กรณีศึกษา

การส่งเสริมการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ในด้านน้ำสะอาดและสุขาภิบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำโครงการและดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้อาจารย์ นิสิต และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญและรู้จักใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า

ตัวอย่างโครงการและการดำเนินงานในช่วงปี 2566-2567

1. สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มีการดำเนินโครงการเพื่อเป็นการช่วยประหยัดน้ำและการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการ

(1) ปรับเปลี่ยนก๊อกน้ำในห้องน้ำให้เป็นระบบเซนเซอร์ปล่อยน้ำแบบอัตโนมัติ เพื่อช่วยลดการกดน้ำในแต่ละครั้ง และช่วยในเรื่องการลืมปิดน้ำหลังจากการใช้งานเพื่อเป็นการช่วยประหยัดน้ำ รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนสุขภัณฑ์เป็นแบบช่วยประหยัดน้ำ ภายในอาคารในความรับผิดชอบทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัย

(2) มีการติดแผ่นประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและรู้จักใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าภายในบริเวณห้องน้ำ และห้องซักล้าง เพื่อเป็นการสื่อสารสร้างความตระหนักให้แก่อาจารย์ นิสิต และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งบุคคลทั่วไปจากภายนอกที่เข้ามาใช้บริการหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย

(3) กำหนดให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบงานด้านภูมิทัศน์ดำเนินการนำน้ำทิ้งหรือน้ำเสียจากการอุปโภคบริโภคที่ผ่านการบำบัดเรียบร้อยแล้ว นำมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย [ http://www.green.chula.ac.th/index.php/water/water-recycling-project/ ]

2. สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU)

มีการดำเนินการนำน้ำทิ้งหรือน้ำเสียจากการอุปโภคบริโภค มาบำบัดและนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายในบริเวณพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน โดยเฉพาะในส่วนที่ไม่ได้มีความต้องการน้ำที่มีคุณภาพระดับน้ำบริโภค แทนการใช้น้ำประปาทั้งหมดในการเติมน้ำเพื่อรักษาระดับน้ำในสระและรดน้ำต้นไม้สำหรับอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ อย่างที่ผ่านมา ซึ่งการดำเนินการนำน้ำเสียจากการใช้น้ำของผู้ที่อาศัยภายในอาคาร CU TERRACE และ CU i HOUSE กลับมาผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสีย และนำมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ภายในสวนอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ช่วยประหยัดการใช้น้ำใหม่ได้ถึงปีละ 55 ล้านลิตร และสามารถประหยัดค่าน้ำได้ปีละประมาณ 150,000 บาท อีกทั้งยังช่วยให้ต้นไม้และพืชพรรณนานาชนิดได้เติบโตเป็นปอดของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป [ https://pmcu.co.th/samyan-smart-city/ ]

3. สำนักงานหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะกรรมการนิสิตหอพักจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร่วมกันจัดทำและเผยแพร่สื่อในสื่อสังคมออนไลน์ ขอความร่วมมือนิสิตในพักอาศัยในหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วยกันปิดน้ำประหยัดไฟในพื้นที่ส่วนกลางและห้องน้ำรวม รวมถึงห้องส่วนตัวเมื่อไม่ใช้งาน เพื่อลดการปล่อยมลพิษ ลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และค่าน้ำค่าไฟลดลง เพื่อเป็นการช่วยสร้างความตระหนักและจิตสำนึกให้แก่นิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ https://www.facebook.com/share/1873kvJvUE/ ]

ที่มา:

  • สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำนักงานหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อื่นๆ

การส่งเสริมการทำงานทางไกลให้กับบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่งเสริมรูปแบบการทำงานทางไกลหรือการปฏิบัติงานจากระยะไกล เป็นตัวเลือกสำหรับบุคลากร ซึ่งเป็นแนวทางในการทำงานจากสถานที่ใดก็ได้ที่อยู่นอกสำนักงาน การทำงานทางไกลเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประจำวันให้กับบุคลากร และช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ เนื่องจากบุคลากรไม่จำเป็นต้องเดินทางออกไปทำงานเนื่องจากเปลี่ยนมาใช้การประชุมผ่านการประชุมทางวิดีโอ

ดูแลคุณภาพชีวิตนิสิตครบวงจรในวิกฤตโควิด-19 ด้วยนวัตกรรม Pre-vent Protect Cure

เพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นดั่งบ้านที่ปลอดภัย ของนิสิตกว่า 37,000 คน ฝ่าวิกฤตนี้ด้วยนวัตกรรมจุฬาฯ ทั้ง ป้องกัน ปกป้อง และรักษา และออกมาตรการดูแลคุณภาพชีวิตนิสิตจุฬาฯ อย่างครบวงจร

Center of SHE คุมเข้มความปลอดภัยแล็บจุฬาฯ นับพันด้วย “ChemTrack & WasteTrack 2016

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการมีความสำคัญอย่างมากในมหาวิทยาลัย ไม่มีใครอยากประสบอุบัติเหตุ ได้รับอันตรายจากสารเคมีที่สะสมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว การปลูกฝังให้นิสิตผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยมีจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานก่อนจะจบออกไปประกอบวิชาชีพในการทำงานในหน่วยงานต่างๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีห้องปฏิบัติการหรือห้อง Lab มากกว่า 1,000 ห้อง จึงดำเนินการด้านระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและการกำจัดสารเคมี ของเสียอันตรายอย่างถูกวิธีมากว่า 20 ปี

เนินชะลอความเร็ว (Speed Hump) การสร้างพื้นที่เพื่อส่งเสริมการเดินเท้าในมหาวิทยาลัย

พื้นที่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ที่มีความร่มรื่น และการเดินทางไปยังอาคารต่างๆ ก็สามารถทำได้โดยไม่ลำบาก มหาวิทยาลัยจึงสนับสนุนการเดินเท้าในมหาวิทยาลัย และยังมีการออกแบบและจัดทำ และเนินชะลอความเร็วขึ้นในจุดทางข้าม ผสมผสานเข้ากับการทำเป็นทางม้าลาย ในหลายจุดทั่วทั้งมหาวิทยาลัย