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว) ผ่านสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) โดยได้นำเอาผลงานวิจัยนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส มาผลิตเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้พิการขาขาดจำนวน 300 ราย ได้เข้าถึงเท้าเทียมคุณภาพสูง โดยแจกจ่ายผ่านโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 22 แห่ง

ความร่วมมือในการสำรวจระดับนานาชาติ “ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและการรับรู้ผลกระทบจากโรคโคโรน่าไวรัส 2019 (โควิด-19)”

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ ได้รับความไว้วางใจและร่วมมือกับสมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก (APRU) ในการสำรวจระดับนานาชาติ “ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและการรับรู้ผลกระทบจากโรคโควิด-19 (COVID-19)” โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและประเมินผลกระทบของโรคโควิด-19  ซึ่งมุ่งหวังที่จะช่วยในการพัฒนาแนวทางในการจัดการกับการระบาดของโรคโควิด-19 และเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการต่อโรคระบาดที่คล้าย ๆ กัน ในอนาคต

“Chula-Cov19” วัคซีน mRNA สัญชาติไทยขยับเข้าใกล้ความสำเร็จ

ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยตลอดช่วงสองปีที่ผ่านมาทำให้เราได้เห็นศักยภาพของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยรับมือกับวิกฤติด้านสาธารณสุขระดับโลกนี้ได้ดี  ทั้งความพร้อมด้านการบริหารจัดการสถานที่ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนการนำทักษะ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมล้ำสมัย เข้ามาใช้ดูแลพี่น้องประชาชนตามมาตรฐานสากลและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดตามมาตรการที่องค์การอนามัยโลกประกาศไว้

จุฬาฯ กับการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งใหญ่ ใน Chula Sustainability Fest 2022

ในปี 2022 ผลงานที่มีส่วนในการสร้างความยั่งยืนของจุฬาฯ จะไม่อยู่แค่ใน SDGs Report แต่ได้ออกมาสื่อสารในงาน Chula Sustainability Fest 2022 เมื่อวันที่ 2-4 กันยายน 2565 เพื่อสร้าง Commitment สื่อสารนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาฯ Connect เชื่อมโยงประชาคมจุฬาฯ และ Inspired สร้างแรงบันดาลใจให้ช่วยกันผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน